ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง เสียงของประชาชนต่อกระทรวงหลัก กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,127 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-6 ธันวาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงความต้องการนโยบายด้านสังคมของกระทรวงหลัก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ระบุทำบ้านเมืองสงบไม่วุ่นวายของกระทรวงกลาโหม รองลงมาคือร้อยละ 69.4 ระบุเปิดโอกาสให้ความเสมอภาคทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ, ร้อยละ 65.5 ระบุใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมของกระทรวงพลังงาน, ร้อยละ 51.5 ระบุลดการใช้ถุงพลาสติกของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ร้อยละ 50.1 ระบุแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล ของกระทรวงมหาดไทย
ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุรับยาใกล้บ้านของกระทรวงสาธารณสุข, ร้อยละ 47.9 ระบุความปลอดภัยทางถนน ของกระทรวงคมนาคม, ร้อยละ 44.2 ระบุช่วยเหลือประชาชนประสบภัยพิบัติของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย, ร้อยละ 38.5 ระบุอนุรักษ์สัตว์ป่า สัตว์ทะเล พันธุ์พืช ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 36.2 ระบุกัญชาเพื่อรักษาโรคของกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ความต้องการของประชาชนต่อนโยบายแก้ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจของกระทรวงหลัก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.7 ระบุคุมราคาอาหารและสินค้าของกระทรวงพาณิชย์, ร้อยละ 62.5 ระบุขยายฐานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของกระทรวงการคลัง, ร้อยละ 61.4 ระบุลดราคาค่าโดยสารของกระทรวงคมนาคม, ร้อยละ 49.9 ระบุช่วยเรื่องที่ทำกินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ร้อยละ 49.5 ระบุลดราคาน้ำมัน
ในขณะที่ร้อยละ 47.2 ระบุดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทของกระทรวงการคลัง, ร้อยละ 43.6 ระบุประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ร้อยละ 38.0 ระบุรณรงค์คนไทยซื้อสินค้าชุมชนของกระทรวงพาณิชย์, ร้อยละ 38.0 เช่นกันระบุส่งเสริมธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ และร้อยละ 34.3 ระบุส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและย่อมของกระทรวงพาณิชย์
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่าสภาวะที่อากาศของประเทศเย็นลงช่วงนี้ มีผลดีเรื่องอะไรบ้าง ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมร้อยละ 78.7 รองลงมาคือปริมาณผลผลิตผักสด ผลไม้สดมีมาก เช่น คะน้า ผักกาดขาว ผักสลัด กะหล่ำปลี กล้วย มะละกอ เป็นต้น ร้อยละ 38.9, คนอารมณ์ดีขึ้น ร้อยละ 38.7, การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำดี เช่น สุกร กุ้งหอยปูปลา เป็นต้น ร้อยละ 34.6 และธุรกิจลานเบียร์ ธุรกิจอาหารดีขึ้นร้อยละ 31.3 ตามลำดับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดลกล่าวด้วยว่า คณะวิจัยได้ทำการค้นข้อมูลผลสำรวจในอดีตและข้อมูลอื่นประกอบย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา พบข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของประชาชนเป็นปัญหาอันดับต้นๆ เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยรัฐบาล เช่น ความไม่เชื่อมั่นในดัชนีด้านเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน ปัญหาความยากจน และความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในหมู่ประชาชน และข้อมูลที่พบยังชี้ให้เห็นอีกว่าประชาชนในบางพื้นที่หาเสียงอาจจะมีฐานะเศรษฐกิจดีมาก แต่ประชาชนในพื้นที่อื่นโดยรวมทั้งประเทศไม่ได้มีดีตามไปด้วย
ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวต่อว่า ผลโพลวันนี้ชี้ให้เห็นว่ากระทรวงหลักที่สามารถทำงานตอบโจทย์ตรงใจประชาชนและต้องการให้ทำต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ทำบ้านเมืองให้สงบ ไม่วุ่นวาย, กระทรวงศึกษาธิการ เปิดโอกาสให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา, กระทรวงพลังงาน มีพลังงานสะอาดเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก, กระทรวงมหาดไทย แก้ปัญหาค้ามนุษย์ ยาเสพติดและขจัดผู้มีอิทธิพล
“ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์ คุมราคาอาหารและสินค้า และต้องการให้กระทรวงการคลังขยายฐานต่อยอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ออกใหม่เป็น “All New บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ที่คนจากฐานรายได้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ลดภาระค่าครองชีพ เอื้ออำนวยต่อธุรกิจและการมีงานทำและตอบโจทย์ความต้องการด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ลดราคาน้ำมัน บริจาคและลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วงที่อากาศของประเทศเย็นลงทำให้ประชาชนเห็นว่ามีผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและดีต่อผลผลิตทางการเกษตร และควรรณรงค์ให้ประชาชนซื้อสินค้าชุมชน และกระทรวงพาณิชย์ควรส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่จะส่งผลดียั่งยืนกว่าการแจกเงินให้ประชาชนเอาไปใช้เพียงอย่างเดียว” ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |