เศรษฐกิจเผาจริงหรือยัง


เพิ่มเพื่อน    

                                                            

                เพิ่งผ่านปีใหม่ไม่กี่วัน โลกก็เกิดความตึงเครียดขึ้นซะแล้ว หลังจากที่อเมริกาส่งโดรนไปสังหารนายพลคนดังของอิหร่าน จนทำให้ทางอิหร่านประกาศจะเอาคืนสหรัฐทุกวิถีทาง

                จากปัญหาพิพาทที่เกิดขึ้น ส่งผลอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ค่อนข้างเปราะบางอยู่แล้ว จากปัญหาสงครามการค้า และการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำมากในปีที่ผ่านมา และเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญที่อาจจะเป็นชนวนไปสู่การก่อสงคราม หรือการก่อการร้ายครั้งใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่อาจจะต้องผันผวนและขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                ปัจจัยเหล่านี้กำลังจะกลับมาส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยไม่มากก็น้อย เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็จะกลายเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ประกอบกับในช่วงนี้ค่าเงินบาทไทยก็แข็งค่า ไม่ยอมอ่อนลง วิ่งที่ 29-30 บาท/ดอลลาร์ ยิ่งส่งผลต่อการส่งออกเป็น 2 เด้งเลยทีเดียว

                เรื่องนี้ถือเป็นโจทย์ท้าทายความสามารถของรัฐบาลมากๆ เพราะตอนนี้ตัวชี้ขาดคะแนนนิยมอยู่ที่การบริหารงานด้านเศรษฐกิจแล้วว่า จะ 'เอาอยู่' หรือไม่ ยิ่งเป็นรัฐบาลผสม และกระทรวงเศรษฐกิจก็ถูกแบ่งโควตาไปยังหลายพรรคการเมือง แถมยังมีรองนายกเศรษฐกิจถึง 3 คน จะต้องดูว่าการบริหารงานจะมีเอกภาพหรือไม่

                ส่วนตอนนี้สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงว่า ปี 2563 จะเป็นปี 'เผาจริง' ทางเศรษฐกิจที่หลายคนเป็นห่วงนั้น เป็นเรื่องจริงหรือไม่ สิ่งที่จะช่วยให้มันเป็นแค่ข่าวลือ ข่าวกุ ก็ง่ายๆ คือ รัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เห็นผลเท่านั้น

                แต่หากวัดตัวเลขพื้นฐานจากนักเศรษฐศาสตร์อย่าง นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ออกมายืนยันว่า ในปีนี้ยังไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่หลายท่านเรียกว่า “เผาจริง” แต่สิ่งที่ต้องเผชิญคือ แต่เกิดภาวะเศรษฐกิจเติบโตต่ำต่อเนื่องยาวนาน ที่เกิดจากความสามารถในการแข่งขันลดลง บวกกับไม่สามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีดิสรัปชั่นได้อย่างเท่าทัน

                ทั้งนี้ ทางศูนย์วิจัยเศรษฐกิจระบุว่า จีดีพีของไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.8-2.9% ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีโดยเฉลี่ยของภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศไทยจะมีจีดีพีต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ในปีนี้ อัตราการขยายตัวจีดีพีโดยเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียอยู่ที่ประมาณ 6% เศรษฐกิจไทยอาจกระเตื้องขึ้นได้เล็กน้อยหากภาคการลงทุนและภาคการส่งออกฟื้นตัว

                ส่วนปัจจัยที่จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย ปัจจัยที่หนึ่ง วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่ที่อาจจะสร้างความขัดแย้งบานปลายในประเทศได้ ปัจจัยที่สอง สงครามระหว่างอิหร่านและสหรัฐลุกลามจนอาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นมากกว่า 20% จากระดับปัจจุบันในช่วงไตรมาสแรก

                ปัจจัยที่สาม ภาคการท่องเที่ยวของเอเชียและไทยอาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีระดับความรุนแรงในการแพร่ระบาดแบบเดียวกับโรคซาร์เมื่อ 17 ปีก่อน ปัจจัยที่สี่ ผลกระทบภัยแล้งจะกระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรกรรมจนทำให้ปริมาณผลผลิตโดยรวมขยายตัวติดลบได้ คาดว่าติดลบประมาณ -0.5 ถึง -1% ทั้งปี รวมถึงภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ

                ขณะที่ปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทย ปัจจัยที่หนึ่ง เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย ส่งผลบวกต่อภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยวของไทยในระดับหนึ่ง ปัจจัยที่สอง การใช้งบประมาณปี 2563 เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและมีความจำเป็นในการเร่งรัดการใช้จ่ายจากระยะเวลาที่เหลืออีก 9 เดือนของปีงบประมาณ 2563 ปัจจัยที่สาม ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคที่ยังดีอยู่ ทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศสูง หนี้สินต่างประเทศระยะสั้นต่ำ การเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อต่ำ ปัจจัยที่สี่ การดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและทางการคลัง ปัจจัยที่ห้า การเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ.  

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"