อย.รณรงค์ไ่ม่ใช้ยาปฎิชีวะนะพร่ำเพรื่อ /เสียชีวิตดื้อยา3.8หมื่นคน/ปี


เพิ่มเพื่อน    

 

21มี.ค.-อย. เผยพบผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 38,000 คนสูญเสียเศรษฐกิจ4.2หมื่นล้าน/ปี   รุดขยายฐานการรับรู้ของประชาชน มิให้ตกเป็นเหยื่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ จัดโครงการชั่งใจก่อนใช้ยา ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้  ผ่านสื่อสาธารณะ  BUS Media   30 คัน ตั้งแต่มี.ค.-พ.ค.

     ณ ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย. )นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) แถลงถึงปัญหาดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียได้ทวีความรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยาต้านจุลชีพที่ในอดีตเคยใช้ได้ผลกลับใช้ไม่ได้ผล นั้น อย. ตระหนักถึงวิกฤตดังกล่าว   ซึ่งประมาณการในปัจจุบันพบผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาทั่วโลกปีละประมาณ 700,000 คน และหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา คาดว่าในปี พ.ศ. 2593 การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาจะสูงถึง 10 ล้านคน สำหรับประเทศไทยการประมาณการเบื้องต้นคาดว่ามีการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 88,000 ครั้ง เสียชีวิตจาก เชื้อดื้อยาปีละประมาณ 38,000 คน ทั้งนี้ คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมสูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท โดย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ พร้อมปักหมุด...หยุดเชื้อดื้อยา และจัดให้มีคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์จัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 – 2564 


    ในส่วนของ อย. ได้จัดให้มีโครงการ “ชั่งใจก่อนใช้ยา ธีม....ลดภัยร้ายเชื้อดื้อยา ปวงประชาสุขภาพดี”  เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีความรู้              ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างปลอดภัย ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ และให้ประชาชนใช้ยาอย่างสมเหตุผล             ไม่ว่าจะเป็น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด(NSAID)  ในโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่าน BUS Media          จำนวน 3 แบบ ได้แก่ “ยาปฏิชีวนะ ใช้ถูกเป็นมิตร ใช้ผิดเป็นภัย” “โรคนี้หายเองได้ กินยาปฏิชีวนะไป ไร้ประโยชน์” และ  “ใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อตกเป็นเหยื่อ “เชื้อดื้อยา”” โดยจะติดโปสเตอร์ภายในรถโดยสารประจำทางสาธารณะที่มีเส้นทางเดินรถต้นทาง – ปลายทาง ระหว่างกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ให้ครอบคลุมมากที่สุด  จำนวน 7 สาย รวม 30 คัน ได้แก่ สาย ปอ.29 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) –             หัวลำโพง สาย ปอ.40 ลำสาลี – สายใต้เก่า  สาย ปอ.27 มีนบุรี – อนุสาวรีย์ชัยฯ  สาย ปอ.203/1 อตก. – สนามหลวง  สาย ปอ.522 รังสิต – อนุสาวรีย์ชัยฯ  สาย ปอ.558 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – เซ็นทรัลพระราม 2 และสาย ปอ.18/1 ท่าอิฐ – อนุสาวรีย์ชัยฯ  ซึ่งจะเริ่มวิ่งพร้อมกันตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2561เป็นเวลา 3 เดือนอย. โดยสามารถสแกน QR CODE บนโปสเตอร์ใดโปสเตอร์หนึ่ง ก็จะได้รับข้อมูลทั้ง 3 แบบเก็บไว้ในโทรศัพท์ 


    "สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาภัยร้ายแรงจากเชื้อดื้อยา และรณรงค์ให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  อย. ขอให้ประชาชนเข้าใจ หากไปพบแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์   แล้วไม่จ่ายยาปฏิชีวนะให้ อย่าได้เข้าใจผิดและเรียกร้องขอยาปฏิชีวนะ เพราะเป็นการกดดันแพทย์ทำให้การรักษาคลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการ ที่สำคัญ อย่าซื้อยาชุดกินเองหรือขอแบ่งปันหรือกินยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำของบุคคลอื่น เพราะอาจมีผลทำให้เชื้อแบคทีเรียสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้ดื้อยาได้ นอกจากนี้ขอให้ประชาชนอย่าใช้ยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น  โดยเฉพาะยากลุ่มเอ็นเสด ที่เป็นอันตรายต่อ ตับ ไต และหัวใจ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ "
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"