ทูตสหรัฐเปิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มิตรภาพ200ปีไทย-สหรัฐ


เพิ่มเพื่อน    

21 มี.ค. 61 - ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบรมมหาราชวัง สถานฑูตสหรัฐอเมริกา โดย นายกลิน ที เดวีส เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนชมนิทรรศการ “Great and Good Friends Exhibition (เกรท แอนด์ กู๊ด เฟรนด์ส เอ็กซิบิชั่น) เนื่องในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 200 ปี ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา โดยนิทรรศการดังกล่าว เป็นการนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1818 เป็นต้นมา

เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า  แนวคิดการจัดงานดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากการค้นพบจดหมายฉบับแรก ที่เขียนโดย พระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) ถึง ประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร ซึ่งเป็นการติดต่อกันทางจดหมายครั้งแรกระหว่างสองประเทศ  ซึ่งเป็นการเขียนในภาษาโปรตุเกส เนื่องจากขณะนั้น ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการของประเทศสยาม

เช่นเดียวกับสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ที่มีการลงนามร่วมกันในปี 1818  ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าว ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาลงนามร่วมกับประเทศในทวีปเอเชีย เช่นเดียวกับวัตถุหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆที่สหรัฐอเมริกา เก็บรวบรวมไว้ใน หอสมุดในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา สถาบันสมิธโซเนียน สถาบันการศึกษา และสถาบันแห่งชาติอื่นๆ ทั่วประเทศ รวม 79 ชิ้น 

สำหรับการจัดนิทรรศการในครั้งนี้นั้น ได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชนของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในประเทศไทย บริษัทเอกชนของไทย และหน่วยงานภาครัฐต่างๆรวมแล้วกว่า 100 หน่วยงาน โดยเป็นการบอกเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยและประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์พิเศษที่มีความโดดเด่น

สำหรับของขวัญที่ทำให้ตนเกิดความสนใจมากที่สุด คือ ฉลองพระองค์ครุยสีทอง ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัวของท่าน แก่สถาบันสมิธโซเนียน เมื่อปี 1947 เนื่องจาก ฉลองพระองค์ครุยนั้นทำจากทองทั้งชุด อันแสดงให้เห็นถึงความงดงาม อันเกิดจากช่วงศิลปะของไทยในสมัยนั้น

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีความสนพระราชหฤทัย ในพระราชสาส์นในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตอบกลับมาโดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอร์น รวมทั้งของขวัญพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งของขวัญพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แก่สหรัฐอเมริกา ซึ่งผมรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้มีโอกาสถวายรายงานแก่พระองค์ท่านเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา”นาย กลิน ที เดวีส์ กล่าว

ผู็สื่อข่าวรายงานว่าภายในงานนิทรรศการมีการจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น 79 ชิ้น อาทิ จดหมายฉบับแรกระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวถึงกัปตันเรือชาวอเมริกันที่เดินทางมายังประเทศไทย และสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ฉบับแรกในปี 1818 โดยได้มีการให้สัตยาบรรณอย่างสมบูรณ์ในปี 1836 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของอาณาจักรสยาม ขันถมเงินที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เมื่อปี 1931 

รวมทั้งกล่องบุหรี่ทอง ประดับอักษรพระปรมาภิไธยของ ร.8 อยู่ด้านหน้า โดยนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ส่งถึงนายแฟรงกลิน ดี รูสเวลท์ ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างลับๆ อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความเห็นอกเห็นใจ และแสดงว่าประเทศไทยต้องการสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลก ซึ่งของวัญชิ้นดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอานุภาพของของขวัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้ประธานาธิบดี รูสเวลท์ ต้องการจะช่วยเหลือประเทศไทย และของขวัญพระราชทานในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อาทิ พานถมทอง พระศรัณย์ถมทอง โถมทองประดับอักษรพระปรมาภิไธย รวมทั้งเครื่องดนตรีไทยทั้ง 10 ชนิด อาทิ ฉิ่ง โทน รำมะนา ขลุ่ยอู้ จะเข้  ตามที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พระราชทานแก่หอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"