ไม่ถือพระองค์'สมเด็จพระเทพฯ'พระราชทานปริญญา'มหาบัณฑิตไร้แขน'


เพิ่มเพื่อน    

 
 22 มี.ค.61- แม้กายไร้แขนจะชูชัน ไร้มือจะหยิบจับ ชีวิตถูกกำหนดให้มีสิ่งที่เพรียกพร้อมที่สุดคือ “หัวใจ” หญิงสาวชาวหนองบัวลำภูใช้หัวใจฟันฝ่าทุกอุปสรรค วิ่งเข้าหาโชคชะตาที่เธอต้องการกำหนดเอง จนในวันนี้ วันที่สังคมต่างชื่นชมและยอมรับในความสามารถของมหาบัณฑิตไร้แขน ผู้วาดฝันความสำเร็จให้ตนเองถึงที่สุด

พัชรมณฑ์ เสวะนา คว้าปริญญาใบที่ 2 ในฐานะมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ยื่นปริญญาบัตรให้ที่ซอกคอ โดยไม่ถือพระองค์  เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร รุ่นที่ 43 พร้อมกับเพื่อนบัณฑิตหลายพันคน

นับเป็นความปลื้มปิติและเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่บัณฑิตและมหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างหาที่สุดมิได้

ในโอกาสที่น่ายินดีเช่นนี้ ไม่มีเหตุผลใดที่ จะไม่เอ่ยยกย่องความกล้าแกร่งของหญิงสาวที่พยายามทำตามความฝันด้วยสองเท้า พัชรมณฑ์ เริ่มต้นทางการศึกษาช้ากว่าคนอื่นหลายปี ด้วยเหตุผลทางร่างกายที่มีไม่ครบอย่างใครอื่น ทำให้ถูกปฏิเสธจากโรงเรียน ทำให้ต้องศึกษาด้วยตนเอง ไปพร้อมกับฝึกฝนใช้เท้าเขียนหนังสือจนถึงอายุ 23 ปี และเรียนจบปริญญาโทด้วยวัย 37 ปี

พัชรมณฑ์ ใช้เวลาเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-6 เพียง 2 ปีเท่านั้น และศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี ที่โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ความฝันและความใฝ่เรียนของเธอไม่ได้หมดเพียงเท่านั้น เพราะหลังจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย เธอสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ที่ ม.รามคำแหง สาขาวิทยบริการฯจังหวัดหนองบัวลำภู โดยเลือกเรียนวิชานิติศาสตร์ตามความฝันของพี่สาวคนโตที่เสียชีวิต และเมื่อเธอได้สัมผัสการเรียนบทใหม่ เธอเล็งเห็นความสำคัญและกลายเป็นเป้าหมายที่เธอพยายามคว้าจนสำเร็จ

“การได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน เป็นเหมือนความฝันสูงสุดในชีวิต เป็นนาทีที่ตื่นเต้นและปลื้มจนแทบปล่อยให้น้ำตาไหลออกมา ยิ่งมองย้อนกลับไปดูความพยายามของตัวเองจากวันแรกจนถึงวันนี้ อาการอยากร้องไห้ก็จุกอกไปหมด

ตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ ก็ไม่มีสิทธิ์กำหนดชีวิตตัวเองแล้ว ด้วยโรคประจำตัวของคุณแม่อย่างโรคเบาหวาน ทำให้ต้องฉีดยา และผลข้างเคียงคือเราออกมาพิการ แต่อย่างนั้นแล้ว การใช้ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป โดยคุณแม่ให้ฝึกใช้เท้าเขียนตั้งแต่เด็ก และเท้าคู่นี้ที่คุณแม่เริ่มหัดให้วันนั้น ก็สำเร็จได้ถึงวันนี้”

แม้วันนี้ พัชรมณฑ์ จะดำเนินชีวิตด้วยสองเท้าของตัวเอง และพี่สาวคนกลางเท่านั้น ความโศกเศร้าจากการสูญเสีย ไม่ได้บั่นทอนหัวใจของเธอให้อ่อนแอลง เธอได้ใช้ความสามารถขีดเขียนด้วยเท้าจากการพร่ำสอนของคุณแม่ ความฝันด้านนิติศาสตร์ของพี่คนโต มาใช้ในการพัฒนาตัวเองให้ก้าวขึ้นไปเรื่อย ๆ

เมื่อตอนศึกษาในระดับปริญญาโท พัชรมณฑ์ ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านต่าง ๆ แก่คนพิการ ให้ได้ทำงานเป็นครูสอนวิชาสังคมที่โรงเรียนห้วยลึกในปี 2559 โดยมีบริษัท มาซูม่า (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนการจ้างงานเชิงสังคมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ม.33-35 ที่มีเจตนารมณ์ให้คนพิการได้มีโอกาสใช้ความสามารถในการมีรายได้และพึ่งพาตนเอง ลดภาระของครอบครัวและสังคม โดยที่เธอได้เงินประจำเดือนละ 9,125 บาท และทางมูลนิธิฯ ให้คำจำกัดความแก่ครูพัชรมณฑ์ไว้ว่า เป็นครูผู้ใช้ "เท้า"วาดอนาคตให้เด็ก ๆ

“ตอนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหงได้ลองไปสมัครงานในตัวเมืองหนองบัวลำภูหลายแห่ง แต่ผลที่ได้คือคำปฏิเสธ เป็นความผิดหวังที่ยอมรับว่าเสียใจ ผลนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติของคนอื่นที่มองคนพิการ ที่ยังคงคิดว่าเราทำอะไรให้เขาไม่ได้ บางทีก็ดูเหมือนเขาจะเปิดโอกาสให้ มองเราอย่างเท่าเทียม แต่หลายครั้งเมื่อเข้าไปสัมผัสก็รู้สึกว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ตอนนี้จบปริญญาโทแล้ว ความฝันอยากเป็นทนายความหรืออาจารย์สอนด้านกฎหมายก็ยังเป็นเป้าหมายอยู่ แต่เป้าหมายนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับการเปิดใจของผู้คนในสังคมต่อการให้โอกาสแก่คนพิการ เราพยายามแล้วอย่างที่ดีที่สุดของเราแล้ว เสียใจก็มีบ้างบางครั้ง แต่ไม่ท้อ ชีวิตเราต้องเดินต่อไป เมื่อมาจนถึงขั้นนี้ก็ไม่มีถอยหลังไม่มีหวาดกลัวอีกต่อไปแล้ว”

ความฝันที่ยิ่งใหญ่ของ พัชรมณฑ์ ยังคงดำเนินต่อไป หัวใจที่เข้มแข็งมาตลอดตั้งแต่วินาทีแรกจนถึงวินาทีนี้ จะไม่อ่อนแอลงแม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด ผลจากความพยายามในปริญญาทั้ง 2 ใบ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเธอพร้อมจะใช้ความสามารถที่มีเพื่อประโยชน์แก่สังคม และเพื่อความสุขที่เท้าน้อย ๆ ของเธอจะสัมผัสได้

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า        ขอแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิตพัชรมณฑ์ ที่ใช้ความอดทนและความพยายามข้ามผ่านอุปสรรคมาสู่ความสำเร็จในชีวิต พัชรมณฑ์ถือเป็นบุคคลตัวอย่างที่สังคมจะต้องจดจำว่า แม้เธอจะไร้แขนทั้งสองข้าง แต่หัวใจที่แข็งแกร่งและความพากเพียรพยายามในตัวเอง ทำให้เธอประสบความสำเร็จในชีวิต ผมเชื่อว่าพัชรมณฑ์จะเป็นแบบอย่างให้ผู้พิการและบัณฑิตอีกหลายคนมีแรงฮึดสู้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เดินหน้าไปสู่ความฝันของตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"