18 ธ.ค.2562 นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาทดสอบความเข้าใจของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการท่าอากาศยานนครปฐมว่า ในปัจจุบันไทยมีความต้องการด้านการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเครื่องบินส่วนบุคคล (Private Jet) ที่มีเฉลี่ย 2,000 ลำต่อปี และสายการบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) ผนวกกับความแออัดของท่าอากาศยานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง
อย่างไรก็ตามกรมท่าอากาศยาน (ทย.) จึงได้ศึกษาการก่อสร้างท่าอากาศยานฝั่งตะวันตก ที่จังหวัดนครปฐม วงเงินประมาณ 25,457 ล้านบาทขึ้น เพื่อบรรเทาความคับคั่งท่าอากาศยานหลัก และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ทั้งยังเชื่อมต่อกับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่จะเชื่อมไปยังทวายในอนาคต รวมถึงการขนส่งทางรางด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งท่งอากาศในภูมิภาคต่อไปสำหรับการก่อสร้างท่าอากาศยานฝั่งตะวันตกนั้น จะใช้พื้นที่จังหวัดนครปฐมกว่า 3,500 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม และจะก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ภายหลังได้มีการลงสำรวจพื้นที่กว่า 10 แห่งในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ทย.จะเดินหน้าทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และจะจัดให้มีการปัจฉิมนิเทศโครงการในช่วงปลาย ม.ค. 63
สำหรับ โครงการดังกล่าวนั้น จะใช้รูปแบบการลงทุนกรณีให้เอกชนร่วมลงทุน(PPP)โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาที่จะแล้วเสร็จตามสัญญาภายใน ก.พ. 2563 จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมในช่วงกลางปีหน้า และหากผ่านกระบวนการต่างๆ โดยไม่มีอุปสรรค อาทิ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมถึงการใช้พื้นที่ และทำความเข้าใจกับประชาชน ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติภายในปี 2564
ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี หรือแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2569อย่างไรก็ตามขณะที่ การเวนคืนที่ดินเพื่อใช้ในการก่อสร้างนั้น คาดว่าจะมีการเวนคืนที่ดินทั้งหมด 300 แปลงหรือประมาณ 200 ครัวเรือน แม้ก่อนหน้านี้จะมีประชาชนมาขอคัดค้านการก่อสร้างสนามบินนครปฐม โดยยืนยันว่า จะต้องมีการทำความเข้าใจและมีมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมสูงสุดพร้อมทั้งหาที่ดินทำกินให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
ด้านนายจรุณ มีสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) กล่าวว่า โครงการท่าอากาศยานนครปฐมเนื่องจากปัจจุบันท่าอากาศยานดอนเมือง และสุวรรณภูมิ เกิดความแออัดของการจราจรทางอากาศและสถานที่จอดอากาศยานไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีโครงการขยายขีดความสามารถแผนพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ รวมถึงการรองรับผู้โดยสารของสนามบินอู่ตะเภา ก็ไม่เพียงพอและไม่ทันกับความต้องการการเดินทางทางอากาศที่เติบโตขึ้น ซึ่งพบว่าในปี 2552 จำนวนผู้โดยสารการบินเชิงพาณิชย์ของประเทศไทยมีจำนวน 53 ล้านคน และในปี 2561 เพิ่มเป็น 158 ล้านคน
อย่างไรก็ตามในส่วนแนวโน้มเที่ยวบินการบินเชิงธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ในปี 2552 มีจำนวน 2,555 เที่ยวบิน และเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3,581 เที่ยวบิน ในปี 2559 โดยจะเห็นได้ว่าแนวโน้มการบินเชิงพาณิชย์และการบินเชิงธุรกิจของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการท่าอากาศยานนครปฐม โดยท่าอากาศยานนครปฐม กำหนดที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยพื้นที่ดังกล่าวอยูใกล้กับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3233 โครงการมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี โครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 และโครงการมอเตอร์เวย์สาย ชลบุรี-สระบุรี–นครปฐม สำหรับท่าอากาศยานนครปฐมนั้น คาดการณ์ผู้โดยสารที่จะมาใช้สนามบินนครปฐม พบว่าจะมีผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ประมาณ 30 ล้านคน ในปี 2589 และมีเที่ยวบินเชิงธุรกิจประมาณ 11,770 เที่ยวในปี 2589
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |