เรื่องที่จะคุยกันวันนี้ ถ้าเป็นพระเครื่อง ก็บอกว่า "อัดแน่นด้วยมวลสาร"
ฉะนั้น ถ้าต้องการ "อ่านเอามัน" โปรดพลิกผ่าน
แต่ถ้าต้องการทราบ.......
ละครผลาญบ้าน-ผลาญเมือง เรื่อง ๑ หญิง ๒ ชาย ถึงตอนไหนแล้ว และ "พระเอก-นางเอก" จะลงเอยแบบไหน ต้องอ่าน!
และรู้แล้วเหยียบไว้ตรงนี้นะ อย่าไปบอกช่อเป็นอันขาดเชียวว่า "จุดไคลแมกซ์" อยู่ตรงไหน?!
คือเมื่อวาน (๒๕ ธ.ค.๖๒) ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมพิจารณาคำร้องเกี่ยวกับพรรคอนาคตใหม่ ๒ เรื่องควบ
และมีคำสั่ง ดังผมจะคัดลอกจากเอกสารข่าวศาลฯ โดยตรงมาให้อ่าน ดังนี้
ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
๒.ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้อง กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่า
เป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๖๐ ซึ่งบัญญัติว่า
"ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับเงินบริจาค ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย"
เมื่อผู้ร้องมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญยึดพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๒
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๑๓) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง
แจ้งให้ผู้ร้องทราบ และส่งสำเนาคำร้องให้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
๓.ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องกรณีนายณฐพร โตประยูร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้อง เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๙ ว่า
การกระทำของพรรคอนาคตใหม่ ผู้ถูกร้องที่ ๑, นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ถูกร้องที่ ๒, นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ถูกร้องที่ ๓ และคณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ผู้ถูกร้องที่ ๔ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือไม่
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า ในคดีนี้ มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวน
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง
ศาลรัฐธรรมนูญได้อภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย และนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป
ณ ห้องพิจารณาคดี ชั้น ๓ ศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ครับ.....
เป็นอันว่า เรื่องปล่อยเงินกู้พรรค พรรคอนาคตใหม่ นายธนาธร และ กก.บห.พรรค
ศาลให้ยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาภายใน ๑๕ วัน ส่วนจะตัดสินวันไหน
หลังวันที่ ๙-๑๐ มกรา.๖๓ ก็รู้!
อีกเรื่อง คือที่พรรคอนาคตใหม่, ธนาธร, ปิยบุตร และ กก.บห. ถูกร้อง
"ใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือไม่?
อังคารที่ ๒๑ ม.ค.๖๓ "ปิดฉาก"!
ในคดีทอน "ปล่อยเงินกู้พรรค" นั้น มีกูรูตีความทางกฎหมายต่างๆ นานา
เพื่อเป็นพื้นฐานในการตามชม จะนำที่อาจารย์ "ชูชาติ ศรีแสง" ให้ความรู้ไว้ จาก TPOLITIC.COM ดังนี้
"มติส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่นั้น เป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมาย กล่าวคือ
1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เริ่มจากมาตรา 62 ระบุว่า
พรรคการเมืองมีรายได้ตามที่กำหนดไว้ใน (1)-(7) จึงไม่อาจกู้ยืมเงินจากบุคคลใดได้
2.การที่นายธนาธรให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงิน 191 ล้านบาทเศษ จึงต้องถือเป็นบริจาคเงินหรือให้ประโยชน์อื่นใดแก่พรรคอนาคตใหม่ จึงเป็นกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 66 วรรคหนึ่ง
และอนาคตใหม่ก็เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 66 วรรคสอง โดยมาตรา 66 บุคคลใดจะบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่นใด ให้แก่พรรคการเมืองมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาทต่อพรรคการเมืองต่อปีมิได้ฯ
และพรรคการเมืองจะรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าเกินวรรคหนึ่งมิได้
ส่วนขั้นตอนการพิจารณาความผิด มีบทบัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วย มาตรา 124
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนดห้าปี
ขณะที่มาตรา 125 กำหนดว่า พรรคการเมืองใดรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดมีมูลค่าเกินที่กําหนดไว้ในมาตรา 66 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกําหนดห้าปี และให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ส่วนที่เกินมูลค่าที่กําหนดไว้ตามมาตรา 66 ตกเป็นของกองทุน
นอกจากนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 124 และมาตรา 125 เป็นโทษทางอาญา ที่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 66 วรรคหนึ่ง และพรรคการเมืองที่ฝ่าฝืนมาตรา 66 วรรคสองจะได้รับ กับให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกําหนดห้าปี และให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ส่วนที่เกินมูลค่าที่กําหนดไว้ตามมาตรา 66 ตกเป็นของกองทุน
ทั้งนี้ การที่พรรคอนาคตใหม่รับเงินบริจาคหรือประโยชน์อื่นใดมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ย่อมต้องถือว่า รู้หรือควรจะรู้ว่าเป็นเงินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72
โดยมาตรา 72 ระบุ ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดํารงตําแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
โดยรู้หรือควรจะรู้ว่า ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น เมื่อมีการกระทำฝ่าฝืนมาตรา 72 ก็ให้ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92
กล่าวคือ มาตรา 92 เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น (๓) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา ฯลฯ มาตรา 72 หรือมาตรา 74
โดยมาตรา 126 ผู้ดํารงตําแหน่งในพรรคการเมืองผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 72 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น
@ สำหรับในแง่มุมการต่อสู้เรื่องการกู้เงิน หรือ หนี้สินของพรรคอนาคตใหม่ ที่มีการกล่าวอ้างว่าไม่ถือเป็นรายได้ของพรรค
แต่ปรากฏว่า มีการนำเงินของพรรคอนาคตใหม่ จ่ายคืนให้กับธนาธรในรูปของรายจ่าย ก็มีแง่มุมกฎหมายพิจารณาเพิ่มเติมว่า อาจเข้าข่ายกระทำผิดซ้ำอีกระลอก
เนื่องด้วย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เขียนกำหนดว่า มาตรา 62 พรรคการเมืองอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(1) เงินทุนประเดิมตามมาตรา 9 วรรคสอง
(2) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมืองตามที่กําหนดในข้อบังคับ
(3) เงินที่ได้จากการจําหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง
(4) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง
(5) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการรับบริจาค
(6) เงินอุดหนุนจากกองทุน
(7) ดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมือง
ขณะที่ มาตรา 87 ระบุว่า เงินและทรัพย์สินของพรรคการเมืองต้องนําไปใช้จ่ายเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและสมาชิก และค่าใช้จ่ายในการบริหารพรรคการเมือง
ด้วยเหตุที่ พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 62 ว่าด้วยรายได้ของพรรคการเมือง ส่วนมาตรา 87 ว่าด้วยรายจ่ายของพรรคการเมือง
กรณีดังกล่าว ถ้ายึดถือตามตรรกะของผู้ที่กล่าวว่า มาตรา 62 ไม่ได้ห้ามไม่ให้กู้ยืมเงิน พรรคการเมืองย่อมกู้เงินได้
ถ้าเช่นนั้น พรรคการเมืองก็จ่ายเงินของพรรคทำในสิ่งที่มาตรา 87 ไม่ได้ห้ามไว้ได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น พรรคการเมืองก็สามารถใช้เงินของพรรคซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ปลูกสร้างอาคารขาย ซื้อที่ดินมาจัดสรรขายหรือกระทำการอื่นใดเพื่อแสวงหากำไรได้ เพราะมาตรา 82 และ มาตรา 87 ไม่ได้ห้าม
ถ้ายึดหลักเช่นนี้ พรรคการเมืองก็มีสิทธิดีกว่านิติบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประกอบธุรกิจที่ต้องระบุว่าต้องการทำอะไรบ้างไว้ในวัตถุประสงค์ ถ้าไม่ระบุไว้ก็ไม่สามารถกระทำได้
ต่อไปนักธุรกิจคงตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อประกอบธุรกิจ เพราะสามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง และยังได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนพรรคการเมืองด้วย
@ นี่คือบทสรุปเบื้องต้นของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ที่หัวหน้าพรรค กก.บห.และพรรคอนาคตใหม่ ต้องได้รับตามกระบวนการยุติธรรม ในกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มีความผิดตามคำร้อง
ขณะเดียวกัน กกต.ยกร่างคำร้อง เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และทาง กกต.เห็นว่าเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างธนาธรกับพรรคอนาคตใหม่ ในส่วนของข้อเท็จจริงถือเป็นที่ยุติแล้ว
เพราะธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ ต่างยอมรับว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริง
จึงเหลือเพียงประเด็นปัญหาข้อกฎหมายว่าพรรคการเมืองสามารถกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้หรือไม่
เพราะมาตรา 62 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
เขียนต่างจากปี 2550 ที่จะกำหนดรายได้อื่นไว้ ทำให้พรรคการเมืองในขณะนั้น มีการกู้ยืมเงินจากหัวหน้าพรรค แต่จะเป็นประเภทของเงินทดรองจ่ายไปก่อน
นอกจากนี้ ข้อกฎหมายยังกำหนดให้นิติบุคคลบริจาคได้ไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท ส่วนและเงินกู้จะถือว่าเป็นการบริจาคเกินที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
ถือเป็นดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย เพื่อให้สิ้นสุดความและใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไป
ส่วนขั้นตอนต่างๆ ก็เป็นไปตามกรอบการใช้อำนาจมาตรา 93 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง
ที่ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง สามารถมีความเห็นพร้อมรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานส่ง กกต.พิจารณาได้ เพื่อลงมติในขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งก็เป็นที่มาของมติการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |