ซูเปอร์โพลชี้ 'อภิปรายไม่ไว้วางใจ ปัญหาฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดโคโรน่าจากจีน' คือ 3 เรื่องที่คนไทยกังวลใจตอนนี้


เพิ่มเพื่อน    

 

26 ม.ค.2563 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง อะไรที่ประชาชนคิดว่าต้องเร่งด่วน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 5,032 ตัวอย่าง และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 1,158 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 – 25 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา

เมื่อสอบถามถึงความสุขต่อการเมืองหลังพรรคอนาคตใหม่ไม่ถูกยุบ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า กลุ่มคนสนับสนุนรัฐบาลกลับมีค่าเฉลี่ยความสุขสูงกว่ากลุ่มอื่นคือ 6.6 คะแนน เหตุผลส่วนหนึ่งคือคนกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยสนับสนุนรัฐบาลไม่ใช่เพราะรัฐบาลมีผลงานประทับใจแต่เป็นเพราะไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย แต่ถ้ามีใครเป็นรัฐบาลที่ดีกว่าก็พร้อมเปลี่ยนใจ ดังนั้นเมื่อพรรคอนาคตใหม่ไม่ถูกยุบจึงมีความสุขเพราะคิดว่าบ้านเมืองจะสงบสุข ซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มคนที่ใกล้เคียงกับกลุ่มพลังเงียบที่มีค่าเฉลี่ยความสุขอยู่ที่ 5.7 คะแนนและกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลได้ 4.7 คะแนน ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ความในใจของประชาชน เมื่อนึกถึงเงินในกระเป๋าวันนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.6 ระบุแค่ประคองตัว พออยู่ได้ แต่เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.7 เป็นทุกข์ เครียด นอนไม่หลับ ในขณะที่เพียงร้อยละ 13.7 เท่านั้นที่มีความสุขมาก เมื่อนึกถึงเงินในกระเป๋าของตัวเอง

ที่น่าพิจารณาคือ อะไรที่ประชาชนคิดว่าต้องการเร่งด่วน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 ระบุต้องการเร่งแก้เดือดร้อน ทำมาหากินขัดสน ค่าครองชีพสูง แต่ร้อยละ 38.1 ระบุไม่เร่งด่วน และเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.5 ระบุ เร่งแก้ไขนักการเมืองแย่ ๆ ไม่ยอมทำอะไร มัวแต่ทะเลาะกัน แต่ร้อยละ 46.5 ระบุไม่เร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 ระบุไม่ต้องเร่งด่วนในการปรับคณะรัฐมนตรี และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ระบุไม่ต้องเร่งด่วนเปลี่ยนรัฐบาล
เมื่อถามถึง 

ปัญหาสำคัญที่กังวล พบ 5 ปัญหาสำคัญที่กังวล คือ ร้อยละ 63.9 กังวลปัญหาสุขภาพ โรคระบาดโคโรน่าจากจีน โรคจากฝุ่น PM2.5 โรคเครียดนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรคประจำตัว ภูมิแพ้ ฯลฯ และที่สูสีไม่ต่างกันคือ ร้อยละ 63.4 กังวลปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ทำมาหากินขัดสน เงินขาดมือ ไม่พอใช้ ร้อยละ 59.2 กังวลปัญหาการเมือง นักการเมืองมัวแต่ทะเลาะกัน ไม่นิ่ง ชิงเด่น แย่งอำนาจ ร้อยละ 54.4 กังวล ปัญหาสังคม อาชญากรรม ยาเสพติด แหล่งมั่วสุม จิ๊กโก๋อันธพาล เดือดร้อนรำคาญ และร้อยละ 52.5 กังวลปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะ มลพิษ โรงงานอุตสาหกรรม สร้างความเดือดร้อนประชาชน

3 เรื่องที่ควรเพ่งเล็งโฟกัสเป็นพิเศษในการบริหารอารมณ์ของสาธารณชนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวด้วยว่า ผลการสำรวจประมาณการ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll เกี่ยวกับเรื่องเด่น 3 เรื่อง คือ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ปัญหาฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดโคโรน่าจากจีน พบว่า เรื่องโรคระบาดโคโรน่าจากจีนเข้าถึงอารมณ์คนในโลกโซเชียลพุ่งสูงสุดในขณะนี้มีจำนวน 21,602,083 รายหรือประมาณกว่า 21 ล้านคน แซงหน้าปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่มีอยู่จำนวน 16,570,903 รายหรือกว่า 16 ล้านคนและที่น่าพิจารณาคือ แนวโน้มการเข้าถึงอารมณ์คนในโลกโซเชียลในเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจลดต่ำลงเหลือเพียง 850,270 รายหรือกว่าแปดแสนคน จากการดึงข้อมูลในโลกโซเชียลย้อนหลังช่วง 7 วันคือระหว่างวันที่ 19 – 25 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ถ้าทุกฝ่ายเร่งพิจารณาและปฏิบัติการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงจังต่อเนื่องมากกว่าหมกมุ่นเรื่องการเมืองย่อมจะส่งผลให้การบริหารจัดการอารมณ์ของสาธารณชนดีขึ้นเพราะการเมืองไทยเป็นแบบนี้และเป็นแค่ “เปลือกประชาธิปไตย” ที่ไม่ควรปล่อยให้เปลือกกัดกร่อนแก่นของประชาธิปไตยโดยนักการเมืองไทยบางคนก็คิดและทำได้แค่นี้คือเมื่อมีอำนาจก็มุ่งทำลายกันหาประเด็นขัดแย้งแตกแยกเพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามทำอะไรได้เพราะเป็น “โรคระแวงและขี้อิจฉา” ตามปมด้อยของคนทั่วไป ดังนั้นถ้าจะให้บ้านเมืองและประชาชนเดินหน้าต่อได้ทุกฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ (State Power) และกลุ่มที่มีอำนาจในมือแต่ไม่ใช่อำนาจรัฐ (Non-State Power) ลุยร่วมกันมุ่งไปที่แก้ความเดือดร้อนเร่งด่วนในจุดโฟกัสและข้อกังวลของสาธารณชนตอนนี้ในการแก้ปัญหา
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"