พลังงานไฟฟ้านอกจากเป็นสิ่งจำเป็นอันดับต้นๆ ของการดำรงชีวิตแล้ว ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ซึ่ง สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะที่กำกับดูแลด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นพลังงานถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดภาระค่าครองชีพ และช่วยสร้างรายได้ในระดับชุมชนปี 2563 จะเร่งการขับเคลื่อนนโยบาย "Energy For All พลังงานเพื่อทุกคน" ลงไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ
รวมถึงเตรียมที่จะดึงไฟฟ้าสำรองที่เหลือเกินความต้องการใช้ราว 30% มาลดค่าไฟให้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องนำมาลดค่าบัตรโดยสารให้กับผู้บริการ
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากโดยจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณา 16 ธันวาคมนี้ และคาดว่าปี 2563 เฟสแรกเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งในเบื้องต้นนั้นมีกระแสข่าวว่าจะอยู่ที่ 500 เมกะวัตต์แรกก่อน จะทำให้มีเงินลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าราว 7-8 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมาย 1,000 เมกะวัตต์ ใน 3 ปี
ส่วนรูปแบบจะมีหลายรูปแบบ อาทิ พลังงานจากแสงอาทิตย์ ชีวมวล ขยะ และเชื้อเพลิงฟอสซิลมาบริหารจัดการ ซึ่งกำหนดให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมขายไฟเข้าระบบได้ (On Grid) และมีการรับซื้อเชื้อเพลิงจากภาคเกษตรที่เป็นระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม งานนี้บิ๊กพลังงานอย่าง "สนธิรัตน์" ตั้งความหวังว่า การเกิดสถานีพลังงานชุมชนในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ โดยใช้โมเดลการพัฒนาชุมชนของ จ.กาญจนบุรี เป็นแนวทางในการทำสถานีพลังงานชุมชนแบบครบวงจรที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ ชีวมวล ขยะ และเชื้อเพลิงฟอสซิล มาบริหารจัดการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดรายจ่ายด้านพลังงานและสร้างรายได้ต่ออาชีพของชุมชน โดยจะพิจารณานำเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุน
นอกจากนี้ ยังจะช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไก 3 มิติ คือ
ช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อยกระดับราคาปาล์ม ด้วยการนำมาเป็นพลังงานชีวภาพ (ไบโอดีเซล เอทานอล) ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดให้ดีเซลบี 10 เป็นน้ำมัน พื้นฐาน เริ่ม 1 มกราคม 2563 และในอนาคตจะนำวิธีดังกล่าวไปใช้กับพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อยและมันสำปะหลัง
ส่งเสริมการปลูก เพื่อนำมาเป็นพลังงานโดยเฉพาะเช่น ไผ่ หญ้าเนเปียร์
และ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้านพลังงาน เช่น ซังข้าวโพด
อย่างไรก็ตาม แนวนโยบายของ รมว.พลังงานนั้น หากเกิดขึ้นได้จริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ข่าวลือที่กระฉ่อนอยู่ขณะนี้ ว่าการผลักดันเรื่องโรงไฟฟ้าชุนชนนั้นมันจะดีจริงหรือ และจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงหรือไม่ และที่สำคัญจะช่วยเหลือประชาชนได้จริงหรือไม่ จะเหมือนกับในยุคหนึ่งที่ราคาน้ำมันแพงลิ่ว หน่วยงานภาครัฐในกระทรวงพลังงานที่เกี่ยวข้อง หลายๆ หน่วยงานต่างแห่กันออกมาส่งเสริมให้ชาวบ้าน ชุมชนปลูกพืชพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นสบู่ดำ ปาล์น้ำมัน ทานตะวัน หญ้าเนเปียร์ ก๊าซชีวภาพ รวมถึงส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซล และอีกหลายๆ อย่าง
สุดท้ายก็เละเป็นโจ๊ก เพราะรัฐบาลเปลี่ยน คนเปลี่ยน นโยบายเปลี่ยน คนที่ลงทุนไปแล้วก็ต้องยอมรับชะตากรรมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาและภาระของตัวเองต่อไป ยังไม่รวมไฟฟ้าชุนชนที่มีหน่วยงานรัฐไปส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับชุมชนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ก็ส่งเสริมได้ระยะหนึ่งก็ทิ้งขว้าง ไม่แยแส ว่าในโรงไฟฟ้านั้นๆ ที่ไปส่งเสริมให้นั้นจะอยู่ดีหรือไม่ จะเสียไหม ถ้าเสียแล้วจะซ่อมอย่างไร ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายๆ ที ที่โรงไฟฟ้าเหล่านั้นกลายเป็นซากขยะ
ดังนั้น หากรัฐบาลจะมุ่งส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องดีให้ถึงที่สุด ต่อยอดได้อย่างถาวรอย่าสักแค่ให้โครงการมันผ่านๆ ไปเพื่อพวกพ้อง เพื่อผลงานเอาหน้า
สงสารชาวบ้านเขาเถอะพ่อคุณ...
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |