นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประจำวันที่ 7 ม.ค. 2563 ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบวาระแห่งชาติคือการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งจะเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และอยู่ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด โดยเห็นชอบการขอแก้ไขมติ ครม. เดิมที่ขยายเวลา 1 ปี โดยเป็นสินเชื่อของธนาคารออมสิน ทรานฟอเมชั่น โลน หรือสินเชื่อเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรระยะที่ 2 จำนวนเงิน 20,000 ล้านบาท โดยขยายเวลาจนถึง 18 ธ.ค. 2563 โดยยังมีวงเงินเหลือประมาณ 15,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ยังเห็นชอบมาตรการต่อเติม เสริมทุน เอสเอ็มอี สร้างไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแบบไม่จำกัดจำนวนให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ภายใต้วงเงินค้ำประกันสินเชื่อและการปล่อยสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 380,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการส่งสนับสนุนเอสเอ็มอี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1.กลุ่มเอสเอ็มอีที่ต้องการสภาพคล่อง โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการจ่ายค่าเสียหายเป็น 40% จากเดิม 30% วงเงิน 60,000 ล้านบาท โดยให้เข้าไปค้ำประกันให้กับลูกหนี้ที่มีศักยภาพแต่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลูกหนี้รี-ไฟแนนซ์(Re-finance) ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน
รวมถึงธนาคารออมสินให้สินเชื่อเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด(ซอฟ โลน) เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรระยะที่ 2 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยคิดดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ 0.1% ต่อปี เพื่อให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยกับเอสเอ็มอีในอัตรา 4% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี แต่ผู้ขอสินเชื่อจะต้องดำเนินธุรกิจที่เป็นห่วงโซ่การผลิต และธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) และให้สินเชื่อผ่อนปรนภาระการจ่ายเงินต้นและเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี MLR -1%
โดยปัจจุบันอัตรา ดอกเบี้ย MLR ของธนาคารออมสินอยู่ที่ 6.375% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 6 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี 2.กลุ่มเอสเอ็มอีที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทันที โดยดำเนินการผ่านโครงการ PGS 5 - PGS ที่จะขยายระยะเวลาการค้ำประกันในโครงการดังกล่าวออกไปอีก 5 ปี รวมถึงยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเมื่อสถาบันการเงินดำเนินคดีกับ SMEs โดยให้สถาบันการเงินสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่เอสเอ็มอีเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
และ 3 กลุ่มเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ ที่จะมีวงเงินสนับสนุนเอสเอ็มอีรายย่อย ผ่านกองทุน สสว. โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นผู้พิจารณาสินเชื่อ วงเงินคงเหลือ 5,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่าโครงการสินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้ง ธพว. วงเงินคงเหลือ 20,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีที่เป็น NPL และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเข้าโครงการได้ โครงการสินเชื่อเอสเอ็มอี ประชารัฐสร้างไทยของธนาคารออมสิน ที่มีวงเงินคงเหลือ 45,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ใน 2 ปีแรก โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนเอสเอ็มอี เป็นระยะเวลา 4 ปี
ขณะเดียวกัน บสย. จะมีวงเงินค้ำประกัน 5,000 ล้านบาท โดยค้ำประกันต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท รวมทุกสถาบันการเงิน โดย บสย. เป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกันตามระดับความเสี่ยงของลูกค้าระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะพิจารณาแนวทางการกันสำรองที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกันไม่ให้เป็น NPLs และกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่เป็น NPLs และมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติม ทั้งของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |