17ธ.ค.62- เพจเฟซบุ๊ค "Nana Wipaphan Wongsawang" ของ น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง หรือนานา อดีตผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความระบุว่า
[Participatory Politics - การเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม]
ในความหมายหลักๆ หมายถึงการมีส่วนร่วม "ตัดสินใจ" ในเรื่องต่างๆ ซึ่งหมายถึงการสละ "แรง/เวลา" มาทำกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งโดยธรรมชาติ การก่อรูปนั้นต้องเกิดจาก "ล่างขึ้นบน"
[มีส่วนร่วมจากอาสาสมัคร/มีส่วนร่วมจากเครือข่ายลูกจ้างพรรค]
ถ้าอยากรู้ว่า ทำม็อบ ทำกิจกรรม แล้วคนจะมาหรือไม่ ให้ไปดูว่าโครงสร้างกิจกรรมอาสาสมัครของกลุ่มการเมืองนั้นๆ มีประสิทธิภาพเรื่องชวนคนมาทำงานอาสาขนาดไหน ทำแล้วมีคนหมุนเวียนเข้ามามากขึ้น คนที่เคยมาประทับใจอยากชวนเพื่อนมาเพิ่มหรือไม่ (กระบวนการอาสาสมัครเป็นขั้นตอน 101 ของพรรค Labour ถ้าบุคลากรของพรรคทำให้เกิดงานอาสาไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปทำอย่างอื่น)
.
หากในที่สุด พึ่งพาระบบอาสาสมัครไม่ได้ กิจกรรมใดๆ ต้องดำเนินการโดยลูกจ้างพรรคเท่านั้น ก็จะเป็นโมเดลพรรคการเมืองแบบบริษัทจำกัด แต่ก็เป็นโมเดลที่คนไทยคุ้นชินเพราะพรรคไหนๆ ก็เป็นแบบนี้ แต่ก็มีความแตกต่างระหว่างพรรคจำกัดที่ทำได้จริง กับพรรคดีแต่พูด
.
ข้อพึงระวัง - หากโมเดลอาสาประสบความสำเร็จ บทบาทของลูกจ้างพรรคที่ไม่มีประโยชน์ก็จะลดน้อยลง นำมาซึ่งการสูญเสียผลประโยชน์/รายได้ ของนายหน้า/เครือข่าย/ระบบจัดตั้ง ซึ่งหมายความว่า ฝ่ายที่รับเงินไปเกณฑ์คน ก็จะไม่แฮปปี้กับความสำเร็จของงานอาสาสมัคร และในขณะเดียวกัน ไม่มีอาสาสมัครคนไหนแฮปปี้หากรู้ทีหลังว่า ในขณะที่ตัวเองมาลงแรงฟรี มีคนอีกกลุ่มที่ได้สิทธิประโยชน์หรืองบประมาณในการทำสิ่งเดียวกัน
.
Aftermath คือ ฝ่ายที่มาฟรี ย่อมเลือกที่จะเดินออกไปมากกว่าอยู่สู้กับลูกจ้างพรรคที่อยากหากินกับพรรคนานๆ
.
ไม่ได้ว่าการมีลูกจ้างพรรคหรือหรือไม่ดี แต่ต้องมีประสิทธิภาพ และต้องตรวจสอบประสิทธิภาพได้ เพราะสุดท้ายแล้ว ยังไงพรรคก็ต้องมีคนทำงานประจำ เพียงแต่ผู้บริหารก็บริหารดีๆ อย่าไปทำให้งานมันทับซ้อนจนระบบอาสาสมัครไม่โต ส่วนคนที่ได้ตังค์ไปทำงานก็ไม่ควรกลัวว่าอาสาสมัครจะมาแทน เพราะถ้าสู้อาสาสมัครไม่ได้ ก็ควรพิจารณาว่าตัวเองยังจำเป็นอยู่มั้ย
.
[เสียงสะท้อนนับเป็นการมีส่วนร่วมมั้ย]
การมีส่วนร่วมทางความคิดเห็น การเป็นกองเชียร์ ส่งเสียงสนับสนุน นับเป็นการมีส่วนร่วมหรือไม่? นับได้ในแง่ Reactive Feedback คือดูว่าสิ่งที่ทำไปแล้วมีคนคิดเห็นอย่างไร จะนำมาสู่ความนิยมในสมัยหน้าอย่างไร
.
แต่ไม่มีพรรคการเมืองไหนนับความนิยมเป็นความสำเร็จในตัวเอง
.
คือการมีคนเชียร์ไม่ได้แปลว่าคนจะเลือก คนเลือกไม่ได้แปลว่าจะร่วมบริจาค คนบริจาคไม่ได้แปลว่าจะลงแรง คนลงแรงไม่ได้แปลว่าจะพร้อมเสี่ยง ดังนั้นความสำเร็จของ "ฝ่ายสื่อ" ไม่ใช่ "ความสำเร็จของทั้งพรรค" แต่หมายถึงความสำเร็จด้านการสื่อสารสาธารณะไปยังกลุ่มเป้าหมายที่พร้อมจะเอาด้วย เท่านั้น
.
เรื่องพวกนี้ เอาจริงมีระบบติดตามและถามความเห็น ในไทยก็มีคนพยายามจะทำแต่โดนระบบเครือข่าย/หัวคะแนน บล็อกหมด เพราะถ้ามันอ่านง่ายๆ อ่านเป็นระบบ ตัวเองจะไม่มีบทบาทในพรรค
.
อีกอย่างช่วงนี้มันเป็นช่วงพิเศษกว่าปกติ เพราะประชาชนถูกริดรอนสิทธิมานานจนการทำเรื่องดาษๆ กลายเป็นเรื่องแปลกประหลาด สามารถหลอกตัวเองได้ง่ายว่าสำเร็จแล้ว ทั้งที่จริงๆ มันอาจจะไม่ได้สำเร็จขนาดนั้น
.
การอ่าน(ประสิทธิ)ภาพจากกระแส จึงควรจะอ่านอย่างระมัดระวังและควรอ่านอย่างเป็นจริง
.
[แฟลชม็อบเกิดได้เพราะอะไร?]
ไม่ว่าจะเป็นม็อบสั้น หรือม็อบยาว ตัวชี้วัดง่ายๆ ว่าจะปังหรือแป๊ก ให้ดูจากประสิทธิภาพของการจัดการอาสาสมัครในอดีตที่ผ่านมา ถ้าทำได้ดี ทำเป็น ย่อมชวนคนมาได้ แต่ถ้าทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ก็ต้องพึ่งเครือข่ายลูกจ้างพรรคไปตลอด
สรุป : นายทุนพรรค ไม่ว่าจะลงทุน หลักล้าน หลักแสน หลักหมื่น หลักพัน หลักร้อย ควรพึงระลึกไว้ว่าลูกจ้างพรรคอยากหากินกับคุณนานๆ ดังนั้นจงระวัง bias feedback จากคนในเอาไว้มากๆ - ความสำเร็จของเครือข่ายลูกจ้างพรรค ไม่นับว่าเป็นความสำเร็จในงานมวลชล - การมีส่วนร่วม จึงหมายถึง ผู้ถือหุ้นทุกคน ร่วมตรวจสอบประสิทธิภาพของพรรคการเมืองอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้มีคนกลุ่มไหนหากินกับพรรคโดยไม่เกิดประโยน์ไปวันๆ
พูดเผื่อมี v.2 จะได้ไม่ซ้ำรอยเดิม.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |