ขณะนี้มีหลายๆ ฝ่ายต่างเป็นกังวลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศที่ต่างก็กังวลกันมากจะหดตัวลงตามเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้าของ 2 เบิ้ม สหรัฐอเมริกาและจีน รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้กระทบเช่นกัน
ซึ่งที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 น่าจะโตไม่มากนัก อย่างศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปีนี้จะขยายตัวได้ 2.8% จากก่อนหน้านี้ที่เคยมองกรอบไว้ที่ 2.7-3.1% ส่วนการส่งออกขยายตัว 0.8% คิดเป็นมูลค่า 248,613 ล้านดอลลาร์ การนำเข้าลดลงเล็กน้อยที่ -0.1% คิดเป็นมูลค่า 237,693 ล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ 4.7% ต่อ GDP อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 1.0%
เช่นเดียวกับธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ก็ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 จะขยายตัวได้ 2.7% และมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีความแน่นอน ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย รวมไปถึงความไม่เสถียรภาพของการเมืองภายในประเทศ การลงทุนที่ล่าช้า ทั้งจากภาครัฐและเอกชน
นอกจากนี้ ยังกังวลว่าความไม่เสถียรภาพทางการเมือง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางนโยบายในเรื่องกระบวนการพิจารณางบประมาณของภาครัฐ อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งส่งผลเสียต่อภาคใช้จ่าย ภาครัฐและเอกชน
ยอมรับว่าเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องปากท้องมีความสำคัญ แต่ก็อย่าลืมถึงเรื่องปัญหาฝุ่น PM 2.5 ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก โดยเฉพาะที่ประเทศไทย ในพื้นที่ กทม.ถือว่ากำลังประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่ง AirVisual.com รายงานว่า กทม. ประเทศไทย ติดอันดับที่ 15 ของประเทศที่อากาศแย่ที่สุดในโลก โดยมีปริมาณฝุ่นแบบภาพรวมที่ 162 US AQI ขณะที่ จ.เชียงใหม่ ติดอันดับ 16 ของโลก มีปริมาณฝุ่นแบบภาพรวมที่ 156 US AQI
และสาเหตุสำคัญของฝุ่น PM2.5 ก็ไม่ใช่อื่นไกล มนุษย์เราดีๆ นี่เอง ไม่ว่าจะเกิดจากควันรถ การเผาป่า เผาไร่อย่างไร่อ้อย ทำให้เกิดฝุ่นควัน PM2.5 ปกคลุมในวงกว้าง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก
จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ แม้ว่าในช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยก็ประสบปัญหานี้ และมีความร่วมมือกันแก้ไขปัญหา แต่พอฝุ่น PM2.5 ซาลง เรื่องการแก้ไขและป้องกันก็ซาหายไปพร้อมๆ กันเช่นกัน จนกระทั่งฝุ่น PM 2.5 กลับมาใหม่ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องหันมาลงมืออย่างจริงจังในการแก้ปัญหา
แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะให้ความสำคัญและเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานสร้างความเข้าใจ ร่วมกัน และจัดทำแผนแม่บททั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวทุกมิติ ต้องดูว่าแต่ละพื้นที่ความเข้มมีระดับใด หากมีมากก็ออกมาตรการเฉพาะพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่น PM 2.5 มาจากการจราจร, การเผา, อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ต้องเข้าใจในข้อเท็จจริงเหล่านี้ พร้อมขอให้ทุกคนร่วมมือกัน เริ่มที่ตัวเองก่อน เพราะหากใช้มาตรการแรงก็จะเกิดข้อขัดแย้ง เรื่องควันดำก็สั่งกวดขัน จับกุม ปรับ ให้เข้มงวดที่สุดตามกฎหมายปกติ พร้อมทั้งสั่งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศดูแลในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด
และก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับกับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการให้รถยนต์วินคู่ วันคี่ หรือการออกข้อบังคับจำกัดเวลาให้รถบรรทุกวิ่งได้, รถเมล์หยุดวิ่งบางเส้นทางที่รถไฟฟ้าผ่าน และต้องเป็นรถเมล์ที่ฝ่ามาตรฐานการปล่อยควันดำเท่านั้น, อาคารก่อสร้างต้องคลุมผ้าใบให้ได้มาตรฐาน และ กทม.ต้องตรวจตราอย่างเข็มงวดและจริงจัง, การเก็บเงินรถที่วิ่งเข้าตัวเมืองชั้นใน การกำหนดภาษีรถยนต์ให้สูงแบบต่างประเทศ เช่น เก็บภาษีรถคันที่ 2, 3, 4 และการลงโทษคนเผาอ้อย เผาขยะ โรงงานที่ปล่อยควันพิษอย่างจริงจัง สร้างหอดักฝุ่น รณรงค์ให้บ้านเรือนและอาคารสูงปลูกต้นไม้เพิ่ม
และที่สำคัญต้องยอมรับว่าคนนี่แหละคือตัวการสร้างฝุ่น PM 2.5 ดังนั้นเมื่อเราเป็นคนสร้าง เราก็ต้องเป็นคนแก้ไข ไม่รอแต่รัฐบาลมาแก้ไขอย่างเดียว และเมื่อรัฐบาลออกมาตรการมาก็ต้องให้ความร่วมมือ เลิกบ่น เลิกโวยวาย ค้านกันแบบหัวชนฝา หันหน้ามาฟังและร่วมมือร่วมใจช่วยกันแก้ไขปัญหา ลดความสบายส่วนตัวลงสักนิด เพื่อให้วันพรุ่งนี้ยังมีอากาศดีๆ หลงเหลือให้หายใจกัน.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |