ศาลชี้กำไลอีเอ็มจำเป็นต้องใช้คุ้มครองสิทธิจำเลย-ผู้เสียหาย


เพิ่มเพื่อน    

31 ธ.ค.62- นายปุณณพัฒน์ มหาลี้ตระกูล ผู้พิพากษา ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ควบคุมการปล่อยตัวชั่วคราวและบังคับตามคำสั่งศาลโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (กำไลอีเอ็ม) กล่าวถึงการกำไลอีเอ็มของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรมมีความชำรุดบกพร่องและง่ายต่อการทำลายอาจจะเลิกใช้กำไลอีเอ็มว่า ศาลยุติธรรมมีความมุ่งมั่นต่อไปที่จะใช้อุปกรณ์กำไลอีเอ็มในปี 2563 และตลอดไป เพราะเป็นสิ่งที่ใช้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพทั้งฝ่ายจำเลยและฝ่ายผู้เสียหาย เพราะจำเลยที่ยากจนไม่มีเงินประกันตัวก็ขอใช้อีเอ็มได้โดยไม่มีการเรียกเงินประกันเครื่องคือฟรีทุกอย่าง 

"หากไม่ได้ประกันตัวก็จะขาดโอกาสไปทำงาน เช่น คดีนักร้องสาวเคยอยากฆ่าตัวตายเพราะไม่มีเงินประกันตัวที่ศาลจังหวัดนนทบุรี หรือกรณีจำเลยต้องการประกันตัวไปหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดี หรือกรณีผู้ต้องหาหากถูกขังก็มีผลกระทบต่อจิตใจเพราะต้องเข้าเรือนจำ ส่วนผู้เสียหายก็ได้รับการคุ้มครอง เพราะอุปกรณ์จะแจ้งเตือนถ้าจำเลยเดินทางมาใกล้ๆ จะได้มีการเตือนในคดีทำร้ายร่างกาย และเตือนในคดีประมาทเช่น ขับรถเร็วเกินกำหนด หรือออกจากบ้านเวลากลางคืน ออกนอกพื้นที่ห้ามเป็นต้น ส่วนจำเลยที่มีฐานะดี เช่นคดีเสือดำ ก็ใส่อีเอ็มเพื่อควบคุมการเดินทางออกนอกประเทศได้ แม้ว่าสัญญาณขาดหายก็สามารถติดตามได้  เป็นต้น"

นายปุณณพัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้มีศาลถึง 166 แห่ง นำอุปกรณ์อีเอ็ม ใช้ไปในปี 2562 รวม 9,033 ราย  อยู่ระหว่างหลบหนีและติดตามตัวจำนวนเพียง 141 ราย  ศาลอาญาคือศาลที่สั่งใช้อุปกรณ์มากที่สุด ดังนั้น กำไลอีเอ็มจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งศาลยุติธรรมให้ความสำคัญสิทธิและเสรีภาพประชาชนตามนโยบายของนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"