สำหรับผู้ที่ป่วย “โรคไต” หากดูแลสุขภาพไม่ดีอาจส่งผลทำให้เป็น “โรคเอสแอลอี” หรือโรคภูมิแพ้ตัวเองได้ ในงานสัมมนาเรื่อง “โรคเอส แอล อี ...โรคไตในสตรี” ที่จัดขึ้นโดยสาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เนื่องในวันไตโลก กิจกรรมในงานได้เชิญแพทย์ที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไต รวมถึงให้ข้อมูลโรคที่สามารถเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากระบบหน่วยกรองไตอักเสบ มาให้ผู้สนใจได้ดูแลและป้องกัน โดยเฉพาะผู้หญิงที่เสี่ยงต่อโรคทั้ง 2 ชนิดได้ง่าย
(ศ.นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์)
ศ.นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ หัวหน้าสาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ บอกถึงการป้องกันโรคไตว่า “โรคไตมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง อันที่จริงแล้วโรคไตมีหลายชนิด หากดูแลไม่ดีทำให้ไตวายและไตเสื่อม สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ โดยระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่แพทย์อยากพบคนไข้ เพื่อปรับยา ปรับอาหาร และเปลี่ยนวิถีชีวิตช่วยชะลอการเสื่อมของไต ไม่เช่นนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 4 และ 5 จนทำให้เสียชีวิต ปัจจุบันมีการรักษาคือ การบำบัดทดแทนไต 1.ฟอกเลือดล้างไต 2.ล้างไตผ่านทางช่องท้อง 3.การปลูกถ่ายไต และปัจจุบันมีคนไข้ 90,000 รายที่ป่วยด้วยโรคนี้ แต่ละคนมีค่ารักษาอยู่ที่ 300,000 บาทต่อปี เราจึงไม่อยากให้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงควรชะลออาการของโรคให้ช้าลง โดยเฉพาะหากยังอยู่ในระยะ 1, 2 และ 3 โดยลดอาหารเค็ม เนื่องจากทำให้ไตทำงานหนัก และต้องลดอาหารหวานที่ทำให้เป็นเบาหวาน และทำให้ผู้ป่วยโรคไตควบคุมโรคได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ทำให้ไตเสื่อมเร็ว แต่ให้เพิ่มโปรตีนจากพืชแทน รวมถึงการรณรงค์ให้คนไข้หมั่นออกกำลังกายเพื่อทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานดีขึ้น ชะลอการเสื่อมของไตได้ อีกทั้งช่วยป้องกันโรคเอสแอลอีได้เช่นกัน”
(ผศ.พญ.รัตนา ชวนะสุนทรพจน์)
ขณะที่ ผศ.พญ.รัตนา ชวนะสุนทรพจน์ อายุรแพทย์โรคไตให้ข้อมูลว่า “หน้าที่ของไตคือการกรองของเสีย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูดซึมเกลือแร่ สำหรับโรคแทรกซ้อนที่สามารถพบได้จากภาวะที่หน่วยกรองไตอักเสบได้แก่ “โรคเอสแอลอี” หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง ทั้งนี้โรคไตเป็นโรคที่สามารถพบได้ค่อนข้างสูงในผู้หญิง คิดง่ายๆ ว่าผู้หญิง 10 คนจะป่วยโรคนี้ถึง 8 คน ที่สำคัญเมื่อผู้ป่วยโรคไตเกิดภาวะไตอักเสบและมีผลให้เป็นโรคเอสแอลอี จากนั้นก็จะส่งผลต่อระบบการทำงานของไต ประกอบกับ 2 โรคนี้เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความเจ็บป่วยได้ทุกส่วนและทุกระบบของร่างกาย ดังนั้นโรคเอสแอลอีจะส่งผลต่อระบบไตด้วย 6 สาเหตุ คือ 1.ไม่มีอาการ 2.ตัวบวม และอาการ 3-6 จะทำให้ปัสสาวะผิดปกติ หรือตัวบวมกระทั่งปัสสาวะไม่ออก และส่งผลให้การทำงานของไตลดลง กระทั่งไตวายในที่สุด หรือหากเกิดอาการอื่นร่วมด้วย อันเป็นผลจากโรคเอสแอลอี คือ “อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ” ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยากดภูมิ 2 ตัว (ยาสเตียรอยด์ และยาฆ่าเชื้อ) ซึ่งหนึ่งในนั้นมียาสเตียรอยด์ซึ่งจะมีผลข้างเคียงที่ทำให้หน้ากลม อ้วนฉุ”
(รศ.พญ.เล็ก ปริวิสุทธิ์)
ทั้งนี้ รศ.พญ.เล็ก ปริวิสุทธิ์ สาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ ให้ข้อมูลถึง “โรคเอสแอลอี” ที่เกิดจากภาวะหน่วยกรองไตอักเสบว่า “โรคเอสแอลอี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคแพ้ภูมิตัวเอง” ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายอาการ พูดง่ายๆ ว่าจะพบความผิดปกติในอวัยวะทุกส่วน โดยปรากฏอาการที่หลากหลาย ได้แก่ 1.ผื่นปีกผีเสื้อที่บริเวณแก้มและดั้งจมูก 2.เกร็ดเลือดต่ำ 3.เยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ 4.เส้นประสาทอักเสบ 5.ปวดตามข้อต่างๆ แต่ทั้งนี้โรคดังกล่าวสามารถรักษาได้ โดยการให้ยากดภูมิ 2 ตัว คือ ยาสเตียรอยด์ (กรณีที่คนไข้มีอาการผื่นแดงเท่านั้น) และยาต้านมาลาเรีย (แก้ปัญหาข้ออักเสบน้อยลง ที่ปัจจุบันไม่ทำให้เกิดภาวะอ้วนฉุจนผู้ป่วยเสียความมั่นใจ) รวมถึงยาฆ่าเชื้อเพื่อต้านการอักเสบของร่างกาย โดยการทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ แพทย์, ผู้ป่วย, ญาติและเพื่อน โดยเฉพาะญาติและเพื่อนที่ต้องให้กำลังใจผู้ป่วยให้รับประทานยาให้ครบ ห้ามเชียร์ให้คนไข้เปลี่ยนการรักษาโดยเด็ดขาด เช่น การกินยาสมุนไพรต่างๆ จะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น ดังนั้นต้องหมั่นไปพบแพทย์สม่ำเสมอ และกินยาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่ง หากว่าผู้ป่วยไม่ต้องการทำให้ร่างกายติดเชื้อ เช่น การกินอาหารสุกใหม่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หมั่นออกกำลังสม่ำเสมอ และมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ”
(พญ.กนกวรรณ วัฒนนิรันดร์)
กรณีที่คุณแม่ป่วยโรคแอสเอลอีต้องการมีบุตร พญ.กนกวรรณ วัฒนนิรันดร์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ให้ข้อมูลว่า “เนื่องจากยากดภูมิจะส่งผลต่อเด็ก หรือทำให้เด็กพิการได้ ดังนั้นหากคุณแม่ป่วยโรคเอสแอลอีต้องการตั้งครรภ์อาจจำเป็นต้องรอให้โรคสงบลง 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นช่วงที่ผู้ป่วยกินยาน้อยลง เพราะการตั้งครรภ์ขณะกำลังรักษาโรคจะเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ ทำให้เด็กตัวเล็กและสุขภาพไม่ดี (ครรภ์เป็นพิษทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่ดี) ซึ่งตรงนี้จะทำให้โรคไตอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคแพ้ภูมิตัวเองกำเริบได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นหากผู้ป่วยโรคเอสแอลอีต้องการมีบุตรต้องปรึกษาแพทย์ และรอให้อาการโรคสงบจึงจะสามารถมีบุตรได้ ที่สำคัญโรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อเรื้อรังจึงไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้นั่นเอง ทั้งนี้หลังคลอดคุณแม่ยังต้องพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามโรคเหมือนเดิม”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |