สสส.จับมือนิตยสารสารคดี เปิดค่าย “นักเล่าความสุข” สร้างสังคมสุขภาวะ ถ่ายทอดความสุขถักทอตัวอักษรพร้อมภาพชีวิตเผยแพร่ในสื่อดิจิทัล พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารเพื่อสุขภาวะ รู้เท่าทันสื่อ ฉลาดรู้ด้านสุขภาพ คัดเลือก 30 ดรีมทีมจาก 160 ทีมทั่วประเทศ คีย์แมน 8 นายจากนิตยสารสารคดีติวเข้มที่ สสส. เรียนนอกห้องผ่านไลน์กลุ่ม Google Classroom ส่งการบ้านทางออนไลน์ เล่าเรื่องความสุขจากประสบการณ์ 3-4 หน้า พร้อมภาพประกอบ 5-10 ภาพ ในช่วงเดือน ธ.ค.2562-เดือน ม.ค.2563 หมดเขต 2ก.พ.2563 ชิง 3 รางวัลใหญ่ สัมผัสความสุข 3 วัน 2 คืน สัมผัสธรรมชาติสัตว์ป่ากับช่างภาพสารคดี เรียนรู้วิถีชีวิต เรียนผ่านชุมชนต้นแบบ ร่วมคอร์สกับผู้ฝึกจิต
พิธีเปิดค่าย “นักเล่าความสุข” ผู้ผ่านการเข้าร่วมแข่งขัน 30 ดรีมทีมจาก 160 ทีมทั่วประเทศ ที่อาคารศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส. นำโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รักษาการ ผอ.สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) เรียนรู้ทักษะนักเล่ามือใหม่ กิจกรรม workshop ห้องเขียน-วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง หรือครูวี นักเขียนรางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง รางวัลชนะเลิศ “ลูกโลกสีเขียว” (ปี 2551) รางวัลชนะเลิศเซเว่นบุ๊กอวอร์ด (ปี 2549, 2554) ผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสารสารคดี ห้องภาพ-สกล เกษมพันธุ์ บรรณาธิการภาพนิตยสารสารคดี ทั้งนี้ สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี บรรณาธิการดีเด่น คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง ประจำปี 2561 นำทีมอบรมอย่างเข้มข้น
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รักษาการ ผอ.สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.สนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารเพื่อสุขภาวะ ค่ายสารคดี โดยร่วมกับนิตยสารสารคดีจัดกิจกรรม “ค่ายนักเล่าความสุข” อย่างต่อเนื่อง เพราะมองเห็นศักยภาพและความสำคัญของการใช้สื่อดิจิทัลออนไลน์ ซึ่งมีนักเล่าความสุขสนใจเข้าร่วมสมัครกว่า 160 ทีม จำนวน 400 คนจากทั่วประเทศ ทีมงานสารคดีคัดเลือกจนได้ 30 ทีมเข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายนักเล่าความสุข”
ความสุขในความหมายที่สอดคล้องกับสุขภาพที่ดี เป็นความสุขที่เกิดจากการกระทำที่สร้างความอิ่มเอิบใจ ความปีติภายใน เพจความสุขประเทศไทยที่สนับสนุนโดย สสส.ได้แนะนำช่องทางความสุขไว้ 8 ช่องทางคือ การสัมผัสธรรมชาติ การเคลื่อนไหวร่างกาย การทำงานศิลปะ ความสุขจากความสัมพันธ์ การศึกษาเรียนรู้ การภาวนา การทำงานจิตอาสา และความสุขในการทำงาน ซึ่งเป็นความสุขที่อยู่ใกล้ตัวและเข้าถึงได้ไม่ยาก ผลงานของทีมนักเล่าความสุขทั้ง 30 ทีมในช่วงเปิดงานนี้ หลายๆ ทีมสื่อสารถึงความสุขของตนเองผ่านช่องทางความสุขทั้ง 8 ช่องทางนี้อยู่แล้ว นับเป็นตัวอย่างของความสุขที่น่าส่งเสริมให้เผยแพร่เป็นอย่างมาก
ด้วย Platform ออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ เป็นเรื่องที่น่ายินดีเมื่อการอบรมครั้งนี้จะได้คนรุ่นใหม่มีจิตวิญญาณความสุข เป็นนักสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง และนำเสนอด้วยภาพถ่ายในการสร้างแรงบันดาลใจ เราอยากเห็นนักสื่อสารรุ่นใหม่รู้เท่าทันปัญหาสังคม
สสส.สนับสนุนในการต่อยอดชิ้นงานเพื่อเผยแพร่ เป็นภารกิจของ สสส.ที่ต้องการให้คนมีสุขภาพดี มีความสุข นักเชื่อมโยงในการเล่าเรื่องทำให้คนเชื่อได้ง่าย ภารกิจนิตยสารสารคดีนำเสนอความจริงที่น่าเชื่อถือ เป็นการทำงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ สสส.วางไว้เพื่อเติมนักสื่อสร้างสรรค์เข้ามาอยู่ในวงการ ขณะนี้สนับสนุนโครงการ Creative Citizen เข้าไปใน 17 มหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อน
สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดีรุ่นที่ 3 (นิตยสารสารคดีปีที่ 35) หรือครูใหญ่แห่งนิตยสารสารคดี กล่าวว่า การเข้าเรียนในห้องเรียนออนไลน์ของค่ายนักเล่าความสุขด้วยระบบไลน์กรุ๊ปและ Google Classroom ดาวน์โหลดแอปลงในโทรศัพท์มือถือในช่วงเดือน ธ.ค. ให้เรียนเขียนและถ่ายภาพ 4 บทเรียน ตอบคำถามท้ายบททุกครั้ง เมื่อเรียนจากคลิปออนไลน์พร้อมปรึกษากับผู้สอนทางออนไลน์ได้ การเล่าเรื่องความสุขจากประสบการณ์ของคุณความยาว 3-4 หน้า A4 Cordia New 14 และภาพประกอบ 5-10 ภาพ (3 MB) ในช่วงเดือน ธ.ค.2562-เดือน ม.ค.2563 นักเขียนเขียนเรื่อง ให้ช่างภาพช่วยอ่านและวิจารณ์งานเขียน ทำงานเป็นทีม ก่อนที่จะส่งต้นฉบับ นักเขียนแต่ละคนมีจุดอ่อนจุดแข็งที่จะรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์
การเล่าเรื่องสื่อสารถึงการเข้าถึงความสุขที่เกิดเป็นความสุขภายใน เป็นกิจกรรมในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องเป็นกิจกรรมของทีมที่มีส่วนร่วมสัมผัสประสบการณ์นั้นด้วยตัวเอง สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้อื่นประกอบร่วมด้วยได้ ในห้องเรียนการเขียนมีเรื่องราวที่เราสนใจนำเสนอเป็นตัวละคร
“ประสบการณ์ที่นิตยสารสารคดีจัดอบรมค่ายนักเขียนและช่างภาพรุ่นใหม่มาแล้ว 15 ปี เรายึดหลักการวิจารณ์สับแหลก อะไรไม่ดีจะบอกเต็มๆ เพื่อปรับปรุงงานให้ได้ ผลงานของทีมนักเขียนและช่างภาพที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารสารคดีและถือเป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสารสารคดี จะได้รับทีมละ 3,500 บาท เพื่อเป็นกำลังใจนักเล่าเรื่องความสุขในการเผยแพร่ผลงานด้วย อีกทั้งนำไปเผยแพร่ทางเว็บไซต์
กำหนดส่งผลงานเข้าประกวดทีมละ 1 ชิ้นงาน ภายในวันที่ 2 ก.พ.2563 การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ทีมที่มีผลงานดีเด่น 3 ทีมที่ได้รับการคัดเลือก ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ สัมผัสความสุข 3 วัน 2 คืนในเดือน มี.ค.-เม.ย.2563 เป็นประสบการณ์สัมผัสธรรมชาติกับช่างภาพสารคดีสัตว์ป่า เรียนรู้วิถีชีวิต เรียนผ่านชุมชนต้นแบบ มีกิจกรรมร่วมคอร์สกับผู้ฝึกจิต ทีมที่เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ เขียนงานและช่างภาพถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำลงนิตยสารสารคดีภายในเดือน พ.ค.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : ภาพ
------------------------------
“ความสุขเมื่อคุณสังเกต”เรื่องราวบันดาลใจจากสุขสปีกเกอร์
“สิ่งสำคัญของหัวใจ” นิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ครีเอทีฟโฆษณา ผู้กำกับโฆษณา นักเขียน พิธีกร มีผลงานสร้างชื่อ “โตเกียวไม่มีขา”
ขอนำเสนอสี่ความสุข ความสุขในโลกนี้มีมากมาย แต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตความสุขที่แตกต่างกัน สี่ความสุขที่สำคัญในชีวิตคืออะไร เคยมีนักฟิสิกส์พูดว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับเครื่องหมายคำถามอยู่เต็มหัว เราใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ จบออกมาเป็นฟุลสต็อป หมายความว่าเกิดอะไรขึ้นในสถานศึกษา ทำให้เครื่องหมายคำถามหายไปจากหัวของเรา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดเวลา สมัยเป็นวัยรุ่น เราอยากไว้ผมทรงเดียวกับ เจ มณฑล จิรา นักร้องนักแสดงหล่อมากในสมัยนั้น จะมีหางเป็นปอยผม แต่เมื่ออาจารย์ฝ่ายปกครองเห็นก็จะกร้อนปอยผมทิ้งไป ตัดผมเกรียนทั้งหัว แต่เราก็ยังมีกลเม็ดติดกาวปอยผมนี้กับหนังหัว พ้นสายตาอาจารย์ฝ่ายปกครองมาได้ เมื่อถึงเวลากลางวันก็จะปล่อยปอยผมนี้ห้อยออกมา สิ่งเหล่านี้เรียกว่าความเท่ของเด็กชั้นมัธยม ถ้าใครรักษาปอยผมให้อยู่ได้เรียกว่าเจ๋ง ยุคนั้นก็มีแฟชั่นกางเกงทรงแรป มีการดึงกางเกงลงมาใต้เข่า สิ่งเหล่านี้เป็นจิตวิญญาณของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นสถานศึกษา
ความสุขที่มีพื้นที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เราดำเนินชีวิตได้ดี ต่อมบ้าจะอวนอยู่ข้างใน เราจะเป็นทุกข์ เราไม่ได้ปลดปล่อยพลังความบ้า ในขณะเดียวกันเราก็ต้องมีความยืดหยุ่น ความสุขอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องพื้นฐาน เมื่อนั่งในสถานที่เย็นๆ ฟังเพลงเพราะๆ อยากได้เสื้อผ้าสวยๆ เห็นพระอาทิตย์ตกดิน เราก็มีความสุขมาก หรืออยู่ในสถานที่สงบ นั่งสวดมนต์ภาวนา ความสุขเดินไปเราก็หาเจอ ความสุขที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ความสุขที่เกิดจากการเอาชนะ ถ้าชีวิตมนุษย์ไม่มีโจทย์อยากให้เอาชนะ ไม่ได้อยากใช้ชีวิตต่อ มีอยู่ช่วงหนึ่งผมรู้สึกเบื่อชีวิต ผมผ่านชีวิตมาได้ด้วยการวิ่งมาราธอน พลังชีวิตก็กลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง ชีวิตมนุษย์ต้องมีเป้าหมายให้เอาชนะ ชีวิตมีความสุข คือชีวิตที่ไม่มีความทุกข์เจือปนอยู่
ความสุขเกิดขึ้นได้เมื่อมีอุปสรรคที่ดีมีคุณค่ามากพอ ครั้งหนึ่งได้ทำสารคดีเอธิโอเปีย ชนเผ่าฮามาอยู่ในกระท่อมเล็กๆ แต่อยู่กันได้ 5-6 ครอบครัวในกระท่อมหลังเดียวกัน ในช่วงที่เดินทางไปนั้น กระท่อม 40 หลังเงียบสงบเหมือนไม่มีชีวิต ปรากฏว่าชาวฮามาย่องออกมาจากกระท่อม เพราะได้ยินเสียงฝีเท้าวิ่งมาแต่ไกล ภาพที่เห็นเป็นเรื่องตื่นตาตื่นใจ เพราะผู้หญิงฮามา 30 ชีวิตวิ่งกันโตงเตง พิธีกรรมในงานแต่งงงานให้เจ้าบ่าวกระโดดข้ามหัวอย่างที่เรียกว่าเจ้าบ่าวต้องแสดงศักยภาพให้ทุกคนยอมรับการเป็นเจ้าบ่าว ถ้าจะใช้เลนส์ซูมเจ้าบ่าวเปลือยกายมองเห็นเส้นเชือกเส้นเดียว เจ้าบ่าวคงเอาเงินไปทำผม (หัวเราะ) คนที่มางานแต่งงานจะเห็นได้ว่าแต่งตัวกันเต็มยศ มีเพียงเจ้าบ่าวเพียงคนเดียวที่เปลือยกายทั้งท่อนบนและท่อนล่าง
ภาพที่เราเห็นนั้น เราไม่ได้ตัดสินว่าใครผิด เป็นความสุขในชีวิตของคนเรา ไม่ใช่เห็นเป็นของแปลก ในโลกใบนี้มีสิ่งที่เราไม่เคยเห็น การอ่านหนังสือเล่มเดียวกันก็คิดไม่เหมือนกันได้ เป็นการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ครั้งหนึ่งเมื่อจอห์น เอฟ.เคนเนดี อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ไปเยี่ยมองค์การนาซา เมื่อเดินผ่านลุงภารโรงก็ถามว่าทำอะไรอยู่ ลุงบอกว่ากำลังส่งคนขึ้นไปบนดวงจันทร์
ในขณะที่ผู้ชาย 3 คนเป็นนายช่างกำลังนำอิฐมาก่อเจดีย์ เมื่อถามว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ เขาบอกว่าทำงานก่ออิฐ เหนื่อยมาก คนที่สองบอกว่าเขาหาเงินเพื่อเลี้ยงลูก ตื่นขึ้นมาเพื่อก่ออิฐ ลูกเมียจะได้มีข้าวกิน ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการสร้างเจดีย์ให้คนในชุมชนร่วมบูชาด้วยกัน ในขณะที่ผู้ชาย 3 คนทำในสิ่งเดียวกันนี้ แต่เราได้รับคำตอบที่ไม่เหมือนกัน เราตระหนักในคุณค่าความแตกต่างกัน ความเหนื่อยของผู้ชายทั้ง 3 คนเท่ากัน แต่เขาใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ปฏิเสธอุปสรรค กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ตระหนักว่าทุกวันคืนที่ผ่านมาได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) :
“ช่วงชีวิตที่ดีที่สุด”ไอรีล ไตรสารศรี (ออย) Art for CANCER
ออยเล่าว่า จะสุขหรือจะทุกข์อยู่ที่มุมมอง ขณะนี้เธอเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 เป็นผู้ก่อตั้ง Art for CANCER by IREA คนเราเกิดมานั้นเราเลือกเฉพาะความสุขไม่ได้ ทุกคนมีทั้งเรื่องดีและเรื่องร้ายในชีวิต นาทีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นกับเรา พรุ่งนี้เราอาจจะถูกหวย หรือสูญเสียคนที่เรารัก หรือไม่มีลมหายใจแล้ว ออยเรียนจบจาก รร.ราชินีชั้นมัธยม รร.ราชินีสอนให้เป็นกุลสตรีไทย เรียนรำไทย เย็บปักถักร้อย แต่ออยก็เลือกเป็นนักกีฬาเทควันโด เป็นนักกีฬายอดเยี่ยมของ รร. เข้าเรียนต่อปริญญาตรีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ออยมีพี่น้อง 3 คน เป็นลูกสาวคนเล็ก มีพี่ชายและพี่สาว เรื่องของความทุกข์และความสุขมีเหตุปัจจัยไม่กี่อย่าง บางครั้งเราอยากได้อะไรแล้วเราก็ไม่ได้ อยากไปเที่ยวตามใจตัวเองก็ไม่ได้ทำ สิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์ตัดสินความทุกข์ของเราในเบื้องต้น ความสุขคือการได้ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ
เมื่อเรียนจบปริญญาตรีก็พบจุดเปลี่ยนในชีวิต “มะเร็ง” นำพาช่วงที่ดีที่สุดเข้ามาในชีวิต ตอนนั้นคิดแต่ว่าทำไมเกิดมาซวยอย่างนี้ เป็นคำถามที่เสมือนหนึ่งว่าตกอยู่ในขุมนรก ไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูดได้ เพียงแต่มีสติเรียบเรียงได้ ตอนนั้นเคยตัดสินใจไว้ว่าเมื่ออายุ 26 ปีจะไปเรียนต่อปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษ ปรากฏว่าชีวิตพังล้มทลายลง เพราะไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ถึงเมื่อไหร่ ไม่รู้ว่าจะอยู่ได้กี่สัปดาห์ มะเร็งเป็นจุดสิ้นสุดของชีวิตจริงๆ ชีวิตจมอยู่กับคำถาม ความทุกข์เรียกสติกลับคืนได้
เราหาคำตอบก็ไม่เกิดประโยชน์ ออยร้องไห้ เพราะเชื่อในเรื่องวิบากกรรมของตัวเองที่เคยไปฆ่าเขาตายเมื่อชาติที่แล้ว ทำให้เราตายจากโรคมะเร็ง เกิดสิ่งที่ไม่คาดหวังในชีวิต ไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว แม่ หลาน สุนัข ขออยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด ชีวิตเราเลือกไม่ได้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง เพียงแต่เราจะเลือกใช้ชีวิตแบบไหนเมื่อเป็นมะเร็ง ตอนนั้นเป็นมะเร็งที่เต้านมระยะที่ 2 ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ตอนนั้นจ่ายค่าเทอมที่จะไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นล้านแล้ว การรักษาก็ดำเนินต่อไปทั้งการฉายแสง การให้คีโม ออยไม่เคยป่วยมาก่อน เป็นนักกีฬามาตลอด ป่วยครั้งแรกก็เป็นมะเร็ง ฉีดให้น้ำเกลือเข็มแรกก็เพราะมะเร็ง ออยเข้ารับการรักษาที่ รพ.ศิริราช มีเตียงผู้ป่วยเต็มพื้นที่
ออยยอมรับว่าชีวิตเป็นคุณหนูมาตลอด รักษา รพ.เอกชน แต่ครั้งนี้รักษาที่ รพ.ของรัฐที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้เห็นความจริงของชีวิตมนุษย์ คนไข้เยอะมากๆ เราต้องบริหารเงินให้ดี เพราะยังต้องใช้เวลารักษาอีกนาน มีเวลาที่จะต้องรอคิว เราเป็นคนหนึ่งที่ป่วยมะเร็งเหมือนๆ กับพวกเขา ผู้ป่วยมะเร็งมากมาย ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้มีโอกาสที่ดีอย่างเรา เห็นความโชคดีในความทุกข์ยาก เราพบโอกาสดีในการรักษา อายุยังน้อยอยู่ อยากใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างมีคุณค่าให้กับเพื่อนร่วมโลก สิ่งเหล่านี้คือจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ตอนนั้นก็เริ่มวาดรูปลงบน facebook ด้วยศักยภาพเงินทุน 2 หมื่นบาท ชวนเพื่อนๆ ศิลปินจิตอาสาบริจาคด้วยผลงานศิลปะ ทำเสื้อขายเพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงมอบให้ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ใช้เวลา 5 ปีทำกิจกรรมศิลปะเพื่อช่วยเหลือคนป่วยโรคมะเร็ง ได้เงิน 6 ล้านบาทตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ 3 รพ. (ปี 2554-2559) ใช้ศิลปะบำบัดให้ผู้ป่วย
ในช่วงแรกของการรักษาใช้เวลาปีครึ่งเมื่อปี 2554 เมื่อหายป่วยแล้วออยไปเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย North Umbria ประเทศอังกฤษ จบเกียรตินิยมอันดับ 1 ได้รางวัลนักเรียนดีเด่น เป็นความภาคภูมิใจให้กับครอบครัว การที่ป่วยเป็นมะเร็งทำให้ดึงทุกศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองออกมาใช้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิตมีพลังมากขึ้น
เมื่อเรียนจบกลับมาเมืองไทยปี 2560 ก็พบว่ากลับมาป่วยเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่ปอด การกลับมาของมะเร็งในครั้งนี้เป็นการเตือนว่าคุณใช้ชีวิตอย่างที่อยากเป็นได้ดีแล้วหรือยัง ในช่วงนี้จึงทำกิจกรรม Art for CANCER ให้เกิดความยั่งยืน ทำเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้เป็นโครงการสานพลังพลิกชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง 13,000 ราย ทำสมุดบันทึกผู้ป่วยให้ 13 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ระดมทุนได้เงิน 12 ล้านบาทให้กับนักวิจัย
“ออยรักษาจนมีอาการดื้อยา ถอดรหัสยีนมะเร็งคนไทยในงานวิจัย เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่นด้วย เยียวยาจิตใจผู้ป่วย จัดกิจกรรมศิลปะบำบัดให้กับผู้ป่วยมะเร็งในหอพักผู้ป่วยที่ รพ.ศิริราช จัด Gift Set ด้วยการเยียวยาผู้ป่วยใช้ได้จริง ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งรู้ความหมายและคุณค่าของการมีชีวิตอยู่”
สมัยที่เรายังเป็นเด็กนั้น เรามักจะตั้งคำถามว่าเราเกิดมาทำไม เกิดมามีวงจรชีวิต เรียนสำเร็จ แต่งงาน มีลูก และตาย ตอนนั้นจำได้ว่าเคยถามแม่ว่าเราเกิดมาทำไม เมื่อครั้งที่เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 2 แม่ก็หัวเราะ แต่วันนี้ได้คำตอบแล้ว เราต้องทำให้ชีวิตมีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองทำสิ่งที่ดีให้กับคนอื่นด้วย ชีวิตนี้ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว สิ่งที่เราทำดีต่อเราและคนอื่นด้วย
ในช่วง 8 ปีที่ป่วยเป็นมะเร็งได้เรียนรู้ชีวิตอย่างเข้าใจ การที่เรามีชีวิตที่มีความสุขได้นั้น คือการใช้ชีวิตที่มีความสมดุลทั้งสุขและทุกข์ ความสุขเป็นมุมหนึ่งของความทุกข์ เรามาช่วยกันหานิยามแห่งความสุขของตัวเองและหาความสุขให้เจอด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |