(แบบอย่างของผู้สูงอายุในแง่ของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย อย่างการเข้าวัดทำบุญตามประเพณีสำคัญๆ เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่ไม่ลืมพระพุทธศาสนา)
ในฐานะคนรุ่นใหญ่ที่ผ่านประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการวางตัว และกิริยามารยาท หรือแม้แต่การแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้สูงวัย ซึ่งควรค่าแก่การถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นลูกหลาน เพราะอย่าลืมว่าต่อให้ยุคสมัยผ่านไปเท่าไร ความทันสมัยและเทคโนโลยีย่อมส่งผลกระทบต่อขนบประเพณีไทยของเด็กรุ่นใหม่ไม่มากก็น้อย
สุภาษิตโบราณบ้านเราก็มีไว้เตือนใจอย่างคำกล่าวที่ว่า “เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด” น่าจะเป็นสิ่งที่ตอกย้ำ วัฒนธรรมไทยดีๆ จากผู้ใหญ่ ที่ลูกหลานสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิต ท่ามกลางความทันสมัยและความสะดวกรวดเร็ว รอไม่ได้ของเด็กยุคนี้
(จิดาภา กรุงไกรจักร์)
พี่จิดาภา กรุงไกรจักร์ ประธานชมรมกุลสตรีไทย บอกว่า “ในมุมของพี่มองว่าความงามของผู้ใหญ่นั้น คือการสูงวัยในลักษณะของการเป็นที่เคารพของเด็กๆ ที่ได้พบเห็น หรือแม้แต่กิริยา วาจาที่เหมาะสมของคุณตาคุณยาย การมีสติคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก็สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกหลานได้เช่นกัน รวมไปถึงการแต่งกายอย่าง “การนุ่งผ้าไทยในชีวิตประจำวัน” เช่น ใส่ผ้าไทยไปเดินห้างกับลูกหลาน ซึ่งการแต่งตัวดังกล่าวเป็นการย้อนยุคแฟชั่นสมัยปู่ย่าตายายยังสาว อีกทั้งช่วยอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่
(คนรุ่นใหญ่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนรุ่นลูกหลานด้วยความงามแบบไทยอย่าง การนุ่งผ้าไทย เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการนุ่งห่มในอดีต)
ที่สำคัญผ้าไทยในปัจจุบันได้รับการดีไซน์ให้เป็นชุดที่สามารถใส่ได้ง่าย และมีราคาไม่แพงมาก เช่น กระโปรงลายผ้าถุง หรือกระโปรงลายผ้าขาวม้า ที่ตัวประมาณหลัก 100 บาท ที่เด็กวัยรุ่นและคนสูงวัยสามารถซื้อมาใส่ได้ หรือแอคเซสเซอรีอย่างกระเป๋าที่ดีไซน์จากผ้าไทย เมื่อนำมามิกซ์แอนด์แมตช์กับเสื้อผ้าแฟชั่นสมัยใหม่ ก็ช่วยเสริมลุคให้กับเด็กๆ ได้เช่นเดียวกัน หรือหากผู้สูงอายุคนไหนที่เลือกใส่ผ้าถุงผ้าฝ้ายอยู่บ้าน ก็จะสร้างภาพที่ชินตาในการใช้ผ้าไทยให้กับลูกหลานได้ดู โดยที่เด็กยุคใหม่ไม่รู้สึกเขินหากว่าวันว่างจะเลือกแต่งกายด้วยผ้าไทยเหมือนคุณย่าคุณยาย ที่ลืมไม่ได้นอกจากการแต่งกายด้วยผ้าไทยแล้ว การเลือกสีสันเพื่อให้เหมาะกับบุคลิกของผู้ใหญ่อย่าง “การเลือกโทนสีเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับวัย” ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้าโทนสีน้ำตาล สีครีม สีน้ำเงิน สีเทา หรือสีดำ ที่ปัจจุบันเป็นสีคลาสสิก ใส่ได้ทุกเทศกาลและขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ซึ่งสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้จะช่วยปลูกฝังลูกหลานเรื่องการแต่งกายให้เหมาะกับกาลเทศะกับคนรุ่นใหม่
(ย่ายายสอนลูกหลานทำอาหาร แบบอย่างของการต่อ ยอดเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเอง)
นอกจากนี้ คนสูงวัยยังสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกหลานด้วยการ “ทำอาหารไทย” ที่สะท้อนวัฒนธรรมด้านการกินอยู่ ซึ่งบางครั้งคำว่าอาหารไทยนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเมนูที่ปรุงยาก แต่อาหารที่ทำง่ายกินอย่างอย่าง “ข้าวไข่เจียว” เป็นเมนูเด็กเล็กอายุ 7-8 ขวบ สามารถทำขายเลี้ยงชีพได้ ซึ่งนั่นทำให้เด็กยุคใหม่สามารถเอาตัวรอดได้โดยการเลี้ยงดูตัวเอง พี่มีประสบการณ์เพราะเคยเห็นเด็กบางคนพ่อแม่แยกทางกัน เด็กอายุยังไม่ถึง 10 ขวบ แต่สามารถเลี้ยงดูตัวเองด้วยการขายข้าวไข่เจียว สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ ปู่ย่าตายายควรปลูกฝังเรื่องการทำอาหารเข้าครัวให้กับลูกหลาน เพราะถ้าเด็กสามารถทำรับประทานเองได้ ในอนาคตเขาก็จะสามารถเลี้ยงชีพได้เมื่อตอนโตค่ะ ที่สำคัญเป็นอาหารที่ไม่เพียงทำง่าย แต่สะดวกและราคาไม่แพงค่ะ”
ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแบบพิมพ์ที่คนวัยเก๋า เป็นตัวอย่างให้กับลูกหลาน ซึ่งถือเป็นความงามในแบบฉบับคนรุ่นใหญ่ ที่นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการมีสติคิดรอบรอบในการทำสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ที่คนสูงวัยสั่งสมมา ตลอดจนความใจเย็น ความรักสงบ และมีจิตใจโอบอ้อมอารี และความรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงไทยยุคก่อน ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้น คนรุ่นใหม่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ท่ามกลางยุคโซเชียลชนิดที่ไม่ต้องรอให้เสียเวลา เพราะเด็กยุคใหม่นั้นไม่ชอบรอ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |