“หนี้ครัวเรือน”คลื่นใต้น้ำฉุดศก.


เพิ่มเพื่อน    

             ก่อนหน้านี้ “ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” ได้ระบุถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ธ.ค.2562 ว่า ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 อยู่ที่ระดับ 68.3 ลดลงจากระดับ 69.1 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 68 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค.2557 โดยประเด็นหลักเป็นผลมาจากผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในปัจจุบันและอนาคต

                ในกรณีนี้ “สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์” ได้ระบุว่า ในไตรมาส 2/2562 หนี้ครัวเรือนมีมูลค่า 13.08 ล้านล้านบาท ขยายตัว 5.8% ชะลอตัวลงจาก 6.3% ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ และเมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี พบว่ามีแนวโน้มทรงตัว จากที่เคยสูงสุดในปี 2558 ที่ 80.8% ลดลงมาอยู่ที่ 78.7% ในไตรมาส 2/2562 แต่ สศช.ก็ยอมรับว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะพฤติกรรมผู้ปล่อยกู้และผู้กู้ จากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ผู้ปล่อยกู้มีการแข่งขันในระดับสูง นำไปสู่การเสาะหาผู้กู้ในกลุ่มที่มีฐานะทางการเงินที่ด้อยลงเรื่อยๆ นำไปสู่การออกโปรโมชั่นต่างๆ เช่น การผ่อน 0% ด้านผู้กู้ พบว่ามีการออมที่น้อย ทำให้ต้องเป็นหนี้ในระดับสูง และใช้เวลาผ่อนชำระนานขึ้น

                อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินมาตรการทั้งการส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน การกำกับดูแลการก่อหนี้อย่างเหมาะสม ทั้งผู้ก่อหนี้และผู้ปล่อยกู้ ไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและปรับโครงสร้างหนี้

                ขณะที่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้ระบุถึงดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือน ธ.ค.2562 อยู่ที่ระดับ 42.4 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 42.0 ในเดือน พ.ย.2562 โดยในรายละเอียดพบว่า ครัวเรือนยังมีความกังวลต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของปัจจัยฤดูกาลอย่างการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีและการให้เงินตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ของหน่วยงานเอกชนต่างๆ รวมถึงราคาสินค้าเกษตรหลายรายการที่ปรับตัวดีขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลง อาทิ มันสำปะหลังสด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และสุกร ช่วยหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น

                แต่ก็ยังต้องติดตามภาวะภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำทำการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ที่อาจจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ซึ่งอาจจะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนเกษตรในระยะถัดไป

                แม้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา จะขยับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่!  ภาพรวมก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก

                “ศูนย์วิจัยกสิกร” ระบุอีกว่า ครัวเรือนยังมีความกังวลเพิ่มขึ้นต่อประเด็นเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่รวมภาระหนี้สิน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเข้าสู่ช่วงเดือนแห่งเทศกาล ทำให้มีค่าใช้จ่ายในรายการพิเศษต่างๆ อาทิ ท่องเที่ยว สังสรรค์ ซื้อหาของขวัญ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานสังคมต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยจากการสำรวจเพิ่มเติมพบว่า การใช้จ่ายซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงที่มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เช่น 11.11 และ 12.12 นั้น ครัวเรือนมีการซื้อสินค้าผ่านโปรโมชั่น 121.12 จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุปโภคบริโภค

                ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 42.2 ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในเรื่องรายได้และการมีงานทำ รวมถึงภาระหนี้สิน ส่วนความกังวลเรื่องราคาสินค้า และบริการภายในประเทศ ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมภาระหนี้สิน) ปรับตัวลดลง

                ทั้งนี้ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” มองว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ยังคงเปราะบางและเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะในเรื่องการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจไทยและภาวะภัยแล้ง อย่างไรก็ดี ภาครัฐได้พยายามออกมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งก็น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพได้บางส่วน. 

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"