หมอประเสริฐ ชี้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัชบ้าในคนจาก 28วัน เป็น 7วัน ตามคำแนะนำ องค์การอนามัยโลก มีความเป็นไปได้ เผยประชุมเรื่องนี้ไปแล้ว 1ครั้ง มองเรื่องเก็บภาษีไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ประเด็นหลักอยู่ที่ประชาชนควรตระหนักพาหมา แมว ไปฉีดยาป้องกันมากกว่า ด้านปลัดสธ.เผยมีผู้เสียชีวิตรายที่ 6 แล้ว ปฎิเสธไม่ได้เห็นด้วยเก็บภาษีหมาแมว แค่ยกตัวอย่างให้ฟัง
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวถึงแนวคิดเรื่องการเก็บภาษีสุนัขและแมวว่า เป็นแนวคิดหนึ่ง ส่วนจะปฏิบัติได้หรือไม่ตนก็ไม่ทราบ เพราะตามพื้นฐานของกฎหมายไทย คนจะรู้แต่มัก ไม่ปฏิบัติตาม ยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนในหมาแมวทำได้แค่ไหน ซึ่งรัฐให้บริการ แต่ประชาชนก็ไม่สนใจ ซึ่งสิ่งสำคัญต้องมีการเร่งเร้าให้ประชาชนเกิดความสนใจไม่ใช่ฮือฮาเฉพาะตอนที่มีคนตาย ทั้งนี้ไม่อยากให้ประชาชนมองว่าการที่มีการระบาดนั้นเป็นปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่อยากให้ประชาชนคิดดว่าเป็นปัญหาของตัวเอง เพราะหากภาครัฐมีการจัดการเต็มที่แล้ว แต่ประชาชนไม่ให้ความสนใจปัญหาจะมีทางออกได้อย่างไร เช่นเดียวกับปัญหาไข้เลือดออก
“ประชาชนขาดความเอาใจใส่ในการให้ความร่วมมือ ซึ่งในอดีตประเทศไทยเคยลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ลดลงได้ถึง 4-5 คนต่อปี จาก 370 คนต่อปี แต่ในปี 59 กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น 14 คน ปี 60 เพิ่มขึ้น 11 คน และผลตรวจในสุนัขพบว่ามีผลบวกเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ ดังนั้นนอกจากการจัดการของภาครัฐแล้วประชาชนก็ต้องให้ความสนใจด้วย”ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว.
นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนวัคซีนในสัตว์ไม่ผ่านคุณภาพ เป็นเรื่องเมื่อปี 2557-2558 เป็นเรื่องของอดีต โดยเรื่องคุณภาพวัคซีนยังมีอีกเรื่องที่ต้องหาทางป้องกันด้วย คือ กรณีการขนส่ง การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษาวัคซีนก็ส่งผลต่อคุณภาพวัคซีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญตอนนี้คือ จะทำอย่างไรให้คนตระหนักและให้นำสุนัขและแมวมารับวัคซีน ส่วนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนกรณีองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ควรมีการปรับการฉีดวัคซีนในคนจำนวนครบ 3เข็ม ภายใน 28 วัน แบ่งเป็นเข็มที่ 2ห่างจากเขจ็มแรก 7วัน เข็มที่ 3 เป็นวันที่ 21 หรือ28วัน ให้เหลือฉีดครบทั้ง 3เข็มภายใน 7 วัน นั้น ขณะนี้ทีมวิชาการอยู่ระหว่างประชุมหารือความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนอยู่ ซึ่งประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง เหลืออีก 1 ครั้ง แต่แนวโน้มก็อาจจะเป็นไปได้ เพียงแต่ก็ต้องศึกษารายละเอียดเรื่องประสิทธิภาพด้วย.
ด้านนพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัด สธ. กล่าวถึงสถานการณ์ผู้เสียชีวิตโรคพิษสุนัขบ้าว่า สธ.จะดูแลในส่วนของคน โดยเฉพาะผู้สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า โดยการฉีดวัคซีน ล่าสุดได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตรายที่ 6 อยู่ที่บุรีรัมย์ ถูกสุนัขกัด มีอาการคล้ายโรคพิษสุนัขบ้า ขณะนี้รอผลการยืนยันเชื้อ และรายละเอียดต่างๆ อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า สธ.ดูแลในคนสำหรับกรณีป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้าในสัตว์เป็นหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งปัญหาสัตว์เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและเรื้อรั้งมานาน การแก้ปัญต้องใช้เวลา ไม่ใช่แก้ไขง่ายๆ ต้องใช้วิธีหลายอย่าง โดยปัญหาสุนัขจรจัด ส่วนหนึ่งก็มาจากสุนัขเลี้ยง ที่ถูกเอามาทิ้งก็ต้องหามาตรการในการแก้ปัญหาตรงนี้
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องภาษีสัตว์เลี้ยงเมื่อมีสื่อมาถาม ตนก็แค่ยกตัวอย่างว่า บางประเทศเขามีการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยงและเก็บภาษี ในสัตว์เลี้ยงตัวที่ 3 เป็นต้นไป เพราะจริงๆ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่มีหน้าที่ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเราก็จะไม่ก้าวล่วง เพราะเราเน้นเรื่องการดูแลคน สิ่งสำคัญหากถูกกัดก็ขอให้รีบพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันในคน เพราะโรคนี้หากมีอาการ ทั้งคนและสัตว์ไม่มีแนวทางการรักษา เสียชีวิตอย่างเดียว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |