22 มี.ค.61 - บีบีซีไทยรายงานว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กออกมายอมรับว่าเฟซบุ๊ก "ทำผิดพลาด" ที่ปล่อยให้ข้อมูลของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คหลายล้านคนถูกนำเอาไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านการเมือง "เคมบริดจ์ อนาลิติกา"
ก่อนหน้านี้ เคมบริดจ์ อนาลิติกา ถูกกล่าวหาว่าใช้ข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อตอบสนองกับลูกค้าที่เป็นหน่วยงานการเมืองหลายแห่ง
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ระบุในแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อคืนนี้ตามเวลาของไทยว่าเกิดการ "ละเมิดความเชื่อใจ" กันขึ้น และในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น เขาบอกว่า "เสียใจอย่างยิ่ง" พร้อมกล่าวจะจัดการกับ "แอปฯ เกเร" ที่เข้ามาดึงข้อมูลผู้ใช้ทั้งหลาย
เขาเพิ่มเติมอีกว่ายินดีที่จะไปให้ปากคำแก่รัฐสภา "หากว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง"
ส่วนในแถลงการณ์ของเขาที่โพสต์ในเฟซบุ๊ก เขาให้คำมั่นว่าจะมีมาตรการออกมาเพื่อให้การเข้ามาเก็บเกี่ยว ข้อมูลของผู้ใช้โซเชียลมีเดียทำได้ยากขึ้น
"เรามีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องข้อมูลของคุณ ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็คงไม่สมควรที่จะให้บริการแก่คุณ" เขากล่าว
เขากล่าวว่าเฟซบุ๊กจะสอบสวนหาข้อมูลจากบรรดาแอปพลิเคชันทั้งหลายของเฟซบุ๊กที่สามารถเข้าถึงข้อมูลมหาศาลเกี่ยวกับผู้ใช้ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มที่ลดการเข้าถึงข้อมูลครั้งใหญ่เมื่อปี 2014 ซึ่งจะลงไปดูข้อมูลเชิงลึกว่ามีแอปฯ ใดบ้างที่มีการเคลื่อนไหวที่น่าสงสัย รวมทั้งแบนผู้พัฒนาแอปฯ ที่ไม่ยอมให้มีการตรวจสอบ
แบนผู้พัฒนาที่นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้อย่างผิดจุดประสงค์ "และให้ข้อมูลแก่ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากแอปฯ พวกนั้น" และในอนาคต ซัคเคอร์เบิร์ก บอกว่าเฟซบุ๊กจะปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลดังนี้
เขาระบุด้วยว่า แม้ว่าปัญหาที่เกิดกับเคมบริดจ์ อนาลิติกาจะไม่เกิดขึ้นกับแอปฯ ใหม่ ๆ ในทุกวันนี้ แต่เราก็ไม่สามารถเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีตได้
เมื่อปี 2014 เฟซบุ๊กเชิญชวนบรรดาผู้ใช้ให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับบุคลิกภาพของตน ชื่อว่า "นี่คือชีวิตดิจิทัลของคุณ" ซึ่งทำขึ้นโดย ดร. อเลกซานดร์ โคแกน นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งแอปฯ นี้เก็บข้อมูลของผู้ใช้ราว 270,000 รายเอาไว้ และยังเลยไปถึงข้อมูลเพื่อนของผู้ใช้อีกด้วย
เฟซบุ๊กช่วยจีนทำซอฟต์แวร์เซ็นเซอร์ข้อมูล ทำให้เฟซบุ๊กต้องเปลี่ยนแปลงกฎเพื่อให้ผู้พัฒนาแอปฯ เข้าถึงข้อมูลได้น้อยลง แต่คริสโตเฟอร์ ไวลี ซึ่งเป็นอดีตพนักงานของเคมบริดจ์ อนาลิติกา ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แต่อย่างไร ออกมาบอกว่าบริษัทได้ซื้อข้อมูลของผู้ใช้ราว 50 ล้านราย ซึ่งถูกรวบรวมมาด้วยวิธีคล้ายกันนี้มาก่อนที่จะเฟซบุ๊กจะออกกฎที่เข้มงวดกว่าเดิมว่าแอปฯ ต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้ก่อนเสมอ
ไวลียังบอกด้วยว่าบริษัทใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์สภาพทางจิตใจของผู้ใช้ทั้งหลาย และส่งข้อมูลด้านดีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ให้แก่พวกเขา
เรื่องอื้อฉาวนี้เปิดเผยขึ้นเมื่อ ช่อง 4 (Channel 4) ทำรายงานแบบสืบสวนสอบสวน โดยการแอบอัดเสียงของ อเล็กซานเดอร์ นิกซ์ ผู้บริหารของเคมบริดจ์ อนาลิติกา แล้วเอามาเปิดเผย โดยที่นิกซ์พูดว่าบริษัทแห่งนี้รับผิดชอบเรื่องการรณรงค์หาเสียงทางดิจิทัลให้กับโดนัลด์ ทรัมป์ในชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในปี 2016
"เราทำการศึกษาข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งวิเคราะห์ ตั้งเป้าหมาย วางแผนการรณรงค์หาเสียงทั้งออนไลน์และโทรทัศน์ ยุทธศาสตร์ที่เราได้มานั้นมาจากข้อมูลที่รวบรวมได้"
ตอนนี้วุฒิสภาสหรัฐฯ เรียกตัวซัคเคอร์เบิร์ก เข้าไปให้ปากคำว่าเฟซบุ๊กจะปกป้องผู้ใช้อย่างไร ในขณะที่คณะกรรมการการพาณิชย์ของรัฐบาลกลาง ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคกล่าวว่าจะดำเนินการสอบสวนเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ
ทางด้านรัฐสภายุโรปก็บอกว่าจะสอบสวนด้วยว่ามีการใช้ข้อมูลอย่างผิด ๆ หรือไม่ ส่วนทางการอังกฤษก็กำลังพยายามขอหมายศาลเพื่อค้นสำนักงานทั้งหลายของเคมบริดจ์ อนาลิติกา ในขณะเดียวกันก็มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทแห่งนี้ในการเลือกตั้งที่เคนยา เมื่อปี 2013 อีกด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |