พช.สัมพันธ์สัญจร ครั้งที่ 1 เยือนอุทัยธานี โชว์ความสำเร็จ โมเดลงานพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง


เพิ่มเพื่อน    

 ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชนนำทีมลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ตามโครงการ“พช.” สัมพันธ์สัญจร ครั้งที่ 1 โชว์ความสำเร็จ โมเดลงานพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ในพื้นที่แอ่งเล็ก พัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชน สร้างรายได้ให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

               

เมื่อวันที่ 16-18 มีนาคม ที่ผ่านมา  กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยนายสมหวัง พ่วงบางโพและนายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมพัฒนาชุมชนนำทีมเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ตามโครงการ “พช.สัมพันธ์สัญจร ครั้งที่ 1”เพื่อศึกษาความสำเร็จของชุมชนที่เป็นพื้นที่แอ่งเล็ก ที่กรมการพัฒนาชุมชนเข้าไปสนับสนุน จนทำให้พื้นที่เหล่านั้นสามารถพึ่งพาตัวเองได้

               

จุดแรกที่เดินทางมาคือที่บ้านท่าโพ ตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี เป็นชุมชนที่เข้มแข็งโดยใช้การอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นตัวนำ มีการฟื้นฟูการประกอบสำรับอาหารคาวหวานไทยโบราณซึ่งหารับประทานได้ยากและเพลงพื้นบ้านท่าโพขึ้นมาใหม่ บ้านท่าโพได้รับการส่งเสริมด้านสัมมาชีพจากกรมการพัฒนาชุมชนทั้งเรื่องทำผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ การสร้างอาชีพต่างๆ เช่นการเพาะเห็ด การปลูกผักปลอดสารพิษ  การฝึกอาชีพนวดแผนไทยให้กลุ่มแม่บ้านสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว การได้รับรถไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยว  ตลอดจนการให้การสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาให้บ้านท่าโพเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชน และล่าสุด บ้านท่าโพเป็นตัวแทนอำเภอในการเข้าประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2561

นายสมหวัง พ่วงบางโพ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาเรื่อง “ขับเคลื่อนหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว”ที่จัดขึ้นว่า ชุมชนบ้านท่าโพ เป็นตัวอย่างของพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องอาหารและเพลงพื้นบ้านมาเป็นตัวนำ จนทำให้ชุมชนมีเอกลักษณ์และดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้มาเยือน  สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยที่ไม่ขัดกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านเกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และเป็นแนวทางที่พื้นที่อื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้เช่นกัน  ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนเองพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนต่างๆ ที่มีความพร้อมมีการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

 

ถัดมา ไปยังศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ชมแปลงปลูกผักกูดจากการกู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เสริมสร้างรายได้ระดับเงินแสน พร้อมพูดคุยกับผู้นำชุมชน เรื่อง “ผักกูด”เฟิร์นกินได้  สร้างชีวิต และชมการเลี้ยงตัว “อ้น”สัตว์เศรษฐกิจ ประเภทสัตว์น่ารักเพื่อการอนุรักษ์

           

 สำหรับบ้านห้วยหนามตะเข้ เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบของการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เน้นการทำเกษตรอินทรีย์บริสุทธิ์ มีการทำฟาร์มผักกูด การปลูกพืชผักสวนครัว อีกทั้งยังมีการเลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงตัวอ้น ซึ่งล้วนแล้วเป็นสัตว์เศรษฐกิจทั้งนั้น จนทำให้ชาวบ้านที่นี่มีความมั่นคงในเรื่องของรายได้ ฟาร์มผักกูดของบ้านห้วยหนามตะเข้ เป็นผักที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด เก็บยอดจำหน่ายได้ทั้งปี

 

จากนั้น เดินทางไปชม “สวนป่าครอบครัว” โครงการที่เกิดจากความร่วมมือแบบบูรณการจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชน เพื่อร่วมกันขยายความคิด เกี่ยวกับการปลูกป่ายุคใหม่ว่าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปและการปลูกป่าดังกล่าวให้ประโยชน์กับผู้คนมากมาย หากมีการขยายผลแนวคิดดังกล่าวไปในพื้นที่อื่นๆ จะเป็นการช่วยเรื่องการอนุรักษ์ป่า การสร้างรายได้ให้ประชาชน ตลอดจนสุขภาพปลอดภัย มีความยั่งยืน 

 

ทั้งนี้ สวนป่าครอบครัว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่กรมการพัฒนาชุมชนเข้ามาสนับสนุน ตามโครงการ “อุทัยธานี เมืองสมุนไพร” มีการจัดทำเมืองสมุนไพรอินทรีย์ แนวเขตป่ามรดกโลกห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี ,การจัดทำธนาคารพันธุกรรมพืชป่าครอบครัว ฯลฯ เป็นต้น

 

ยังมีกิจกรรมการเดินทางไป“ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา” ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ แหล่งรวมผลิตภัณฑ์ปลอดสารและงานฝีมือที่สะท้อนเรื่องราวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น    ที่ร่วมกันนำของดีของชาวชุมชนบ้านไร่มาให้นักท่องเที่ยวได้ ชม ชิม ช้อปเต็มอิ่ม

 

ทางด้าน นายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ให้สัมภาษณ์ภายหลัง พาคณะสื่อมวลชนเดินทางไปชม“ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา” ว่า ตลาดบ้านไฮ่ บ้านเฮาหรือตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้  เป็นตลาดที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าได้ทีสถานที่จำหน่าย  ซึ่งดำเนินมาระยะหนึ่งแล้วและถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ทำให้เกษตรกรหรือผู้ผลิตมีรายได้เพิ่ม ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชนนั้นได้ดูแลให้สินค้าที่มาจำหน่ายมีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ และทำให้ตลาดเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

 

ทั้งนี้ โมเดลความสำเร็จดังกล่าว เป็นตัวอย่างจากการทำงานของกรมการพัฒนาชุมชนที่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สร้างรายได้ และทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"