“เราเรียนพิเศษตอน ม.ปลายหนักๆ เพื่อเข้าคณะที่เรียนหนักๆ เพื่อจบไปทำงานที่หนักๆ ลำบากวันนี้สบายวันหน้าคือวันไหน หาจุดสบายไม่เจอเลย” ข้อความที่โพสต์ใน Social media และมีการส่งต่ออย่างแพร่หลาย ทำให้ต้องกลับมาวิเคราะห์ความรู้สึกของคนโพสต์ สภาพสังคมในปัจจุบัน และความรู้สึกนึกคิดของคนรุ่นใหม่ สมัยก่อนเมื่อเรายังเป็นเด็กก็ถูกปลูกฝังให้เรียนหนังสือให้สูงๆ เพื่อจะได้ทำงานดีๆ “เป็นเจ้าคนนายคน” จึงไม่แปลกใจที่จะพบคนที่เป็น “เจ้าคนนายคน” ในสมัยนี้ที่เอาแต่ชี้นิ้ว ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของเด็กรุ่นใหม่ และเป็นที่มาของการพร่ำบ่นว่าเด็กรุ่นใหม่ทำงานจับจด ไม่อดทนและไม่อยู่ในกรอบ ไม่มีความภักดีให้กับองค์กร
ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังระบุว่า ปัจจุบันคนไทยกว่า 14 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป มีปัญหาและขาดความรู้ รวมทั้งวินัยทางการเงินและการออมจนทำให้มีจำนวนหนี้สินรวดเร็ว เนื่องจากในยุคนี้เด็กยุคใหม่ใช้ Social media ในการบอกเล่าการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ในแต่ละวัน และที่สำคัญคือ “การอวด” เรื่องต่างๆ ตั้งแต่เสื้อผ้าหน้าผม ไปจนถึงเรื่องเที่ยวเรื่องกิน โดยไม่สนใจสภาพความเป็นจริงและรายได้ในกระเป๋า สมัยนี้มีเด็กจบใหม่มากมายที่ตกงาน ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันเหมือนข้อความข้างต้น และตบท้ายด้วยข้อความที่ว่า รู้งี้ไม่น่าเรียนมาเลย เพราะบางคนจบมาไม่ตรงกับสายตามความต้องการของตลาด จึงส่งผลให้หางานยาก บางคนตั้งใจเรียนสาขาที่ถนัดเพราะคิดไว้ว่าจบออกมาต้องเป็นอย่างที่ตั้งใจให้ได้ เมื่อไม่เป็นดังที่คาดหวังจึงหันมามองหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ เมื่อค้นพบหนทางที่ใช่ เด็กยุคใหม่หลายคนจึงหันมาขายของออนไลน์จนประสบความสำเร็จจนยึดเป็นอาชีพหลักเลยก็มี
สอดคล้องกับโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่เป็นนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมาย "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามแนวคิดของ คสช.ที่กล่าวไว้ว่าประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยนตามโลกยุคใหม่ เพื่อให้พ้นจากกับดัก 3 อย่าง คือ 1.กับดักรายได้ปานกลาง เพราะเราใช้เครื่องยนต์เศรษฐกิจเดิมมา 50-60 ปีแล้ว ต้องเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ 2.กับดักความเหลื่อมล้ำ ความรวยกระจุก-ความจนกระจาย ต้องหาวิธีกระจายความเจริญออกไปนอกกรุงเทพฯ และ 3.กับดักการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เพราะเน้นไปที่ด้านเศรษฐกิจ ไม่ได้คำนึงถึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการการพัฒนาที่มีความมั่นคงยั่งยืน เศรษฐกิจไทยควรต้องมีการปรับโครงสร้างไปสู่ระดับสูงขึ้น คือ ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรม การสร้างคนรุ่นใหม่จึงไม่ใช่การสร้างคนเพื่อมาเป็นเจ้าคนนายคน หรือเพื่อให้ทำงานสบายๆ อีกต่อไป ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้ให้รายละเอียดถึง “คนไทย 4.0” ไว้ว่า คนไทยจะต้องเปลี่ยนตัวเองใน 4 มิติ ได้แก่ 1.เปลี่ยนจากคนไทยที่มีความรู้ความสามารถจำกัด เป็นคนไทยที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน 2.เปลี่ยนจากคนไทยที่เน้นประโยชน์ส่วนตน เป็นคนไทยที่รับผิดชอบต่อสังคม 3.เปลี่ยนจาก Thai-Thai เป็น Global-Thai เป็นคนไทยที่มีศักดิ์ศรีในเวทีสากล 4.เปลี่ยนจาก Analog Thai เป็น Digital Thai เพื่อสอดรับการเข้าสู่ Digital Age และ “คนไทย 4.0” จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการเรียนรู้ 4 เรื่องสำคัญ คือ 1.การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมแรงดลใจ ให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย 2.การเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ 3.การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 4.การเรียนรู้เพื่อมุ่งสร้างการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ การหางานสบายทำจึงเป็นเรื่องยากมาก ถ้าไม่ได้เป็นทายาทหรือเป็นเจ้าของบริษัทก็ต้องมองหาสิ่งที่ตัวเองรักและชื่นชอบทำ เพื่อให้มีความสุขในการประกอบอาชีพและอยู่ได้ในยุคประเทศไทย 4.0.
โดย จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |