วิกฤต! เขื่อนอุบลรัตน์เหลือน้ำน้อยสุดในรอบ 53 ปี ชลประทานเดินหน้าผันน้ำสู้ภัยแล้ง


เพิ่มเพื่อน    

21 ม.ค.63 - นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 (ขอนแก่น) เป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้ง ประจำปี 2563 พร้อมทั้งปล่อยขบวนรถประชาสัมพันธ์ และรถบรรทุกน้ำ สำหรับการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานกลาง หลังพบว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.ขอนแก่น,กาฬสินธุ์,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด และ จ.ชัยภูมิ มีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวว่ายอมรับว่าขณะนี้ภาพรวมในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง มีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก จึงต้องบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2562/63 ที่สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเน้นหนักในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตภัยแล้ง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการ ประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์น้ำ รวมถึงแจ้งเตือนภัยให้แก่ประชาชนด้วย

"วันนี้เราจะเน้นหนักในเรื่องของการใข้น้ำอย่างประหยัด ด้วยการส่งขบวนรถกระจายเสียงไปในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านต่างๆ เพื่อย้ำเตือนและแนะนำการใช้น้ำอย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เครื่องจักร และเครื่องมือต่างๆจำนวน 155 รายการ ที่ได้เคลื่อนย้ายเข้าไปเตรียมความพร้อม ไว้ที่โครงการชลประทานทั้ง 5 จังหวัด ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที"

นายศักดิ์ศิริ กล่าวต่ออีกว่า น้ำในเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ  และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีน้ำที่อยู่ในระดับที่น้อยมาก โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ที่มีระดับน้ำเก็บกักเหือเพียง  463.86 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นน้ำเก็บกักที่น้อยมากในรอบ 53 ปี ดังนั้นกรมชลประทานจึงต้องบริหารจัดการน้ำด้วยการผันน้ำจากเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มาช่วยเขื่อนอุบลรัตน์ ตามมาตรการช่วยเหลือภัยแล้ง เพื่อลดการใช้น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ให้น้อยกว่าแผนเดิม โดยการใช้น้ำต้นทุนจากเขื่อนลำปาว ส่วนที่ระบายออกจากแปลงนาหลังหว่านข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานเขื่อนลำปาว เป็นลักษณะการใช้น้ำรอบสอง ซึ่งจะไม่กระทบกับแผนการระบายน้ำไปช่วยลุ่มน้ำชีตอนล่าง ซึ่งน้ำส่วนที่ระบายออกจากแปลงนาส่วนนี้จะไหลกลับลงลำปาว และลงแม่น้ำชีหน้าเขื่อนร้อยเอ็ด จากนั้นยกระดับเก็บกักน้ำเขื่อนร้อยเอ็ดให้สูงกว่าระดับเก็บกัก 1 เมตร เพื่อให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนวังยาง มีระดับสูงกว่าหรือใกล้เคียงระดับน้ำเหนือเขื่อนร้อยเอ็ด แล้วสูบน้ำย้อนกลับจากท้ายเขื่อนวังยางไปเก็บกักไว้ที่หน้าเขื่อนวังยาง โดยใช้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 6 เครื่อง อัตราการสูบวันละ 180,000 ลบ.ม. เริ่มทดลองสูบน้ำมาตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.-13 ก.พ.

"การบริหารจัดการน้ำดังกล่าวจะสามารถลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ลงได้วันละ 50,000 ลบ.ม. รวมแล้วประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนหน้าเขื่อนวังยางได้ 6 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาระดับน้ำให้กับการประปาสาขาเมืองมหาสารคาม และประปาหมู่บ้าน เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ดบางส่วน ในช่วงฤดูแล้งนี้ อย่างไรก็ตามการผันน้ำจากเขื่อนลำปาว ไปช่วยพื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ซึ่งมีน้ำน้อยมาก เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอไปจนถึงช่วงต้นฤดูฝนปีนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"