1 ม.ค.63 ทั่วไทยห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพลาสติกไมโครบีดส์


เพิ่มเพื่อน    

28 ธ.ค.62-  นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข      เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า     หรือขาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 กำหนดให้เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกที่มีส่วนผสมของพลาสติกไมโครบีดส์ เป็นเครื่องสำอาง   ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย ขณะนี้ได้ลงประกาศ                   ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่             1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เนื่องจากพลาสติกไมโครบีดส์เป็นพลาสติกขนาดเล็กมากและสลายตัวได้ยากในธรรมชาติ เมื่อถูกชะล้างลงไปตามท่อระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสียจะไม่สามารถกรองพลาสติกไมโครบีดส์เหล่านี้ออกไปได้    ทำให้เกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางน้ำ และอาจปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร        โดยสะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ได้รับพลาสติกไมโครบีดส์ เช่น ปลา หอย และสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด              ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่รับประทานสัตว์น้ำเหล่านั้นได้

           เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การห้ามนำพลาสติกไมโครบีดส์มาใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง เป็นไปตาม  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่ให้เลิกใช้พลาสติกไมโครบีดส์ในประเทศไทยภายในปี 2562ตามโรดแมป (Roadmap) การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 โดยพลาสติกไมโครบีดส์ที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอางมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาด ขัดผิว แล้วล้างออก เช่น โฟมล้างหน้า สบู่ ผลิตภัณฑ์ขัดผิวกาย ซึ่งเมื่อล้างออกจากร่างกายพลาสติกไมโครบีดส์จะถูกชะล้างลงไปตามท่อระบายน้ำ และก่อให้เกิดปัญหา         ทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภคตามที่กล่าวข้างต้น


    ทางด้านเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำกับดูแลพลาสติกไมโครบีดส์ในเครื่องสำอางเป็นไปตามสากล             และเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมรวมถึงคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ขณะนี้ผู้ประกอบการรับทราบและพร้อมให้ความร่วมมือในการเลิกใช้พลาสติกไมโครบีดส์ ในผลิตภัณฑ์ โดยผู้ประกอบการรายเก่า   จะผ่อนผันให้ขายได้จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2563 ซึ่งส่วนใหญ่ ได้เรียกคืนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีพลาสติกไมโครบีดส์เป็นส่วนประกอบออกจากท้องตลาดแล้ว             หากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางใดมีความจำเป็นต้องใช้ไมโครบีดส์อาจใช้ไมโครบีดส์จากธรรมชาติเป็นการทดแทนได้

ทั้งนี้ อย. ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยสามารถผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ อย. เช่น เฟซบุ๊ก  FDA Thai เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th เว็บไซต์ www.oryor.com และ Line@Fdathai
ไมโครบีดส์ (Microbeads) หรือ เม็ดบีดส์ คือชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด และอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่จะทำจากโพลีเอทิลีน แต่สามารถทำจากพลาสติกปิโตรเคมีอื่น ๆ ได้ เช่น โพลีโพรพิลีนและโพลีสไตรีน มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร พอที่จะการผ่านระบบกรองน้ำได้อย่างง่ายดายมีคุณสมบัติในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้ดีแต่เนื่องจากมันมีขนาดเล็กและทำมาจากพลาสติกจึงไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ     


ผลการศึกษาของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่าการหลุดรอดของเม็ดไมโครบีดส์สู่แหล่งน้ำในรัฐนิวยอร์คเพียงรัฐเดียว คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 19 ตันต่อปี และเมื่อไมโครบีดส์อยู่ในแหล่งน้ำ มันจะดูดซึมสารเคมีเป็นพิษต่าง ๆ โดยเฉพาะโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCBs) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีอินทรีย์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีเหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกายโดยไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อและเป็นสารก่อมะเร็ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"