30 ปีที่ประเทศไทยมีการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างต่อเนื่องแต่ยังช่วยคนให้เลิกสูบบุหรี่ได้น้อยกว่ามาตรการอื่นๆ ทุกวันนี้ไทยมีนักสูบ11 ล้านคนและอัตราการสูบในชายเฉลี่ยร้อยละ40 คนเมืองสูบน้อยกว่านอกเขตเมืองหลายจังหวัด มาตรการเชิงรุกส่งเสริมให้คนในชุมชนมีบทบาทแก้ปัญหาพิษภัยบุหรี่ในพื้นที่ของตนเองเป็นแนวทางสำคัญ
แนวทางที่เชื่อว่าจะทำให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้หนุนการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายระดับจังหวัดระดับอำเภอตำบลหมู่บ้านเพื่อชักชวนเชิญชวนท้าชวนให้นักสูบเลิกสูบให้ได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือนด้วยหวังจำนวนนักสูบวางมวนบุหรี่ตลอดชีวิตมากขึ้นเกิดเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
งานขับเคลื่อนไม่หยุดแค่นั้น ล่าสุดโครงการจัดการความรู้และสื่อสารการขับเคลื่อนงานตามพันธกิจชวนและช่วยเลิกบุหรี่เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ชวนช่วยเลิกบุหรี่ Forum” ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เมื่อวันก่อน โดยมี นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. เป็นประธานพิธีเปิด
ไฮไลท์มีการเสนอผลงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) สร้างแรงบันดาลใจรักษาสุขภาพและปลุกกระแสเลิกบุหรี่ทั้งยังให้ภาคีเครือข่ายร่วมประกาศเจตนารมณ์ผลักดันสร้างปัจจัยเอื้อลดละเลิกบุหรี่ในระยะต่อไป
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ กล่าวว่า สสส. ให้ความสำคัญกับการชวนและช่วยเลิกบุหรี่ ข้อมูลจากระบบบัตรทองประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการปี2560 มีผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคจากบุหรี่ถึง553,611 ครั้งคิดเป็นค่ารักษาพยาบาลรวม21,389 ล้านบาทแต่ละครั้งต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลเฉลี่ย7 วันเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเฉลี่ย38,638 บาทต่อครั้ง ดังนั้น สสส. จึงสนับสนุนโครงการจัดความรู้และสื่อสารการขับเคลื่อนงานตามพันธกิจชวนและช่วยเลิกบุหรี่ดำเนินการในพื้นที่12 จังหวัดประกอบด้วยจ.เชียงรายลพบุรี นครนายกนครปฐมปทุมธานีกาญจนบุรีราชบุรีบุรีรัมย์สกลนครกรุงเทพฯตรังนราธิวาสและสถานประกอบการ3 แห่งคือสมุทรปราการและตรัง ทำงานผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ซึ่งกระจายทุกหมู่บ้านและใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่มากที่สุดโดยมีโรงพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) เป็นแกนกลางสนับสนุนให้เครือข่ายและอสม. ทำหน้าที่ชวนและช่วยคนในชุมชนให้เลิกสูบบุหรี่ตามบริบทวิถีชีวิตสภาพสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่
ด้าน นิรดา แสนรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการความรู้และสื่อสารการขับเคลื่อนงานตามพันธกิจชวนและช่วยเลิกบุหรี่สสส. กล่าวว่าสถิติการเสียชีวิตจากบุหรี่ที่มีสูงเป็นที่มาสสส. รุกทำงานทุกพื้นที่เพื่อควบคุมยาสูบแต่ละพื้นที่มีการขับเคลื่อนและเทคนิคต่างกันกิจกรรมครั้งนี้จะร้อยเรียงส่วนหนึ่งของพื้นที่ตัวอย่างนำเสนอสู่สาธารณะมีการรวบรวมองค์ความรู้แนวทางทำงานและความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานชวน ช่วยเลิกบุหรี่ ทั่วประเทศโดยติดตาม12 พื้นที่ซึ่งงานประสบผลสำเร็จและนำเสนอผลงานให้สังคมรับรู้และขยายออกไปในวงกว้าง ภาพรวมการดำเนินงานโครงการได้รับความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายชี้เป้าและแนะนำพื้นที่ที่มีผลการทำงานที่โดดเด่น ทีมสื่อชวนช่วยเลิกบุหรี่ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ผู้ร่วมเคลื่อนงาน ผลิตสื่อ มี สสจ.สสอ. รพ.สต.อสม.ต้นแบบและต้นแบบคนเลิกบุหรี่ร่วมทีมนอกจากนี้ ขยายพื้นที่เป้าหมายไปสู่สถานประกอบเพิ่มอีก3 แห่งด้วย
ผู้รับผิดชอบโครงการฯกล่าวว่าหลากพื้นที่ก็มีหลายแนวทางการขับเคลื่อนเช่นสกลนครสอดแทรกในงานบุญประเพณีขณะที่เชียงรายดึงศิลปินที่มีชื่อเสียงปู่จ๋านลองไมค์รณรงค์กับเด็กเยาวชน ส่วนบุรีรัมย์มีนวัตกรรมและเครื่องมือเสริมแรงเป็นคู่มือเลิกบุหรี่และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบส่วนรพ.สระโบสถ์จ.ลพบุรีจัดสายตรวจบุหรี่ตลอดจนใช้ตัวช่วยจากธรรมชาติทั้งลูกอมเลิกบุหรี่และยาพ่นมีส่วนผสมหญ้าดอกขาวพื้นที่นครนายกก็น่ารักชูกลุ่มเป้าหมายเยาวชนทำสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ชวนเด็กและผู้ปกครองมาทำกิจกรรมวาดภาพหรือที่ราชบุรีใช้ซาเล้งไปรับมานวดกดจุดเลิกบุหรี่ เป็น5 จุดใต้ฝ่าเท้าที่สะท้อนไปส่วนสมองเล็กสมองใหญ่ต่อมใต้จมูกลำคอและท่อทางเดินหายใจให้เลิกบุหรี่ได้ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจเลิกบุหรี่ส่วนรพ.ตรังใช้กล้วยระงับความอยากสูบ นราธิวาสเป็นชุมชนมุสลิมดึงดูดด้วยคลีนิคเลิกบุหรี่ในมัสยิดหลายพื้นที่ขยายการให้บริการสู่ชุมชน ตั้งคลีนิคชุมชนติดตามให้กำลังใจผู้ที่อยู่ระหว่างเลิกบุหรี่
“ กิจกรรมเวทีนี้สร้างพื้นที่ให้ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และโชว์ผลสำเร็จที่สำคัญมีการประกาศเจตนารมณ์ปักหมุดหยุดสูบเป็นสัญลักษณ์กลับไปด้วยพลังชวนชุมชนเลิกบุหรี่ได้ต่อไป“ นิรดาย้ำเจตนารมณ์
วันนี้งานชวนช่วยเลิกบุหรี่มาไกลชุมชนใน12 จังหวัดทั่วไทยก้าวไปพร้อมกันบนเวทีแลกเปลี่ยนครั้งนี้เห็นชัดเจนทุกพื้นที่ฝันสู่สังคมปลอดบุหรี่
บุญร่วม ฮะสูงเนิน บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่จ.บุรีรัมย์ อายุ59 ปีกล่าวว่าสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ24 ปีเลิกบุหรี่เมื่อ3 ปีก่อนตัดสินใจเลิกบุหรี่หลังจากปฏิบัติธรรมและได้นำสวดมนต์รวมถึงเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีอาการหอบเหนื่อยมากปวดร้าวทั่วร่างกาย เข้าโรงพยาบาลนอนรักษาตัว3 คืนหมอให้เลิกบุหรี่แอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลังยังไม่ทันเลิกทันทีจนได้พบคนต้นแบบเลิกบุหรี่แนะนำชวนให้เลิกระหว่างนั้น 2 ปีต่อสู้กับธรรมะและอธรรมในใจตัวเองเลิกได้น้ำตาไหลเลยสุขภาพร่างกายกลับมาแข็งแรงแบกข้าวสารเป็นกระสอบๆได้อยากขอบคุณสสส. ทำคู่มือเลิกบุหรี่ ทำให้ตัวเองทำได้และชวนคนที่อยากเลิกช่วยให้เอาชนะให้ได้
สูบมา40 ปีก็เลิกได้ยืนยันจาก ร้อยโทนพนนท์ ศรีอิ่ม คนต้นแบบเลิกบุหรี่จ.ราชบุรี กล่าวว่า วัยเด็กอยู่ในครอบครัวที่มีคนสูบทำให้คุ้นเคยเมื่อเข้าวัยรุ่นอยากแสดงให้เพื่อนเห็นว่าโตแล้วและต้องการการยอมรับทำให้สูบมามา40 ปีเฉลี่ยวันละ2 ซอง สมัยนั้นมวนต่อมวนเมื่อเจออสม. จากรพ.สต.ดอนทรายราชบุรีเป็นเครือข่ายสสส. ชวนให้เลิกบอกกดฝ่าเท้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ให้ลองครอบครัวก็เห็นด้วย พอนวดเสร็จหมอให้ลองสูบบุหรี่จืดสนิทไปเลย เลิกบุหรี่ได้1 ปีกับ2 เดือน แข็งแรงขึ้นเครือข่ายติดตามตลอดรู้สึกมีกำลังใจเวลาอยากสูบบุหรี่จะปรึกษาหมอแถมตั้งเป็นประธานชมรมคนเลิกบุหรี่จังหวัดราชบุรีและประกาศให้เป็นคนต้นแบบ ช่วยเผยแพร่องค์ความรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้มีคนจากพื้นที่อื่นๆมาเรียนรู้ที่ราชบุรีและช่วยเพิ่มคนเลิกบุหรี่โดยเฉพาะป้องกันนักสูบหน้าใหม่ไปบรรยายภัยบุหรี่ในวิทยาลัยเทคนิคหยุดวังวนยาเสพติดสู่ลูกหลาน
โซนภาคกลางองค์ความรู้ก็มากมายขนิษฐา ตั้งกิตติวํฒน์ผอ.รพ.สต.โพรงมะเดื่อจ.นครปฐม กล่าวว่าตั้งแต่ทำโครงการมา3 ปีมีคนสมัครเลิกบุหรี่576 คนแต่มีเลิกได้เด็ดขาด1 ปีขึ้นไป72 คนและอีก300 กว่าคนอยู่ระหว่างติดตามพุดคุยเพื่อให้เลิกให้ได้มีบางส่วนเลิกได้ระยะสั้นกลับไปสูบใหม่จากปัจจัยสภาพแวดล้อมมีคนสูบบุหรี่ประสบปัญหาครอบครัวและความเครียดหัวใจสำคัญคือครอบครัวรพ.สต. ช่วยสนับสนุนผลสำเร็จของเราวัดจากภาคีเครือข่ายอสม. วัดโรงเรียนสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยกันและสานสัมพันธืเชิญชวนเลิกบุหรี่โดยเฉพาะอสม. เป็นพลังสำคัญในการติดตามผลด้วยใจไปพูดคุยกับครอบครัวให้กำลังใจผู้สูบไม่ท้อถอยเข้าสู่กระบวนการใหม่อีกครั้งและใช้วิธีการใหม่ๆมีตัวช่วยสมุนไพรหญ้าดอกขาวควบคู่นวดกดจุดการกินผลไม้รสเปรี้ยวแต่ถ้ายังเลิกไม่ได้อีกต้องสร้างแรงจูงใจให้เลิกบุหรี่เพื่อคนที่รัก ระยะหลังแนะนำคนเลิกบุหรี่ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป้าหมายจะสร้างสังคมปลอดบุหรี่ที่แท้จริง
อำนวย สุทัตโต อาสาสมัครสาธารณสุขรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่จ.ปทุมธานีกล่าวว่านำอสม. เป็นต้นแบบทำโครงการกระดาษแผ่นเดียว กลยุทธ์ คือ เข้าทางญาตินักสูบและให้ญาติพุดคุยกดดันถึงผลร้ายของการสูบ ขณะที่สถานศึกษาได้เข้าไปสอดแทรกความรู้ให้กับเด็กนักเรียน ถามหาบ้านที่มีพ่อแม่ พี่นักสูบ ให้ไปชวนเลิก ถ้าสนใจกลับมาแจ้ง อสม. ประสานนักสูบ ถ้ายินยอมก็เริ่มดำเนินงานทันที ส่วนรูปแบบการทำงานจะเป็นเวลากลางคืน หลังเลิกงาน เพราะชุมชนบ้านใหม่เป็นกึ่งเมือง คนทำงานโรงงาน รวมถึงมีหน่วยทหารกรมสรรพาวุธ เข้าไปจัดบูธทุกสิ้นเดือนได้รับความสนใจมาก แจกจ่ายน้ำยาบ้วนปากแนะนำอมหลังทานอาหาร อมลูกอมรสเผ็ดจัด สเปรย์ดอกหญ้าขาว ทำให้ลดการอยากสูบ ถ้าอยู่บ้านคนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ เก็บอุปกรณ์สูบให้พ้นมือ ขณะนี้มีนวัตกรรมใหม่เพิ่มมา จากลูกอมที่มีน้ำตาล เปลี่ยนมาใช้นมผงเด็ก นมข้น และเนยเล็กน้อย ผสมหญ้าดอกขาว เคี่ยวทำลูกอม ผู้ป่วยจะใช้ได้ต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ รพ.สต. ก่อน ปัจจุบันทำลูกอมกระจายให้พื้นที่อื่นๆ ด้วย
นวัตกรรมตอกเส้นเลิกบุหรี่น่าทึ่ง ทิพย์วัลย์ อินทร์จาด อสม.สธ. รพ.สระโบสถ์ กล่าวว่า เรียนแพทย์แผนไทยและศาสตร์ตอกเส้นล้านนา มีประสบการณ์ ได้คุยกับคลีนิคฟ้าใสที่ รพ. นำมาสู่การเป็น อสม.สธ.ดูแลคนในชุมชน ซึ่งพบปัญหาสูบบุหรี่ เพราะเครียดจากการดำรงชีวิต เกษตรไม่ได้ผลผลิต ตั้งคลีนิคในชุมชน ประกาศรับ อสม.เลิกบุหรี่ ได้สมาชิกมา 33 คน นัดมารับบริการตอกเส้นทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ปรับสมดุลร่างกาย คลายเครียด การอยากบุหรี่จะลดลง นัด 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ตอกเส้นให้ครบ 15 ครั้ง ทำให้มีผู้เลิกบุหรี่ 25 คน ที่เหลือต้องติดตามต่อ ในชุมชนมีคนตอกเส้นได้รวม 2 คน อยากให้ชุมชนเข้มแข็ง แต่ละพื้นที่หาวิธีให้เลิกบุหรี่ ทุกชุมชนตั้งใจทำงานลด ละ เลิกบุหรี่
สามจังหวัดแดนใต้ก็ชวนเลิกบุหรี่คึกคัก ฮัสนาน หะยีเจ๊ะเล๊าะ ชมรมเยาวชนอัลฟารุก จ.นราธิวาส กล่าวว่า ตนเป็นข้าราชการสาธารณสุข ทำงานอยู่ รพ.สต. มีผลงานด้านบุหรี่และทำงานด้านจิตอาสามาตลอด อยากทำประโยชน์ตอบแทนชุมชนบ้านเกิด จึงใช้เวลาเสาร์-อาทิตย์ และเย็นวันธรรม ทำงานชมรมเยาวชนอัลฟารุก นำกีฬาฟุตบอลรวมเยาวชนในพื้นที่ ตั้งกติกาจะเข้าชมรมต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ เกิดความภูมิใจเป็นทีมฟุตบอลที่ไม่มีนักสูบ รวมถึงกำหนดแผนงาน เป็นนักฟุตบอลที่ทำประโยชน์สู่สังคม นั่นคือ ชวน ช่วย เลิกบุหรี่ ยึดแนวคิด 3 ร ได้แก่ รักบ้านเกิด ปรารถนาดีกับนักสูบ ขับเคลื่อนให้เลิก ไม่บีบบังคับ ถัดมาร่วมมือ และรับผิดชอบ สร้างความตระหนักร่วมกันเป็นปัญหาของทุกคน ช่วยสร้างวัฒนธรรมโตไปไม่สูบ เดินหน้ามา 3 ปี เน้นกลุ่มนักสูบ กลุ่มเสี่ยง และการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้ช่วงรอมฎอนเลิกบุหรี่ จัดตั้งคลีนิกเลิกบุหรี่ และทำโซนนิ่งพื้นที่สุบบุหรี่ สนามกีฬาปลอดบุหรี่ ชุมชน 45 หลังคาเรือน “บ้านกือทอง” ปิดประตูนักสูบหน้าใหม่ ส่วนหน้าเก่าจาก 72 คน เหลือ 35 คน เป็นภารกิจต้องพิชิตให้ได้ วางแผนจะขยายผลจัดกิจกรรมสู่พื้นที่ใกล้เคียงด้วย