กรมการแพทย์แนะสารพัดวิธี ป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ


เพิ่มเพื่อน    


    กรมการแพทย์ โดยสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ ชี้ปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายกว่าที่คิด อาจเกิดอาการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แนะเลือกรองเท้าที่เหมาะสม ใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม
    นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายกว่าคนวัยอื่นๆ และผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย การหกล้มเกิดจากการสูญเสียการทรงตัว ทำให้อวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ศีรษะ ฯลฯ เกิดการกระแทก และมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสายตา การเปลี่ยนแปลงข้อต่อและเอ็น ระบบทางเดินปัสสาวะ โรคประจำตัว รวมถึงการใช้ยาบางตัวมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมในบ้านและนอกบ้าน เช่น พื้นบ้าน แสงสว่าง บันได ห้องน้ำ ห้องครัว รองเท้าของผู้สูงอายุ เป็นต้น


    นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่ได้ผลมากที่สุด คือการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกและข้อต่อ ช่วยเรื่องการทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกายได้คล่องแคล่วมากขึ้น ทำให้อัตราการหกล้มลดลง แต่ต้องเลือกท่าทางให้เหมาะกับบุคคลด้วย สำหรับแนวทางป้องกันการเสี่ยงต่อการหกล้ม ได้แก่ 1.เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า พื้นรองเท้ามีดอกหรือไม่ลื่น วัสดุมีความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี 2.ใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน 
    3.ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านมีผลต่อการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ เช่น วัสดุพื้นบ้าน แสงสว่าง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ควรเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้งาน นอกจากนี้ การให้ความรู้เกี่ยวกับการหกล้มของผู้สูงอายุแก่ผู้ดูแล เพื่อให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงตามวัย การกินยาที่ถูกต้อง ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายผู้สูงอายุ การสังเกตอาการข้างเคียง หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"