3 ม.ค.63 - นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยถึงการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีภารกิจดำเนินการระงับข้อพิพาททางพาณิชย์ ข้อพิพาทระหว่างประเทศ และข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ว่า ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2562 เราได้พัฒนาใช้ระบบอนุญาโตตุลาการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า e-Arbitration ซึ่งมีการใช้ซอฟท์แวร์สร้างความสะดวกการบันทึกข้อมูลทุกอย่างในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ระดับมาตรฐานระดับสากล ดังนั้น ทุกวันนี้ทุกคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สํานักงานศาลยุติธรรม ก็ใช้ระบบ e-Arbitration เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในฐานข้อมูล ที่สร้างความสะดวกให้กับคู่ความที่ใช้บริการ โดยมีผู้เข้าใช้ระบบนี้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2562 - ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2562 จำนวน 73 คดี ตั้งแต่คดีที่ 58/2562 - คดีที่ 102/2562 ซึ่งมีผู้ที่มาขึ้นทะเบียนใช้ระบบอนุญาโตฯ นี้ก็มีทั้งหมด 314 account ขณะที่เรามีอนุญาโต 12 คนที่พิจารณาข้อพิพาทโดยใช้ระบบซอฟท์แวร์ e-Arbitration นี้ ทั้งนี้การยื่นระงับข้อพิพาทที่เข้าสู่สถาบันอนุญาโตฯ สำนักงานศาลยุติธรรมมีอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถามถึงกรณีข้อพิพาทเหมืองทองอัครา ที่รัฐบาล คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 72/2559 สั่งระงับการอนุญาตและการทำเหมืองแร่ทองคำทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป ส่งผลให้ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด บริษัทสัญชาติออสเตรเลีย ผู้ชนะประมูล ที่ได้สิทธิสัมปทานการขุดเหมืองชาตรีใต้ (บริเวณรอยต่อ จ.พิจิตร, พิษณุโลกและเพชรบูรณ์) รวม 1,259 ไร่ ระยะเวลา 20 ปีที่จะสิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย. 2563 และได้ขยายพื้นที่ทำเหมืองที่ได้สิทธิสัมปทานเพิ่มเติมใน จ.พิจิตรเหมืองชาตรีเหลืออีก 9 แปลง พื้นที่ 2,466 ไร่ระยะเวลา 20 ปีซึ่งจะครบในวันที่ 20 ก.พ. 2571 ที่มีบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ที่เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บริษัทลูกในประเทศไทย ที่ดำเนินการขุดเหมือง ต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด บริษัทคิงส์เกตฯ เจ้าของสัมปทาน จึงได้นำเรื่องสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ตามข้อบังคับ UNCITRAL Arbitration Rules ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทยออสเตรเลียหรือที่เรียกกันว่า TAFTA เพื่อให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายจากการปิดเหมืองเป็นจำนวนกว่า 3 หมื่นล้านบาท หลังจากเจรจากับรัฐบาลไทยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ นั้น
นายสราวุธ กล่าวอธิบายว่า สำหรับคดีเหมืองทองอัครา ใช้ข้อบังคับของ UNCITRAL จึงไม่ได้ดำเนินการระบบอนุญาโตฯ ในประเทศไทย ซึ่งตามเงื่อนไขข้อตกลงสัญญานั้นให้ไปดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตในประเทศที่ 3 ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงต้องไปดำเนินการผ่านระบบอนุญาโตฯ ประเทศที่ 3 ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในประเทศสิงคโปร์ โดยการพิจารณาข้อพิพาทจะมีการนัดอีกครั้งในวันที่ 3 ก.พ. 2563 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยการระงับข้อพิพาทของคดีเหมืองทองอัคราผ่านกระบวนการอนุญาโตฯ ประเทศที่ 3 ก็จะต้องรอผลการพิจารณาต่อไป ดังนั้นการระงับข้อพิพาทนี้ จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะนำคดีมาสู่กระบวนการอนุญาโตฯ สํานักงานศาลยุติธรรมไทย เพราะตามเงื่อนไขสัญญาตกลงให้ต้องไปดำเนินการในประเทศที่ 3
ทั้งนี้ นายสราวุธ ระบุถึงสถิติคดีที่สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI) สามารถบริการจัดการข้อพิพาทให้เสร็จภายในปี 2562 ด้วยว่า สถาบันอนุญาโตฯ มีคดีซึ่งค้างมาจากปี 2561 จำนวน 232 เรื่อง มีคดีรับใหม่ปี 2562 รวม 105 เรื่อง ซึ่งคดีรับใหม่นี้เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10.52 ดังนั้น รวมพิจารณาปี 2562 มีทั้งหมด 337 เรื่อง โดยพิจารณาเสร็จภายในปี 2562 รวม 204 เรื่อง ซึ่งถือว่าเป็นสถิติัดีทำเสร็จสูงสุดมากที่สุดในรอบ 30 ปี นับแต่มีการก่อตั้งสถาบันอนุญาโตฯ มา ขณะที่เหลือคดีค้างไปพิจารณาปี 2563 รวม 133 เรื่อง ซึ่งปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราคดีค้างลดลงร้อยละ 42.67 หมายถึงคดีความค้างน้อยลง สำหรับทุนทรัพย์พิพาทในปี 2562 รวมทั้งสิ้น 80,220,295,195 บาท (แปดหมื่นล้านเศษ) โดยสถาบันฯ ขอขอบคุณคณะอนุญาโตตุลาการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันในการบริหารจัดการข้อพิพาทให้เสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |