นิติราษฎร์ยกเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35 บทเรียนนายกฯคนนอก


เพิ่มเพื่อน    

19 มี.ค. 61 - ที่ศาลทหารกรุงเทพ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์  กล่าวถึงกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ว่า ตนรู้สึกเสียดายความรู้ความสามารถทางวิชาการของนายปิยบุตร แต่ก็ให้กำลังใจและเข้าใจว่านายปิยบุตร ต้องการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทย ซึ่งต้องรอดูว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน แต่ภายใต้กติกาตามรัฐธรรมนูญปี 60 นั้นถือว่าไม่ง่าย และเชื่อว่าในไม่ช้าประชาชนก็จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น 

ทั้งนี้หลังจากที่นายปิยบุตรประกาศว่าจะไปตั้งพรรคอนาคตใหม่แล้วต่อไปนายปิยบุตร ก็ต้องลาออกจากการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ช่วงนี้ยังไม่ต้องลาออก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดโอกาสให้คนที่เป็นพนักงานของรัฐและข้าราชการสามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ แต่ถ้าถึงคราวลงสมัครรับเลือกตั้งก็จะต้องลาออก 

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างนายปิยบุตรกับกลุ่มนิติราษฎร์ ตนพูดชัดเจนว่านายปิยบุตรก็ไปทำงานทางการเมือง ส่วนคณะนิติราษฎร์ก็จะทำงานด้านวิชาการต่อไป ซึ่งเป็นคนละส่วนและไม่ได้เกี่ยวข้องกันแล้ว

มื่อถามว่าทางกลุ่มนิติราษฎร์จะสนับสนุนแนวทางหรือนโยบายของพรรคอนาคตใหม่หรือไม่ นายวรเจตน์ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นนโยบายพรรคใดๆทั้งสิ้น และกลุ่มนิติราษฎร์ไม่ได้ประกาศสนับสนุนนโยบายพรรคการเมืองอยู่แล้ว เพราะนิติราษฎร์เป็นนักกฎหมายที่เห็นความไม่ถูกต้องในการปรับใช้กฎหมายช่วงที่ผ่านมา พร้อมทั้งดำเนินการในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์และให้ความรู้กับประชาชนเป็นหลัก ส่วนนโยบายของพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มนิติราษฎร์เพราะเขาต้องไปคุยกับคนในพรรคของเขาเอง

เมื่อถามถึงกรณีที่มีบางพรรคการเมืองสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก นายวรเจตน์ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้ความเห็นในเรื่องนี้ เพราะยังไม่เกิดขึ้น แต่ประเทศไทยเคยผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 35 มาแล้ว เรามีบทเรียนมาแล้ว และควรนำบทเรียนนั้นมาใช้ แต่ก็ไม่ทราบว่าสุดท้ายแล้วจะมีพรรคการเมืองไหนเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกหรือไม่ เพราะจะต้องมีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีก่อนเลือกตั้ง แต่ตอนนี้ทุกอย่างยังเป็นคำถามเชิงสมมติ ตนขอไม่ตอบเรื่องนี้ดีกว่า  

ส่วนกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)  ยังคงมั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งภายในก.พ. 62 หรือไม่ นายวรเจตน์ กล่าวว่า ตนไม่เคยมั่นใจอะไรอยู่แล้ว และทุกอย่างก็ยังไม่มีความชัดเจนแน่นอนใดๆทั้งสิ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองที่เราก็ต้องเฝ้าดูกันต่อไป ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกลุ่มคนที่คุมอำนาจอยู่ตอนนี้มีความมุ่งหมายอะไร ดังนั้นการเลือกตั้งจะเลื่อนหรือไม่เลื่อน  เรื่องอารมณ์ของคนในสังคมและกระแสของคนในสังคมก็เป็นเรื่องสำคัญ ตอนนี้แม้ว่ายังไม่เป็นประชาธิปไตย แต่คนในสังคมได้ผ่อนคลายและได้แสดงออกมากขึ้น แต่การเลือกตั้งจะเลื่อนไปแบบไม่มีกำหนดคงเป็นไปไม่ได้ สุดท้ายการเลือกตั้งก็ต้องเกิดขึ้น. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"