19 ม.ค.63-นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงผลการดำเนินงานของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในภาพรวม ประจำปี พ.ศ. 2562 ระหว่างเดือน ม.ค. – ธ.ค. 2562 ว่า ในรอบปีที่ผ่านมาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา สามารถพิจารณาให้เสร็จภายในเวลาเป้าหมายที่ประธานศาลฎีกาเคยให้นโยบายไว้ คือในส่วนของศาลชั้นต้นที่จะต้องพิจารณาคดีให้เสร็จภายใน 2 ปีนั้น สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและนโยบายของประธานศาลฎีกา คิดเป็น 99.97% ส่วนศาลอุทธรณ์ที่จะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 6 เดือน ก็สามารถดำเนินการได้ 98.64% ขณะที่ศาลฎีกาต้องพิจารณาคดีให้เสร็จภายใน 1 ปี ก็ดำเนินการได้ 86.41%
ขณะที่ศาลชั้นต้นทั่วประเทศ มีคดีสู่การพิจารณา 1,889,080 คดี พิจารณาเสร็จ 1,627,752 คดี, ศาลอุทธรณ์ มีจำนวน 64,225 คดี พิจารณาเสร็จ 57,924 คดี , ศาลฎีกา จำนวน 10,466 คดี พิจารณาเสร็จ 7,911 คดี ซึ่งรวมทั้ง 3 ชั้นศาลแล้ว มีคดีที่ศาลรับพิจารณาไว้ทั้งสิ้น 1,963,771 คดี พิจารณาเสร็จ 1,693,587 คดี คิดเป็น 86% โดยแบ่งเป็นประเภทคดีแพ่ง 1,305,658 คดี 66% และคดีอาญา 658,113 คดี 34%
ส่วนสถิติจำนวนข้อหาที่ขึ้นสู่การพิจารณาสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่ 1.พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 363,125 ข้อหา , 2.สินเชื่อบุคคล 293,899 ข้อหา , 3.พ.ร.บ.จราจรทางบก 213,888 ข้อหา , 4.บัตรเครดิต 168,347 ข้อหา , 5.กู้ยืม 138,420 ข้อหา , 6.ขอจัดการมรดก 103,711 ข้อหา , 7.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 92,472 ข้อหา 8.เช่าซื้อ (รถยนต์) 86,406 ข้อหา 9.ละเมิด 34,426 ข้อหา 10.พ.ร.บ. การพนัน 32,936 ข้อหา
นายสราวุธ กล่าวถึงสถิติการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไลข้อเท้า EM สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลมาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยว่า รอบปีที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 8,129 เครื่อง
ซึ่งฐานความผิดสูงสุด 5 อันดับที่ใช้ได้แก่ 1.พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ จำนวน 2,332 คดี , 2.ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จำนวน 1,609 คดี , 3.พ.ร.บ.จราจรทางบก จำนวน 769 คดี , 4.ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย จำนวน 675 คดี, 5.พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ จำนวน 356 คดี
ส่วนศาลที่มีการใช้กำไลข้อเท้า EM สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ศาลอาญา จำนวน 609 เครื่อง , 2.ศาลจังหวัดนนทบุรี จำนวน 269 เครื่อง , 3 ศาลจังหวัดภูเก็ต จำนวน 259 เครื่อง , 4.ศาลจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 211 เครื่อง , 5.ศาลอาญากรุงเทพใต้ จำนวน 207 เครื่อง
เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมการพิจารณาพิพากษาคดี (D-Court) ว่า ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอด ขยายผลระบบให้บริการข้อมูล และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมและผลักดันให้ศาลยุติธรรมทั่วประเทศนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการคดี สนับสนุนการพิจารณาพิพากษาคดี และการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน , มีระบบงานที่ทันสมัย ลดการใช้กระดาษและลดภาระในการจัดเอกสาร , พัฒนาระบบสารสนเทศศาลยุติธรรม บูรณาการความร่วมมือ รวมถึงขยายการเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่างๆ กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมบังคับคดี(ข้อมูลหมายบังคับคดี) กรมคุมประพฤติ (ข้อมูลผลการสืบเสาะและพินิจอำนาจ) , กรมราชทัณฑ์(ระบบข้อมูลผู้ต้องขัง) , สำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ข้อมูลสารบบคดีกับระบบ NSW ของสำนักงานอัยการสูงสุด และระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ข้อมูลคำสั่งห้ามออกนอกราชอาณาจักร) สำนักงานตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท (ข้อมูลหมายจับระบบ AWIS) ซึ่งจะส่งผลให้การอำนวยความยุติธรรมมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี
โดยแผนงานในปี 2563 นี้ ศาลยุติธรรมจะพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ต้องหากับหน่วยงานอื่น อย่างเช่น ระบบไบโอเมทริก ตรวจสอบใบหน้าบุคคล จะมีการหารือร่วมกันกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อพัฒนาร่วมกันภายในเดือน ก.พ.นี้ ให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการตรวจสอบผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ และติดเงื่อนไข ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |