บุคลากรการบินขาดแคลนหนัก  เร่งปั้นคนด่วนหวั่นแผนฮับการบินสะดุด


เพิ่มเพื่อน    

หวั่นขาดแคลนนักบิน-ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน ส่อปัญหาดันไทยขึ้นฮับการบินในภูมิภาคฯ เร่งปั้นบุคลากรเพิ่ม  ด้าน "APDI" รุกหนัก เปิดหลักสูตรการบินครบวงจรแห่งแรกในไทย หวังช่วยแก้ปัญหา ปูพรมสู่ตลาด AEC


17 มี.ค.2561 นายเสนีย์ สุวรรณดี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า ในปี 2561 ประเทศไทยมีนักบินจำนวนประมาณ 4,000 คน และสามารถผลิตนักบินได้จำนวน 300 คนต่อปี แต่มีความต้องการจำนวน 400-500 คนต่อปี เช่นเดียวกับบุคลากรด้านช่างซ่อมบำรุงในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 9,000 คน ยังต้องการเพิ่มขึ้นอีกจำนวนประมาณ 1,000 คนต่อปี แต่สามารถผลิตได้เพียง 300-400 คนต่อปีเท่านั้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียหายและการเติบโตในอนาคต สอดคล้องกับสถานการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินของโลก


อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของบริษัทแอร์บัสได้คาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั่วโลกจะมีความต้องการเครื่องบินกว่า 4,000 ลำ  และมีความต้องการนักบินจำนวน 5.3 แสนคน และช่างซ่อมบำรุงจำนวน 5.5 แสนคน ในขณะที่บริษัทโบอิ้งระบุว่าทั่วโลกจะมีความต้องการเครื่องบินกว่า 41,000 ลำ และมีความต้องการนักบินจำนวน 6.17 แสนคน ตลอดจนช่างซ่อมบำรุงจำนวน 6.79 แสนคน

 นอกจากนี้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ได้คาดการณ์ไว้ว่า ความต้องการบุคลากรด้านการบิน บุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางอากาศ และช่างอากาศยานในภูมิภาคเอเชียจะมีมากถึง 40,000 คน


นายเสนีย์ กล่าวต่อว่า จากแนวโน้มข้างต้น รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้มีการขยายท่าอากาศยานภายใต้การดูแลของท่าอากาศยานไทย     เพื่อรองรับผู้โดยสารจากเดิม 83.5 ล้านคนต่อปี เป็น 184 ล้านคนต่อปี โดยการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิจากเดิม 45 ล้านคนต่อปีเป็น 60 ล้านคนต่อปี 


นอกจากนี้ยังมีการอนุมัติการขยายสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติหลัก (แห่งที่ 3) ของประเทศไทย ตลอดจนใช้เป็นเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ในขณะเดียวกันสายการบินต่างๆ ทั่วโลกก็มีการขยายตัวเช่นกันโดยมีแนวโน้มจะสั่งซื้ออากาศยานเพิ่มมากขึ้น ทำให้การผลิตบุคลากร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะจะต้องผ่านการฝึกอบรมและได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot Licence หรือ CPL) เพื่อให้สามารถเริ่มทำงานได้ทันที


ทั้งนี้ เพื่อรองรับแผนการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินอย่างมีประสิทธิผล สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หรือ APDI ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและความพร้อมด้านการพัฒนาการบินที่ครบวงจร จึงเดินหน้าเปิดหลักสูตรการบินครบวงจร (One Stop Total Solutions) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย และเสริมทัพความเข้มแข็งด้วยการเปิดหลักสูตรเพิ่ม 2 หลักสูตร คือ นักบิน และช่างซ่อมบำรุง ซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอย่างหนัก  พร้อมปักธงขึ้นแทนเป็น 1 ใน 3 สถาบันการบินคุณภาพของประเทศปูพรมสู่ตลาด AEC
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"