23 ธ.ค. 2562 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบัน Geno-Immune Medical Institute (GIMI) สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และข้อตกลงการใช้ตัวอย่างชีวภาพ (MTA) ที่จะนำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) การผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที-เซลล์ (T-cells) ที่มีการดัดแปลงโมเลกุลรับสัญญาณให้เป็นแบบลูกผสม (Chimeric antigen receptor T-cells หรือ CAR T-cells) จากผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน GIMI และทดสอบประสิทธิภาพในการนักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำนวนแรกประมาณ 10- 20 คน ที่อยู่ในระยะดื้อยา เพื่อพัฒนาการรักษาในผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นต่อไปได้
ศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา
ศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จุดประสงค์คือได้เล็งเห็นความจำเป็นที่ต้องมีการวิจัยและพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที่มีประสิทธิภาพ เพราะปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆที่ทำเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งเทคโนโลยีการผลิต CD19-CAR T cells รุ่นใหม่นี้ เป็นรุ่นที่ 4 (4th Generation) ที่ผ่านการทดสอบในมนุษย์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง อีกทั้งกระบวนการผลิต CD19-CAR T cells ยังมีราคาที่ย่อมเยา เมื่อเทียบกับราคา จากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration) โดยมีราคาต่อ 1 ขนานอยู่ที่ $373,000-$475,000 หรือประมาณ 11-14 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าราคาในการรักษาในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3 แสนบาท
ศ.ดร.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ภายหลังการทำ MOU ศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะเริ่มรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต CD19-CAR T cells รุ่นใหม่นี้จากสถาบัน GIMI รวมไปถึงแลกเปลี่ยนนักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ ไปจนถึงทำการทดสอบประสิทธิภาพของ CD19-CAR T cells ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชาวไทย ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนานักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการเตรียมเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดในการรักษามะเร็งโดยใช้เซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยเอง ซึ่งองค์ความรู้และเทคโนโลยีนี้สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่พบในคนไทยได้ต่อไปในอนาคตด้วย
ศาสตราจารย์ ดร. เพทาย เย็นจิตโสมนัส
ศาสตราจารย์ ดร. เพทาย เย็นจิตโสมนัส ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดโรคมะเร็งศิริราช กล่าวเสริมว่า ทีเซลล์ เป็นระบบภูมิคุ้มกันของคนทั่วไป ที่คอยทำหน้าฆ่าเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัสที่ผิดปกติ ในกรณีของมะเร็งเซลล์ได้เปลี่ยนจากเซลล์ปกติเป็นเซลล์มะเร็ง และมีการหลบหลีกทีเซลล์ ดังนั้นในการรักษาคือ ต้องนำทีเซลล์ออกมาด้านนอกเพื่อฝึกให้เซลล์แข็งแรกมากขึ้น ก่อนที่จะทำการรักษาตามกระบวนการ โดยเทคโนโลยี CD19-CAR T cells ที่ทางสถาบัน GIMI ได้ทำการวิจัยมากว่า 40 ปี ซึ่งในการรักษาที่ประเทศจีนถือว่าประสบความสำเร็จในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว จากการรักษาในระยะท้าย คือไม่รับยา ดื้อยา จนสามารถพัฒนามารักษาในระยะเริ่มต้นได้ สำหรับผู้ป่วยในไทยจะต้องมีการเลือกผู้ป่วยจำนวนหนึ่งประมาณ 10-20 คนเพื่อเข้ารับการรักษาก่อน ซึ่งเป็นระยะที่มีอาการดื้อเคมีบำบัด ซึ่งจะมีการติดตามและประเมิน และคาดว่าจะมีการพัฒนาในระยะ 3-4 ปี เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวในระยะเริ่มต้นได้
Professor Dr.Lung - Ji Chang
ด้าน Professor Dr.Lung - Ji Chang ประธานสถาบัน Geno-Immune Medical Institute (GIMI) สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ที-เซลล์ที่มีการดัดแปลงโมเลกุลรับสัญญาณให้เป็นแบบลูกผสม (CAR T-cells) นี้ ถือเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งแนวใหม่ เรียกว่า เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด (Cellular immunotherapy) ซึ่งผลิตจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แยกมาจากเลือดของผู้ป่วยและนำมาดัดแปลงด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา (Molecular biology) ให้สามารถจดจำเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะ มีความสามารถในการกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น และใส่กลับไปในร่างกายของผู้ป่วยเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีการรักษานี้จึงมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้มกันที่นำมาเปลี่ยนแปลงภายนอกร่างกายและใส่กลับให้ผู้ป่วยนั้นเป็นเซลล์ของผู้ป่วยเอง
ประธานสถาบัน GIMI กล่าวต่อว่า การใช้ CAR T-cells ในการรักษาโรคมะเร็งได้รับการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ในรูปแบบของ Living drug จากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ CAR T-cells ที่ถูกดัดแปลงให้มีความจำเพาะต่อโปรตีน CD19 (CD19-CAR T cells) ที่มีการแสดงออกมากบนผิวของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบี-เซลล์และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผลการวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสามารถของ CD19-CAR T cells ในการทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งในไทยอาจจะมีราคาที่ปรับลงมาให้คนไทยเข้ารับการรักษาได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |