22 ธ.ค. 2562 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เสรีภาพ ผิดประเทศ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 2,100 ตัวอย่าง และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 1,209 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 19 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึง ความเห็นต่อ ชายกับชายกอดจูบปากกันที่สภาฯ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุไม่เหมาะสม เพราะ ใช้เสรีภาพผิดที่ ไม่เหมาะกับประเทศไทย ขาดจิตสำนึก ไม่นึกถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมของสังคมไทย พวกเดินตามก้นฝรั่ง ปล่อยให้พวกฝรั่งจูงจมูก และไม่รักวัฒนธรรมไทย เป็นพวกอยู่ผิดประเทศ เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 18.6 ระบุ เหมาะสม เพราะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ เป็นประชาธิปไตยจะทำอะไรก็ได้ เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการนัดหมายพา คนลงถนน จะสร้างความเดือดร้อนอะไรให้กับคนกลุ่มใดบ้างและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 44.8 ระบุ รถติด คนทุกกลุ่มเดินทางลำบาก รองลงมาคือ ร้อยละ 38.7 ระบุ ความวุ่นวาย ความไม่สงบของบ้านเมือง ร้อยละ 32.3 ระบุ เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก คนทุกกลุ่มเดือดร้อน ร้อยละ 31.3 ระบุ รายได้ลดของคนขับรถแท็กซี่ และรถรับจ้าง ร้อยละ 27.3 ระบุ คนป่วยที่ต้องพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเส้นทางชุมนุมของคนลงถนน และร้อยละ 5.0 ระบุอื่น ๆ เช่น ทำทุกคนลำบากกันไปหมด ทำมาหากิน การเงินขัดสนลงไปอีก เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง กิจกรรมกระตุ้นให้คนไทย ออกมาวิ่ง กิจกรรมใดที่ทำแล้ว เหมาะสม น่ายกย่องเชิดชู มากกว่ากันระหว่าง วิ่งเพื่อโรงพยาบาลภาคเหนือ กับ วิ่งไล่ลุง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 ระบุ ยกย่องเชิดชู การวิ่งเพื่อโรงพยาบาลภาคเหนือ ของพี่ตูน บอดี้สแลม เหมาะสมมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 16.6 ยกย่องเชิดชู วิ่งไล่ลุง เหมาะสมมากกว่า
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง พรรคการเมืองใดอยู่เบื้องหลัง วิ่งไล่ลุง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 ระบุ พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล อยู่เบื้องหลัง และร้อยละ 25.1 ระบุ อื่น ๆ เช่น ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง และมีกลุ่มอื่น ๆ เช่น คนจัดวิ่งไล่ลุงมีหน้า facebook และ twitter ใช้สื่อโซเชียลโจมตีแต่รัฐบาลด้านเดียว เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ขาดความเป็นกลาง และมีแต่ อคติ เสนอภาพลบของรัฐบาลเพียงมิติเดียว ขาดจรรยาบรรณของนักทำกิจกรรมทางการเมืองที่ดี มุ่งจะขายของหารายได้ จากการขายเสื้อ ขายของ ผลประโยชน์ทางธุรกิจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง
นายนพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือ เมื่อวิเคราะห์เสียงของประชาชนในโลกโซเชียล (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll ในช่วง 1 วันที่ผ่านมา ด้วยการประมาณการจำนวนเข้าถึงเรื่อง กิจกรรมวิ่ง 3 ประเภท ได้แก่ วิ่งไล่ลุง วิ่งเพื่อแผ่นดิน และวิ่งเพื่อโรงพยาบาลภาคเหนือ ของตูน บอดี้สแลม พบว่า จำนวนคนในโลกโซเชียลที่กิจกรรม “วิ่งเพื่อโรงพยาบาลภาคเหนือ” เข้าถึง มีจำนวนทั้งสิ้น 1,530,101 คน มากกว่า “วิ่งไล่ลุง” จำนวนทั้งสิ้น 1,088,273 คน และ “วิ่งเพื่อแผ่นดิน” มีจำนวนทั้งสิ้น 217,599 คนตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ เสียงตอบรับต่อ กิจกรรมวิ่ง 3 ประเภท พบว่า วิ่งเพื่อโรงพยาบาลภาคเหนือได้เสียงตอบรับเชิงบวกร้อยละ 90.2 ในขณะที่ วิ่งเพื่อแผ่นดิน ได้ร้อยละ 55.6 และวิ่งไล่ลุง ได้ร้อยละ 37.5 โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.5 เป็นเสียงตอบรับในทางลบต่อกิจกรรม วิ่งไล่ลุง
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ชายกับชายกอดจูบปากกันที่สภาฯ และ วิ่งไล่ลุง อาจถูกมองว่า เป็น “เสรีภาพที่ผิดประเทศ” เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคงต้องการความสงบสุขของบ้านเมืองและต้องการรักษาวัฒนธรรมของสังคมไทยไว้มากกว่าเดินตามก้นฝรั่งทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาและไม่มีหลักประกันว่าประเทศเหล่านั้นจะไม่วุ่นวายหรือปลอดภัยแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นภาพในอดีตที่คนในชาติขัดแย้งรุนแรงบานปลายเกิดการเผาบ้านเผาเมือง ทำเศรษฐกิจทรุดหนักและภาพจลาจลในประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ทำลายความเจริญของประเทศเหล่านั้นทำลายความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์อาจจะส่งผลต่อความรู้สึกของประชาชนคนไทยที่สะท้อนออกมาในผลโพลครั้งนี้ ดังนั้น กลุ่มคนที่กำลังเคลื่อนไหวทางการเมืองได้โปรด อย่ามองข้าม “ไทยนี้รักสงบ” ฝังรากลึกในจิตสำนึกของคนไทยทั้งประเทศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |