20 มี.ค.61- ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเพื่อนธนาธร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sustarum Thammaboosadee ถึงการ Live ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท โดยระบุว่า
วันนี้ Live ของคุณธนาธร ซึ่งเป็นสัมภาษณ์สดครั้งแรก หลังการเปิดตัวลงทะเบียนพรรคการเมืองในนาม "อนาคตใหม่" ในวันที่ 15 มีนาคม 2561 แม้จะมีการพูดเรื่องรายละเอียดหลายอย่างแต่ ในการสัมภาษณ์ได้พูดถึงนโยบายสวัสดิการที่สำคัญที่จะเป็นการเปลี่ยนสังคม นั่นคือ การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ที่ก้าวหน้าที่สุดครั้งหนึ่ง (หากทำได้จริง)
คือการเก็บ Capital Gain Tax ในตลาดหลักทรัพย์
(ซึ่งหากดูตัวเลขกำไร แล้วคือ 9 แสนล้าน เป็นอย่างน้อยที่ไม่มีการเก็บภาษีเลย)
เพื่อสร้างสวัสดิการและกลุ่มที่สำคัญคือกลุ่มที่แบกรับความเสี่ยงมากที่สุดคือกลุ่มเยาวชน ที่ไม่สามารถไต่บันไดทางชนชั้นได้สำเร็จ เพราะคนกลุ่มนี้เริ่มต้นชีวิตด้วยหนี้สิน และไม่มีโอกาสที่จะทำตามความฝันสร้างความสร้างสรรค์ และมีอิสระในตลาดแรงงาน พ่อแม่เป็นหนี้(เพื่อเลี้ยงพวกเขา) พวกเขาเป็นหนี้เพื่อเลี้ยงพ่อแม่
เส้นความยากจน แต่ละจังหวัดคือ 2,800-3,300 บาท/คน/เดือน นั่นคือค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการเลี้ยงลูกหนึ่งคน
สิ่งที่คุณธนาธรพูดถึงใน Live คือแนวคิดการสมทบเงินสำหรับการเลี้ยงดูเด็กทุกคน แม้จะไม่เท่าเส้นความยากจนแต่ก็สูงขึ้น 2 เท่าจากที่ได้จากประกันสังคม ที่ได้เพียงแค่ 600 บาท/เดือนแต่คลุมคนแค่ 17 ล้านคน และเมื่อเข้าสู่เยาวชน 12ปี ขึ้นไปเงินส่วนนี้จะ Direct Transfer เข้าบัญชี
คำถามว่าสิ่งเหล่านี้ใช่ประชานิยมมั้ย
หากประชานิยมคือนโยบายที่เน้นแค่คะแนนเสียงโดยไม่คิดถึงผลได้เสียทางเศรษฐกิจ ผมต้องบอกว่าจุดยืนนี้ไม่ใช่ต้นทุนคือภาษีจาก Capital Gain ที่ควรเก็บและไม่ได้เก็บ กลุ่มคนเหล่านี้แสวงหากำไรข้ามวันโดยที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย และทำให้ระบบเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพ แม้ในสหรัฐอเมริกายังเก็บภาษีตัวนี้
ผลได้ คือการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกขั้นและการก้าวพ้นกับดักประเทศยากจนปานกลาง เมื่อมนุษย์มีทางเลือกมากขึ้น การกระจายอำนาจ และการลงทุนก็เป็นไปได้ ไม่ผูกขาดสำหรับกลุ่มทุนขนาดใหญ่หรือลูกหลานคนรวยอย่างเดียว
หลักการที่ว่าคือ Kela Pays ของฟินแลนด์ที่ ค่าเลี้ยงดูบุตรจะถูกโอนให้ประมาณ 5,000 บาท/เดือน
ของไทยเพียง40-50% กับคนรุ่นใหม่ 17-20 ล้านคน ที่จะอยู่ประเทศนี้ไปอีกครึ่งศตวรรษนับเป็นเรื่องเล็กน้อย
ปล.ถามว่าส่วนตัวผมเห็นด้วยกับคุณธนาธรทั้งหมดหรือไม่โดยเฉพาะประเด็นสหภาพแรงงานที่พูดในช่วงแรก ผมบอกได้ว่า "ไม่เห็นด้วย" แต่นั่นคือ Young- Thanathorn Juangroongruangkit ในฐานะนายทุนที่ทำตามกฎหมายแรงงานที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงาน แม้จะถูกกฎหมายในขณะนั้นก็ตาม
ในอนาคตเราต้องวางกติกาใหม่ให้ สหภาพแรงงานและอำนาจต่อรองของชนชั้นล่างมากขึ้นให้เป็นบรรทัดฐานของการลงทุนต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อปี 2549 บริษัทไทยซัมมิท อีสเทิร์น ซีบอร์ด ออโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด เลิกจ้างพนักงานจำนวน 260 คน เพราะได้ไปสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย
นอกจากนี้ในปี 2554 พนักงานบริษัท ซัมมิท โอโตเทค กับผู้บริหารบริษัท ต้องเจรจากันถึง 6 ครั้ง กว่าบริษัทจะยอมจ่ายโบนัส และปรับเงินเดือนให้พนักงาน ซึ่งย้อนแย้งกับนโยบายรัฐสวัสดิการที่นายธนาธรนำเสนอ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |