'สุเทพ'นำทีมกปปส.ขึ้นศาลตรวจหลักฐานคดีกบฏ


เพิ่มเพื่อน    


19 มี.ค.61- ที่ศาลอาญา นายสุเทพ เทือกสุบรรณประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) และเลขาธิการ กปปส., นายถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำ กปปส. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และอดีต ส.ส.สงขลา ประชาธิปัตย์ , นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตแกนนำ กปปส. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ , นางอัญชะลี ไพรีรัก อดีตพิธีกรเวทีชุมนุม กปปส. และแนวร่วม กปปส. จำนวนหนึ่ง ซึ่งตกเป็นจำเลยคดีร่วมกันกบฏ , สนับสนุนกบฏ , ขัดขวางการเลือกตั้งฯ และข้อหาอื่นรวม 8-9 ข้อหา พร้อมด้วยทนายความ เดินทางมาตามนัดตรวจหลักฐาน คดีที่อัยการยื่นฟ้องไว้ 2 สำนวน คือหมายเลขดำ อ.247/2561 ที่อัยการสำนักงานคดีพิเศษ 4 ยื่นฟ้องนายสุเทพ และแกนนำ กปปส. รวม 9 คน และคดีหมายเลขดำคดีหมายเลขดำ อ.832/2561 ที่อัยการยื่นฟ้อง นางอัญชะลี ไพรีรัก , พระพุทธอิสระ และแนวร่วม กปปส. รวม 14 คน
 
โดยก่อนขึ้นห้องพิจารณาคดี เพื่อร่วมตรวจพยานหลักฐาน นายสุเทพ กล่าวว่า พวกตนบรรดาจำเลย ทั้ง 2 รุ่น ซึ่งรุ่นแรก คือ แกนนำ 9 คนที่ถูกยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ศาลก็นัดให้นำพยานหลักฐานมายื่นต่อศาลในวันนี้ ส่วนรุ่นที่ 2 รวม 14 คนอัยการเพิ่งยื่นฟ้องวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา ศาลก็นัดให้มาตรวจหลักฐานวันเดียวนี้ รวมทั้งหมดวันนี้จึงมีจำเลย 23 คนที่ถูกฟ้องคดีอาญาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย , กบฏต่อแผ่นดิน , เป็นอั้งยี่ , ซ่องโจร , ทำผิด พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ , บุกรุกสถานที่ราชการ , ขัดขวางการเลือกตั้ง ฯลฯ แต่ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วผู้ที่ฟ้องเป็นจำเลยทุกคนไม่ได้มีพฤติกรรมตามที่ถูกกล่าวหา บางคนเพียงแค่ขึ้นเวทีปราศรัยให้ความรู้กับประชาชน บางคนก็เพียงแค่ไปชุมนุมเป็นครั้งคราวตามโอกาสเป็นต้น ดังนั้นวันนี้ พวกตนก็จะยื่นคำร้องขอต่อศาลว่า อย่าได้นำคดีทั้ง 2 สำนวน หรือเอาจำเลยทั้ง 23 คนมารวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันเลย เพราะจะไม่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม จะไมเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ไม่เป็นความสะดวกทั้งสิ้น เราจะร้องขอต่อศาลให้แยกพิจารณาเป็นคดีๆ ไป แต่หากสุดท้ายศาลมีคำสั่งว่าเพื่อความสะดวกให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันหรือมีคำสั่งใด เราก็ต้องยอมรับเช่นนั้น
 
“แน่นอนว่า ผมและแกนนำ กปปส. รวม 9 คนเราต้องรับผิดชอบทุกข้อหาอยู่แล้ว เราก็ยินดีที่จะเข้ารับการพิจารณาเป็นชุดแรก แต่บรรดา 14 คนที่มาชุดหลัง ก็อยากให้ศาลได้พิจารณาว่าเป็นไปได้หรือไม่ครับที่จะให้อัยการถอนฟ้องไปก่อน ไปทำการสอบสวนใหม่ให้ชัดเจนว่าพฤติกรรมของแต่ละท่านที่เกี่ยวข้องในการชุมนุม ที่แท้จริงแล้วมีอะไรบ้างก็ฟ้องไปตามนั้น เช่นถ้าผิดฐานขัดขวางเลือกตั้ง ก็ไปดำเนินคดีข้อหาขัดขวางการเลือกตั้ง หรือมีพฤติการณ์ไปบุกรุกสถานที่ราชการไหนก็ไปดำเนินคดีฐานบุกรุกฯ แต่บางคนแค่มาขึ้นเวทีปราศรัยผมก็ยังไม่รู้ว่าจะเอาข้อหาอะไร ดังนั้นสมควรที่สำนักงานอัยการฯ จะพิจารณาว่า หากยังยึดหลักความยุติธรรมอยู่ควรจะให้โอกาสจำเลย” นายสุเทพ ระบุ
 
ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ กล่าวา ในทางกฎหมายหลักการดำเนินคดีอาญาต้องถือว่า จำเลยด้อยโอกาส เสียโอกาส พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อัยการ มีโอกาสทำสำนวนตั้ง 4-5 ปี แจ้งข้อหามาก็ต้องให้จำเลยได้รวบรวมข้อเท็จจริงไปแสดง แล้วจำเลยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการประกอบอาชีพ การทำหน้าที่ฐานะสื่อมวลชน ครูบาอาจารย์ ซึ่งจะได้ไปทำประโยชน์ให้กับสังคมตามหน้าที่ความรับผิดชอบของเขา แทนที่จะมัดรวมมามัดเดียวแล้วต้องมาศาลทุกคนทุกนัด ซึ่งหากใครไม่มาสักคนก็พิจารณาคดีไม่ได้.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"