อิหม่ามแห่งมัสยิดแดนใต้ นำลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ


เพิ่มเพื่อน    

 

อิหม่าม เป็นผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิ นับเป็นคนที่มีอิทธิพลและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามและผู้อื่น โครงการพหุวัฒนธรรมร่วมลดปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพและสังคมเพื่อสุขภาวะคนใต้ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงไปทำงานกับอิหม่ามและมัสยิ เพื่อให้มีภารกิจสำคัญในการปลูกฝังแนวคิดการจัดการความปลอดภัยด้านสุขภาพของคนในชุมชนในประเด็นบุหรี่ เหล้า และอุบัติเหตุให้แก่กลุ่มมุสลิม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในภาคใต้ เพื่อต่อสู้กับค่านิยมผิดๆ และกระแสบริโภคนิยม ซึ่งอิหม่ามมีส่วนสำคัญต่อการเสริมสร้างค่านิยมลดละเลิกเหล้าบุหรี่

 

ที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ต้นแบบที่ขับเคลื่อนงานโครงการพหุวัฒนธรรมจนเกิดผลเป็นรูปธรรม รวมถึง .สิเกา .ตรัง ซึ่งทาง สส. เข้าไปสนับสนุนนำหลักคำสอนอิสลาม พุทธ คริสต์ เป็นฟันเฟืองสำคัญนำสุขภาวะที่ดี

 

 

 

ทัศนีย์ ศิลปบุตร คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สส.) กล่าวว่าขณะนี้พื้นที่14 จังหวัดภาคใต้มี44 มัสยิด17 วัด5 คริสตจักรและโรงเรียนมัธยมศึกษาอาชีวศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) พื้นที่ต้นแบบ56 แห่งรวม122 พื้นที่ต้นแบบที่ขับเคลื่อนงานโครงการพหุวัฒนธรรมโดยอ.สิเกาจ.ตรังถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่รับทุนสนับสนุนจากสสส.หลายประเด็นและมีการบูรณาการเชิงประเด็นในพื้นที่อาศัยกลไกผู้นำศาสนาของพื้นที่เข้ามามีบทบาทด้วยการเอาหลักธรรมทางศาสนามาลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งบุหรี่แอลกอฮอล์และอุบัติเหตุได้อย่างประสบความสำเร็จ

 

จุดเริ่มต้นของการดำเนินการ ทัศนีย์ระบุว่าเริ่มมาจากภาคีเครือข่ายทำงานเรื่องอุบัติเหตุในเด็กและเยาวชนชุมชนมุสลิมจากเดิมวันหยุดเทศกาลเด็กและเยาวชนในพื้นที่จะออกขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวเล่นและมีอุบัติเหตุเจ็บตายจำนวนมากบางทีไม่ได้เกิดจากเด็กในพื้นที่เมาแล้วขับแต่ได้รับผลกระทบจากบุคคลอื่นโต๊ะอิหม่ามบอกว่าจะดึงเข้ามาอย่างไรให้พ้นจากภัยช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองนำมาสู่การจัดกิจกรรมละหมาดเชิงปัญญาโดยทำการละหมาดในมัสยิดแล้วให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำการละหมาดเหมือนการสวดมนต์ข้ามปีของศาสนาพุทธเมื่อเด็กเข้ามาอยู่ในมัสยิดแล้วโอกาสออกไปเจอความเสี่ยงลดลงจากการเก็บสถิติ1-2 ปีที่ดำเนินการพบว่าเด็กเยาวชนไม่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเลยเป็นที่มาว่าการขับเคลื่อนรวมหลายประเด็นโดยเฉพาะบุหรี่

 

ทัศนีย์ กล่าวว่า ภาคใต้ถือว่ามีอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุดของประเทศสูงถึง24.5 % มากกว่าภาคอื่นเกิดการหารือกันในการจัดการประเด็นบุหรี่ทางโต๊ะอิหม่ามบอกจะคุยกับภาคีและทำเป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ในพื้นที่มีมัสยิดสมัครใจเข้าร่วมจำนวนมากไม่ใช่แค่ในจ.ตรังแต่ยังมีจังหวัดอื่นๆในภาคใต้ด้วยและเมื่อจะดำเนินการเรื่องบุหรี่แล้วก็บูรณาการเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปด้วย

 

หลักในการทำงานของพื้นที่อ.สิเกาพบว่ามีทั้งการชวนผู้ชายทุกคนในหมู่บ้านมาร่วมละหมาดที่มัสยิดทุกวันศุกร์และมีการเทศนาสั่งสอนตามหลักศาสนาและเทศนาเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพทั้งบุหรี่เหล้าที่เป็นข้อห้ามของศาสนาไปด้วยรวมถึงเรื่องอุบัติเหตุพบว่าได้ผลดีเพราะผู้นำทางศาสนามีผลอย่างมากต่อการชักจูงให้คนในพื้นที่ปฏิบัติอย่างมัสยิดปลอดบุหรี่ก็ได้ผลดีไม่มีการสูบบุหรี่ในพื้นที่เลยทั้งยังใช้กลวิธีเช่นการติดป้ายร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในบ้านของพระเจ้า

 

 

"มัสยิดปลอดบุหรี่ที่นี่โต๊ะอิหม่ามมีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่โดยเลือกพูดคุยเป็นรายๆโน้มน้าวคนได้มากกว่าจนเราสังเกตได้และประชาคมเข้าร่วมด้วยโดยกลุ่มสตรีมุสลิมะห์มาช่วยบอกเด็กและเยาวชนให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษพิษภัยยาสูบอุบัติเหตุการสวมใส่หมวกกันน็อกช่วยคนในชุมชนปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยง ในปี2563 จะมีการสำรวจการบริโภคยาสูบภาคใต้ตัวเลขน่าจะดีขึ้นอัตราการบริโภคยาสูบจะลดลง" ทัศนีย์กล่าวและว่า ส่วนพหุวัฒนธรรมนั้นขยายไปยังศาสนาพุทธและคริสต์เพิ่มเติม เพราะมีตัวอย่างชัดเจนเห็นผล โดยเฉพาะการเทศน์สอดแทรกความรู้เรื่องอุบัติเหตุบุหรี่ เหล้า

 

 

อัญญีดิเรก สมันหลี โต๊ะอิหม่ามมัสยิดนูรุลยากึน บ้านดุหุน .สิเกา กล่าวว่าเดิมสูบบุหรี่ เพราะออกทะเลหาปลาจะมีการจุดสูบในเรือช่วยเรื่องไล่ยุงไล่แมลงได้ สูบวันละ1-2 ซอง แต่ปี2551 มีโอกาสไปร่วมพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ ซาอุดิอาระเบียตัดสินใจบอกกลุ่มเพื่อนที่ไปด้วยกัน 10 กว่าคนว่า เราเลิกบุหรี่กัน อยู่ที่นั่นเดือนกว่าๆ ไม่สูบกันเลย แต่กลับมาก็สูบบุหรี่อีก นกระทั่งปี2557 ไปฮัจญ์อีกครั้ คิดเลิกบุหรี่ เมื่อขึ้นสนามบินที่หาดใหญ่ก็ขยำซองบุหรี่ทิ้งลงถังขยะ ไม่หวนกลับไปสูบอีกจนปัจจุบันนี้

 

สำหรับอัญญีดิเรกแล้ว เมื่อมีโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ ชวนคนมาละหมาดและเทศน์สอนแทรกเรื่องปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้วย ทำให้สามารถพูดชักจูงคนในชุมชนให้เลิกบุหรี่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่และเหล้าได้ อีกทั้งสามารถปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ปัจจุบันอิหม่ามไม่มีโรคประจำตัวหลังเลิกสูบ และค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่นำไปให้ลูกเรียนหนังสือแทน

 

ตามหลักศาสนาอิสลามสอดคล้องกับการห้ามสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์การละหมาดร่างกายต้องสะอาดบุหรี่จึงห้ามและการสูบถือเป็นการทำร้ายร่างกายอิหม่ามย้ำเสมอการเลิกบุหรี่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้นออกกำลังกายได้เป็นประจำส่งผลร่างกายแข็งแรง

 

อัญญีดิเรกทิ้งท้ายว่าศาสนาให้ทำความสะอาดเป็นหลักของการไปละหมาดต้องทำความสะอาดอาบน้ำอย่างน้อยละหมาดวันละ5 ครั้งก็ต้องทำความสะอาด5 ครั้งต่อวันแปรงฟันการสูบบุหรี่นั้นเรามีข้อห้ามทำร้ายร่างกายตัวเองเป็นบาปเสียสุขภาพก็ต้องห้ามสูบและการสูบทำให้มีกลิ่นปากรบกวนคนอื่นการละหมาดจะทำรวมกันที่มัสยิดในวันศุกร์คอยสอนแนะนำการปฏิบัติใช้ชีวิตประจำวันเขาบอกว่าใช้โอกาสนี้ตักเตือนสั่งสอนแนะนำทำความดีเลิกสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายคนมาละหมาดและทำตามที่เราแนะนำทำให้มัสยิดปลอดบุหรี่ได้คนในชุมชนเลิกสูบได้เยอะร้านขายบุหรี่แทบไม่ได้ขายไม่มีคนซื้อการเลิกสูบนไม่ได้ยากอยู่ที่ความตั้งใจว่าจะเลิกหรือไม่เลิกแค่นั้น

 

พิษภัยบุหรี่เหล้าอุบัติเหตุที่ลดลงในชุมชนแดนใต้จึงปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากใจที่เข้มแข็งของคนที่เคยดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้หยุดแล้วโต๊ะอิหม่ามผู้นำชวนคนมาละหมาดที่มัสยิดย้ำเตือนอันตรายช่วยให้คนในชุมชนรับแต่สิ่งที่ดีห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดีและมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"