ศาลโลกสั่งเมียนมาปกป้องโรฮีนจา


เพิ่มเพื่อน    

ศาลโลกที่กรุงเฮกมีคำสั่งเมื่อวันพฤหัสบดีให้เมียนมาดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อปกป้องประชากรชาวมุสลิมโรฮีนจา จากการโดนประหัตประหารและกระทำทารุณโหดร้าย และให้ทำรายงานกลับมานำเสนอภายในเวลา 4 เดือน

อาบูบาการ์ ทัมบาดู รัฐมนตรียุติธรรมแกมเบีย โบกมือทักทายตัวแทนชาวโรฮีนจา ที่ศาลโลกเมื่อวันที่ 23 มกราคม

    คำตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ของผู้พิพากษา 17 ท่านในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) หรือศาลโลก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563 เป็นไปตามคำฟ้องของแกมเบีย ประเทศมุสลิมในแอฟริกา เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ที่ขอให้ศาลออกคำสั่งให้มีมาตรการเบื้องต้นหรือคำสั่งให้รัฐงดเว้นการกระทำ ระหว่างรอการพิจารณาคดีที่แกมเบียยื่นฟ้องว่าเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจาโดยละเมิดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ปี 2491 ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าศาลแห่งนี้จะมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อใด ซึ่งเชื่อว่าจะใช้เวลาหลายปี

    ศาลยังสั่งให้เมียนมาเสนอรายงานต่อศาลภายในเวลา 4 เดือน แล้วจากนั้นให้ทำรายงานกลับมาทุกๆ 6 เดือน

    อับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุฟ ประธานศาล กล่าวว่า เมียนมาต้องดำเนินมาตรการทุกด้านภายใต้อำนาจของตนเพื่อป้องกันการกระทำการทุกอย่างที่ระบุไว้ในอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งรวมถึง "การฆ่าสมาชิกของกลุ่ม" และ "การกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ให้กลุ่มมีสภาพชีวิตที่คาดหมายได้ว่าจะก่อความเสื่อมโทรมทางกายทุกส่วนหรือบางส่วน"

    ก่อนหน้าคำสั่งนี้ ไอซีเจเพิ่งมีคำตัดสินเป็นครั้งแรกในคดีนี้ว่าศาลแห่งนี้ ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐ มีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้

    นางอองซาน ซูจี มนตรีแห่งรัฐซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลเมียนมาโดยพฤตินัย เดินทางมาแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลที่กรุงเฮกด้วยตนเองเมื่อเดือนธันวาคม โดยยืนกรานปฏิเสธว่าปฏิบัติการปราบปรามของกองทัพที่รัฐยะไข่นั้นไม่ได้เกิดจากเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจา เมียนมาสามารถสอบสวนคำกล่าวหาเหล่านี้ด้วยตนเอง และขอให้ศาลยุติคดี โดยเตือนว่าคดีนี้จะยิ่งกระพือให้เกิดวิกฤติขึ้นอีก

    นางซูจีไม่ได้มาฟังคำตัดสินเมื่อวันพฤหัสบดี โดยเมียนมาส่งจอ ถิ่น ส่วย รัฐมนตรีประจำสำนักงานมนตรีแห่งรัฐ เป็นผู้แทนเข้าร่วม

    ไฟแนนเชียลไทมส์ตีพิมพ์บทความของนางซูจีก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำตัดสินในวันพฤหัสบดี โดยนางยอมรับว่าอาจมีการก่ออาชญากรรมสงครามเกิดขึ้นกับชาวมุสลิมโรฮีนจา แต่ผู้อพยพลี้ภัยก็กล่าวหาเรื่องการล่วงละเมิดอย่างเกินจริงเช่นกัน

    ปฏิบัติการปราบปรามที่กองทัพเมียนมาเป็นแกนนำ ในรัฐยะไข่เมื่อปี 2560 ส่งผลให้ชาวโรฮีนจาอพยพข้ามชายแดนเข้าบังกลาเทศมากกว่า 730,000 คน พร้อมกับคำกล่าวหาว่ากองกำลังฝ่ายความมั่นคงเข่นฆ่า, ข่มขืน และวางเพลิง คณะสอบสวนข้อเท็จจริงขององค์การสหประชาชาติสรุปว่า ปฏิบัติการของกองทัพดำเนินการด้วยเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

    เมื่อวันจันทร์ คณะกรรมการสอบสวนอิสระที่รัฐบาลเมียนมาจัดตั้งขึ้น ให้ข้อสรุปว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงบางคนใช้กำลังเกินกว่าเหตุและก่ออาชญากรรมสงครามและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อชาวโรฮีนจา ซึ่งรวมถึงการฆ่าชาวบ้านบริสุทธิ์และทำลายบ้านของพวกเขา แต่การสอบสวนไม่พบหลักฐานเพียงพอของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

    วันพุธที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคมเมียนมากว่า 100 แห่ง ออกแถลงการณ์ร่วมกัน แสดงความสนับสนุนการพิจารณาคดีของไอซีเจ เพื่อทำความจริงให้ปรากฏและยุติการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิด

    คำสั่งของไอซีเจมีผลผูกมัด โดยคำตัดสินของศาลแห่งนี้จะถือเป็นที่สุด อุทธรณ์ไม่ได้ กระนั้นไอซีเจก็ไม่มีอำนาจในการบังคับคดี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"