เดิน-ปิด-เหมืองหินสุวรรณคูหา ชาวบ้านสู้ต่อจนลมหายใจสุดท้าย ชี้นโยบายยุทธศาสตร์แร่ไม่เห็นชีวิตคน


เพิ่มเพื่อน    

9 ธ.ค.62 - เข้าสู่วันที่ 3 ของกลุ่มชาวบ้าน ของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได พร้อมด้วยเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทั่วประเทศ  ร่วมกันทำกิจกรรมเดิน-ปิด-เหมือง:  บอกเล่าปัญหาเหมืองแร่หินปูน”   โดยร่วมกันออกเดินเท้าตั้งแต่วันที่ 7ธ.ค.จากบริเวณหน้าถ้ำศรีธน บ้านโชคชัย ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ซึ่งอยู่ใกล้กับเหมืองหินปูนที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มุ่งหน้าสู่จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อเรียกร้องหยุดต่อใบอนุญาตให้ใช่ป่าสงวนทำเหมือง

นางเปี่ยม สุวรรณสนธิ์  ชาวบ้านโชคชัย ต.ดงมะไฟ  กล่าวว่า ชุมชนรอบเหมืองแร่ได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้เพื่อปกป้อง ภูผายา จากการทำเหมืองหินปูน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 บริเวณภูผายา และภูผาฮวกในเวลาต่อมา ที่ผ่านมาชุมชนต่อสู้คัดค้านการทำเหมืองหินมาตลอด โดยการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติเรื่อยมาจนได้รับธงพระราชทาน ธงพิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต”ตามโครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)  เมื่อปี พ.ศ. 2558  มาเป็นเครื่องยืนยัน  ขณะที่ชุมชนร่วมกันรักษาป่าและคัดค้านการทำเหมืองแร่ที่ป่าต้นน้ำมายาวนานตลอด 25 ปี 

นางเปี่ยม ระบุว่า  นับเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยอุปสรรค มีความสูญเสียเพื่อร่วมอุดมการณ์การต่อสู้มากถึง 4 คนที่ถูกยิงเสียชีวิตแต่ปัจจุบันยังไม่สามารถจับผู้ร้ายได้  และไม่เคยได้รับความเป็นธรรม  เราทุกคนได้สูญเสียเพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์ สูญเสียพี่น้องที่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ สูญเสียคนในครอบครัว สูญเสียคู่ชีวิต นอกนี้ยังมีป่าเขาต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากิน  เสี่ยงจากรถขนหินจากเหมือง ดังนั้นสิ่งที่สูญเสียไปนี้ต้องไม่สูญเปล่า 

วันนี้เราจะเปลี่ยนมันเป็นพลังเดินไปข้างหน้า  เราได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และชนะคดีในศาลปกครองชั้นต้นที่พิพากษาให้เพิกถอนการต่ออายุประทานบัตรการทำเหมืองหินปูน และเพิกถอนการต่ออายุใบอนุญาตการใช้ป่าสำหรับการทำเหมืองหินเพราะพื้นที่ทำเหมืองดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอยและป่านากลาง ปัจจุบันฝั่งเจ้าของเหมืองหินได้ยื่นอุธรณ์ต่อศาลปกครองจังหวัดอุดรธานี และยังดำเนินการระเบิดภูผาฮวกทันทีหลังยื่นอุทธรณ์ ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้ยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวและอยู่ระหว่างการรอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว 

โดยกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได เพื่อคัดค้านการต่ออายุการอนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนฯ สำหรับการทำเหมืองหินปูนในพื้นที่กว่า 175 ไร่ ที่กำลังจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน  2563 การเดินครั้งนี้จึงต้องการจะบอกไปยังเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพราะที่ผ่านมาชุมชนรักษาป่าแต่เต้าหน้าที่ป่าไม้อนุญาตให้มีการใช้ป่าเพื่อการทำเหมืองหินปูน โดยปิดหู ปิดตา ไม่รับรู้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากาการทำเหมืองหินปูนและความขัดแย้งรุนแรงในพื้นที่ กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได ขอเดินเพื่อประกาศว่าชุมชนเราไม่เอาเหมืองหิน พวกเราไม่อยากได้โรงโม่หิน และยืนยันว่าจะต่อสู้ให้ปิดเหมืองหินที่ทำร้ายพวกเรามานานกว่า 25 ปีให้จงได้

 

ขณะที่นายเลิศศักดิ คำคงศักดิ์  ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่  กล่าวว่า เป้าหมายของชาวบ้านคือการปิดเหมือง เพื่อให้ธรรมชาติกลับคืนมา ซึ่งพวกเขาดูแลภูเขาลูกนี้ไม่ใช่เป็นแค่หินก่อสร้าง ซึ่งที่ผ่านมาการระเบิดหิน อุตสาหกรรมหินมาพร้อมกับความรุนแรง การไม่มีส่วนร่วม  หินถูกมองเป็นเป็นวัถตุดิบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การระเบิดหินไม่มีการควบคุม ไม่มีกฎหมายเคร่งครัด ไม่มีการควบคุมประเมินผลสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านต้องต่อสู้กับนายทุนท้องถิ่น กิจกรรมก่อสร้างเหมืองหิน มีการถูกคุกคาม ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ฆ่ากันตาย ผู้นำชาวบ้าน แกนนำที่ออกมาต่อสู้คัดค้าน แต่หลังจากมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี 2535 การทำเหมืองหินก็ต้องมีการปรับตัวต้องเข้าไปในระบบกฎหมายแร่ มีการขอสำรวจ ประทานบัตร มีขั้นตอนมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่นายทุนกับจังหวัดเซ็นอนุมัติกันเองอีกต่อไป 

นายเลิศศักดิ์ ระบุว่า ปัญหาใหญ่ของการประกาศแหล่งหิน ซึ่งมีข้อกังขาในกฎหมายหมายแร่ปี 2510 นั้นคือ  ไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายแร่2510 เปิดโอกาสให้ทำแหล่งหินได้ แล้วใช้กฎหมายไหนในการประกาศแหล่งหินเหล่านั้น ซึ่งการประกาศแหล่งหินเหล่านั้นสร้างปัญหามาก เพราะกระบวนการอนุมัติ สัมปทานมีสองขั้นตอน  หนึ่งในการการขออาชญาบัตร หรือการสำรวจแร่ เมื่อพบความคุ้มค่าในการลงทุน ก็ให้ไปขอสัมปทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ แต่ปัญหาคือ ตัดเรื่องกระบวนการขอสำรวจแร่ออก ถ้าแหล่งหินไหนถูกประกาศ นักลงทุน นายทุน ไม่ต้องมาสำรวจแร่แต่ไปขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ได้เลย เป็นการตัดทอนสาระสำคัญตามกฎหมายแร่ตามเจตนารมย์ของกฎหมายแร่ที่พยามกลั่นกลองว่ากระบวนการขอสัมปทานต้องมีสองระดับนั้นคือ สัมปทานขอสำรวจแร่ก่อน แล้วค่อยไปสัมปทานทำเหมืองแร่ นี้คือความมักง่าย เมื่อเห็นด้วยตาว่าเป็นหินไม่ต้องไปสำรวจอะไรมาก จะไปเสียเวลาสำรวจทำไม ก็ไปขอประทานบัตรเลย สามารถคำนวนได้เลยว่ามีกี่ตัน แต่กระบวนการการการสำรวจแร่ มันต้องการกลั่นกรอง ก่อนไปทำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ ว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะสมหรือไม่ นอกจากดูความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ เชิงนิเวศ และวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่  

นายเลิศศักดิ์ ระบุว่า การได้ลงไปสำรวจ ไม่ใช่นั่งจิ้มเอาจากแผนที่ อาจมองเห็น วิถีชีวิตคน สายตาของชาวบ้าน ชาวนา ที่เขาต้องใช้แหล่งน้ำซับซึมซึ่งมีต้นธารมาจากภูเขา มองเห็นพันธุ์พืช เห็นแหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุที่มีคุณค่า ซึ่งมันต้องไปสำรวจจะได้หยุดประทานบัตรแต่พอตัดขั้นตอนนี้ออกไปขอประทานบัตร โดยมองว่าหินที่เห็นด้วยสายตาสามารถระเบิดได้หมดโดยไม่สนใจคุณค่าทางอื่นเลย   ซึ่งนี้คือปัญหาของการประกาศการใช้แหล่งหินตอนกฎหมายแร่ปี 2510 

ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่   ระบุด้วยว่า เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการใช้ กฎหมายแร่ 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อ 29 ส.ค.2560 กฎหมายแร่ฉบับใหม่ระบุไว้ในมาตรา 187, 188 189 บรรดาคำขอใบอนุญาต  คำขอประทานบัตร  อาชญาบัตร ที่ขอไว้ก่อน มีกฎหมายแร่ 60 มีผลบังคับใช้ ให้ถือว่า ให้ได้รับเป็นการขออนุญาตตามกฎหมายแร่ฉบับใหม่ไปเลย แต่ต้องปฎิบัตตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายใหม่กำหนด นั้นคือ มีหลักเกณฑ์ สำคัญ2 ประเด็น  คือ 1.  จะทำเหมืองได้ต้องทำในเขตแหล่งเพื่อการทำเหมืองเท่านั้น 2. เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองจะต้องไม่เป็นพื้นที่อ่อนไหว เรื่องต่างๆ ความเป็นต้นน้ำ อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ความมั่นคง แหล่งโบราณ พิพิธภันฑ์ และ ไม่เป็นพื้นที่ป่าน้ำซับซึม จะไม่สามารถแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองได้ต้องเว้นออก

" แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ให้ไปทำ ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทในการบริหารจัดการแร่ล้อตามยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี  กลับไปเขียนว่า พื้นที่อ่อนไหวต่างๆ ที่ถูกยกมาตามกฎหมายแร่ พ.ศ.2510 ทั้งหมดไม่ต้องไปเสียเวลาในการศึกษาใหม่ว่าอยู่เขตแหล่งแร่เพื่อทำการเหมืองหรืออยู่ในเขตยกเว้นไม่ให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองหรือไม่ แต่ขอให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองให้หมด ให้ถือว่าแหล่งหินที่ประกาศเอาไว้ก่อนกฎหมายแร่ปี 60ให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองทั้งหมด ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร การที่คุณไปจิ้มๆเอานั้น ไม่เห็นชีวิตคน ที่ไปกาไว้ภูเขา ทั่วประเทศ 8พันล้านกว่าตัน ทำปริมาณสำรองไว้มากขนาดนั้น ให้ถือเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองทั้งหมด ปัญหาจึงตกอยู่ที่ชาวบ้านที่กำลังเดินปิดเหมืองอยู่ตอนนี้  และอีกหลายพื้นที่ เพราะเขาเห็นว่า แหล่งหินของเขา พบตาน้ำ พบแหล่งน้ำซับซึม แหล่งโบราณคดี  ฉะนั้นประกาศแหล่งหินเหล่านั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายขัดด้วยกฎหมายแร่ใช่หรือไม่"  นายเลิศศักดิ์ ระบุ 

ทั้งนี้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 มาตรา 17 วรรค 4 บัญญัติไว้ว่า "พื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองต้องไม่ใช่พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองป่า เขตโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพื้นที่ที่มีกฎหมายเข้าใช้ประโยชน์โดยเด็ดขาด พื้นที่เขตปลอดภัยและความมั่นคงแห่งชาติ หรือพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม".

โดยก่อนหน้า กลุ่มชาวบ้าน่ได้ร้องเรียนไปยังผู้ว่าฯ หนองบัวลำภู ให้ มีหนังสือต่ออธิบดีกรมศิลปากร เพื่อให้มีการดำเนินการขึ้นทะเบียนกลุ่มถ้ำน้ำลอด-ถ้ำศรีธน เป็นแหล่งโบราณคดีตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 ทั้งนี้ ทางกรมศิลปากรได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วพบว่ามีหลักฐานสำคัญทางโบราณคดี ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"