ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาเผยอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคมทั่วโลก เริ่มหันมาใช้ฟินเทคเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง แต่พบส่วนใหญ่ประสบปัญหาแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี ขณะเดียวกันยังขาดความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับอีกด้วย โดยมีผลสำรวจที่น่าสนใจจาก PWC ระบุว่า หากจับมือและเป็นพันธมิตรกันจะเป็นทางออกที่ดีในการปิดช่องว่างด้านแรงงาน และนำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาเสริมให้กับธุรกิจ โดยยังแนะนำให้ผู้ประกอบการไทยลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลควบคู่ไปกับการพัฒนาฟินเทค เพื่อป้องกันความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าอีกด้วย
สำหรับรายละเอียดของรายงานจาก “2019 Global Fintech Report” ของ PwC โดย บุญเลิศ กมลชนกกุล หัวหน้าสายงาน Clients and Markets และหุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี ด้านธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวมาจากผู้บริหารในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคมมากกว่า 500 คนทั่วโลก เพื่อหาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จและความท้าทายในการพัฒนาและสร้างผลกำไรจากการประยุกต์ใช้โมเดลทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยฟินเทค
โดยมีข้อมูลว่าผู้บริโภคมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล โดยโจทย์ใหญ่วันนี้ไม่ได้อยู่ที่ฟินเทคว่าจะเข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมบริการทางการเงินหรือไม่อีกต่อไป แต่บริษัทใดจะสามารถนำฟินเทคมาประยุกต์ใช้ได้ดีที่สุดและขึ้นเป็นผู้นำตลาดได้มากกว่า ซึ่งในส่วนของการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ที่มีฟินเทคเป็นศูนย์กลางมีความสำคัญยิ่ง เพราะพบว่า 47% ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีฯ และ 48% ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงินมีการนำฟินเทคมาใช้ในรูปแบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ 44% และ 37% ของบริษัทใน 2 อุตสาหกรรมนี้ยังได้นำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการ
พร้อมกันนี้ อุตสาหกรรมบริการทางการเงินควรมองหาไอเดียจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีถึงการใช้ฟินเทคที่ดีที่สุดผู้บริหารในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงินที่ถูกสำรวจคิดว่า การประยุกต์ใช้ฟินเทคเพื่อปรับปรุงบริการให้เกิดความง่ายและรวดเร็วในการใช้งานจะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาฐานลูกค้า โดยบริษัทที่มุ่งเน้นในการนำฟินเทคมาตอบโจทย์ความต้องการนี้ อาจตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้ แต่ไม่ได้สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องแข่งขันกับบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคมที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลอย่างเฉียบคม
ส่วนอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีฯ ควรปิดช่องว่างทักษะด้วยการฝึกอบรมพนักงานและมองหาแรงงานจากกันและกัน โดยพบว่า 80% ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และ 75% ของอุตสาหกรรมบริการทางการเงินกำลังสร้างตำแหน่งงานใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฟินเทค แต่ 42% ของทั้ง 2 อุตสาหกรรมกำลังประสบปัญหาในการหาแรงงานที่มีทักษะเหล่านี้ ในขณะที่ 73% ของอุตสาหกรรมบริการทางการเงินมีการจ้างบุคลากรจากกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีเพียง 52% ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเท่านั้นที่มีการจ้างทาเลนต์จากอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน
ดูเหมือนว่าในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ควรหันมาเป็นพันธมิตรกันมากขึ้นในอนาคต ท่ามกลางกระแสของการควบรวมกิจการ การหาพันธมิตร หรือการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตผ่านฟินเทคขององค์กรต่างๆ ผลสำรวจพบว่า 78% ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และ 76% ของอุตสาหกรรมบริการทางการเงินมองหาการจับมือกับธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันกับตน
นายบุญเลิศกล่าวทิ้งท้ายว่า ในส่วนของประเทศไทยที่ปัจจุบันกำลังเข้าสู่สังคมไร้เงินสด นี่จึงทำให้กระแสของการประยุกต์ใช้ฟินเทคในกลุ่มผู้ประกอบการไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการการชำระเงินออนไลน์ที่เติบโตอย่างมาก ขณะที่ผู้เล่นหน้าใหม่ในกลุ่มนอนแบงก์เองก็เข้ามาในตลาดจำนวนมากขึ้นเช่นกัน และส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี มองว่าระยะต่อไปทั้ง 2 กลุ่มอุตสาหกรรมจะมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการความเชี่ยวชาญของกันและกันมาเสริม.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |