12 ธ.ค.62 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ “ไอติม” อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลานชายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นการ “ฉลอง” วันเกิดที่เหนื่อยมาก แต่ทำให้ผมมีความหวังขึ้นกับอนาคตบ้านเมืองเรา ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ผมและทีมรัฐธรรมนูญก้าวหน้า จัดงาน CONLab ที่เปิดให้ประชาชนกว่า มี 50 คน ร่วมกันร่าง Prototype (แบบจำลอง) รัฐธรรมนูญไทยฉบับประชาชน ทั้งหมด 10 ร่าง ภายในเวลาเพียง 10 ชั่วโมง
แรงบันดาลใจในการจัดงานนี้ มาจากการที่เราหลายคนเห็นตรงกันว่าเราอยากได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่เรายังไม่เคยเห็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ลองร่างรัฐธรรมนูญกันจริงๆสักที ว่าสิ่งที่เขาอยากเห็นในรัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง อยากแก้หรือไม่อยากแก้ส่วนไหน และประเทศที่เขาออกแบบจะหน้าตาแตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร เพื่อให้เรื่องรัฐธรรมนูญที่ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยากและน่าเบื่อ ถูกนำเสนอให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย สนุก และทุกคนมีส่วนร่วมได้ เราได้ออกแบบกิจกรรมเป็นลักษณะ “เกม” (คล้ายๆกับการจัด Hackathon ในแวดวง tech) ที่แบ่งผู้เข้าร่วมเป็นทีม โดยแต่ละทีมจะต้องพิชิตแต่ละด่านด้วยการร่างคำตอบเกี่ยวกับประเด็นต่างๆในรัฐธรรมนูญ (เช่น ประชาชนควรมีสิทธิเสรีภาพอะไรบ้าง ประเทศควรมีสภาคู่หรือสภาเดี่ยว เราควรใช้ระบบเลือกตั้งอะไร ใครควรแต่งตั้งศาลและองค์กรอิสระ)
3 สิ่งที่ประทับใจที่สุดในงาน 1. “พลังของผู้เข้าร่วม” กว่า 50 คนที่ตัดสินใจตื่นตั้งแต่เช้าในช่วงวันหยุดเพื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งวันโดยไม่แรงตก ผมแปลกใจ แต่ก็แอบดีใจส่วนมากเป็นคนรุ่นใหม่ (หลายคนยังเรียนอยู่มัธยม - อายุน้อยสุดคือน้องปั้นที่เรียนอยู่ ม.4!) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนยุคนี้ โดยผู้เข้าร่วมก็มีทั้งคนที่คุ้นเคยดีกับประเด็นต่างๆในรัฐธรรมนูญ (เช่น นักเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตย นักสิทธิสิ่งแวดล้อม) และคนที่ออกตัวว่าไม่รู้เรื่องการเมืองแต่ต้องการออกแบบประเทศให้ดีขึ้น
2.“ความก้าวหน้าของข้อเสนอ” ที่ไปไกลและนอกกรอบกว่าแม้กระทั่งตัวอย่างจากทั่วโลกที่เรามานำเสนอตอนเริ่มกิจกรรมเพื่อให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การยกเลิก ส.ว. การขยายสิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในโลกออนไลน์ การใช้ระบบเลือกตั้ง ส.ส. 2 รอบ การกระจายอำนาจจัดเก็บภาษีให้ท้องถิ่น การมีตำรวจประจำจังหวัด การให้ศาลและองค์กรอิสระถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลและฝ่ายค้านร่วมกัน การใช้ระบบลูกขุนในศาลไทย
3.“วัฒนธรรมประชาธิปไตยของแต่ละทีม” แต่ละทีมประกอบไปด้วยมีสมาชิก 3-4 คน ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและมีความความคิดทางการเมืองที่ต่างกันไป แต่ต้องทำงานร่วมกัน ถกเถียงแลกเปลี่ยนความเห็น เคารพความเห็นต่างของคนอื่นในทีม หาวิธีโน้มน้าวและประนีประนอมในเวลาจำกัด เพื่อหาจุดร่วมและคำตอบในแต่ละข้อที่นับเป็นฉันทามติของทุกคนในทีม
10 ชั่วโมงผ่านไป จนในที่สุดเราก็ได้มาซึ่ง 10 Prototype หรือ ร่างรัฐธรรมนูญ ที่ผมกล้าพูดอย่างเต็มปากว่าเป็น 10 ร่างรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยประชาชนอย่างแท้จริง หลังจากนำ 10 ร่างนี้ไปอวดในรายการ Workpoint Today เสร็จตอน 4 ทุ่ม ผวันเกิดปีนี้ของผมก็ปิดฉากลงที่ร้าน Shabushi ซึ่งเป็นร้านเดียวในละแวกนั้นที่เปิด 24 ชั่วโมง ถือเป็นวันเกิดที่น่าจดจำอีกปี หวังว่าพอถึงวันเกิดปีหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (และอีกหลายๆเรื่อง) จะคืบหน้าไปกว่านี้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |