ส.ว.นัดพิจารณางบฯรายจ่ายปี 63 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท อุ๊ต๊ะ!เสนอแนะกลาโหมเน้นงานวิจัยพัฒนาด้านอาวุธแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

18 ม.ค.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 20 ม.ค. เวลา 10.00 น  จะมีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ของวุฒิสภา เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดของรัฐธรรมนูญ มาตรา 143 ให้ส.ว.ต้องพิจารณาว่าให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน20วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสภาฯ คือวันที่ 13 ม.ค.  

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าในการประชุมดังกล่าว จะมีการนำเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2563 ของวุฒิสภา ที่มีนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ส.ว. เป็นประธานกมธ.  ซึ่งรายงานของกมธ.ฯ ชุดดังกล่าวได้จัดทำข้อสังเกตต่อร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 ในหลายประเด็น อละสาระสำคัญ อาทิ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้องค์กรปกครองส่งท้องถิ่น (อปท.) ปี 2563 จำนวน 307,950 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2562 มากถึง 31,819.9 ล้านบาท รัฐบาลควรพิจารณาปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เน้นงานเชิงสนับสนุน ส่งเสริม และเป็นฝ่ายติดตามผลการดำเนินงานหรือจัดบริการสาธารณะของ อปท.​ระดับล่าง เช่น เทศบาล อบต. และเมืองพัฒนา รวมถึงททบทวนรูปแบบการจัดสรรเงินอุดหนุนรูปแบบรายหัว หรืองบส่งเสริม ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์​ปัญหาของท้องถิ่นแต่ละจังหวัด นอกจากนั้นรัฐควรนำระบบประเมินการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนหรือ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นเครื่องมือจัดสรรงบประมาณ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนแต่ละพื้นที่ที่สอดรับกับสถานการณ์ 

ขณะที่การปรับโครงสร้างทางรายได้ของรัฐบาล ได้เสนอ 3 แนวทาง คือ ยกเลิกการลดหย่อนภาษีที่ไม่มีความจำเป็น, สร้างแนวทางเพิ่มสัดส่วนรายได้ของท้องถิ่นในระยะยาวต่อรายได้รัฐบาล เพื่อให้ท้องถิ่นเข้มแข็งและปรับโครงสร้างภาษีอากรให้ครอบคลุมฐานภาษีที่ครบถ้วน ทั้ง รายได้ ฐานการบริโภค ฐานทรัพย์สิน ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 

ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิ เร่งรัดรายจ่ายด้านการลงทุน เช่น ส่งเสริมเร่งรัดโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับอนาคต นอกจากกนั้นรัฐบาลต้องมีมาตรการควบคุมสัดส่วนรายจ่ายไม่ให้เพิ่มขึ้น อาทิ คุมอัตรากำลังของข้าราชการ, ปรับลด หรือจำกัดการขยายตัวของบุคลากรภาครัฐอย่างเคร่งครัด และทบทวนโครงการจัดอบรมที่ซ้ำซ้อน, เร่งรัดกระบวนการตั้ง ควบรวม หรือยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนที่มีภารกิจซ้ำซ้อน 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า กมธ.ฯ ยังมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ อาทิ กระทรวงกลาโหม ให้เน้นการประชาสัมพันธ์การทำงานของหน่วยงาน, เน้นงานวิจัย และพัฒนาด้านอาวุธ แทนการนำเข้าจากต่างประเทศ, กระทรวงการต่าางประเทศ หากพบกรณีที่ที่ใช้ต่างประเทศเป็นฐานโจมตีประเทศไทย ผ่านสื่อต่างๆ ควรมีมาตรการป้องกันเชิงลึกในการประสานงานกับประเทศที่ถูกใช้เป็นฐานการโจมตี ให้รับทราบข้อเท็จจริง รวมถึงติดตามประเด็นที่โจมตีเพื่อชี้แจงอย่างทันท่วงที

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์​ ประเด็นการห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 สาร คือ พาราควอต, คอร์ไพรีฟอส และ ไกลโฟเซต ต้องใช้งบประมาณสูง กรมวิชาการการเกษตรควรมีข้อแนะนำการใช้และให้ใช้สารเคมีดังกล่าวจนหมดก่อนประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะสารเคมีดังกล่าวหากใช้ถูกต้องจะไม่เป็นอันตราย หรือกรณีไม่ต้องการให้ใช้สารเคมีดังกล่าวภายในประเทศ ควรเปิดโอกาสให้ส่งออกไปยังประเทศที่ไม่มีข้อห้ามการใช้ จนหมด ก่อนออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประหยัดงบประมาณ หากออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมโดยไม่แจ้งทราบล่วงหน้าอย่างเหมาะสม จะทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหาย ฐานเป็นผู้ถือครองวัตถุที่ผิดกฎหมาย ขณะที่งบประมาณของกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งถูกปรับลด ต้องใช้งบเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติเพื่อสร้างนวัตกรรมและพัฒนาให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ 

หน่วยงานของศาล เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ควรอธิบายคำวินิจฉัยคดีสำคัญให้ประชาขนทราบ เพื่อป้องกันการให้ข่าวที่บิดเบือน หรือ ให้ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน จนสร้างความเข้าใจผิดและสร้างความสับสนใจสังคม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"