จี้จุดกับดักซ่อน : พบความเหลื่อมล้ำเข้าถึงบริการสุขภาพ


เพิ่มเพื่อน    

 

มสพช. สสส. จัดประชุมการจัดการสุขภาพใหม่ ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดลคนแรกของเมืองไทย นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปาฐกถาพิเศษ “การจัดการสุขภาพใหม่ในสังคมพลวัต” WHO ให้คำขวัญ “Health for All” สร้างระบบสุขภาพดีถ้วนหน้า พัฒนาสู่ความเสมอภาคของประชากรโลก จี้จุดกับดักซ่อนใต้ความเจริญ เมืองไทยได้รับการประเมินจัดการสุขภาพดีก็จริง พบความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและรับการบริการที่มีคุณภาพ อีกทั้งค่าใช้จ่ายสูงมาก กลายเป็นปัญหาของระบบกองทุนเพื่อสุขภาพ เลขาธิการ มสพช.ประกาศปีนี้ครบ 40 ปี สาธารณสุขมูลฐาน ประชาคมโลกเชื่อมั่นการสร้างความเข้มแข็งสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อความเท่าเทียมทางสุขภาพให้ทั่วถึง การสร้างเครือข่ายทำงานด้านผู้สูงอายุไม่ให้เกิดโรคติดต่อได้จริง เปลี่ยนเด็กไทยไม่ติดหวาน

               

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กรภาคี จัดการประชุมวิชาการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชนปี 2562 ในหัวข้อเรื่อง “การจัดการสุขภาพใหม่ เพื่อเผชิญ NCDs ท่ามกลางสังคมพลวัต" ระหว่างวันที่ 6-7 พ.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพชุมชนที่ใช้ฐานสาธารณสุขมูลฐาน ปัญหาสุขภาพและสังคมที่ซับซ้อน

               

เสียงเพลง I can’t falling in love with you เพลง Yesterday จากวงดนตรี Bennetty ดังทั้งห้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้สูงวัย จากแนวคิดคนวัยหนุ่มสาวอยากฝันที่จะทำอะไร ต้องลุกขึ้นมาทำได้แล้ว การดูแลคนไข้ในกลุ่ม NCDs เป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เพราะพฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตในยุค digital งานเสวนาการจัดการสุขภาพใหม่ในสังคมพลวัตเป็นสิ่งที่ตักตวงความรู้บนเวทีเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จากหน่วยงานปฏิบัติ การบริหารงาน หน่วยงานสนับสนุน บอร์ดนิทรรศการ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.) จัดทำเอกสาร อีกทั้งการเปลี่ยนมุมมองการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นภาระของลูกหลาน เนื่องจากผู้สูงอายุมีเกียรติมีศักดิ์ศรีที่จะสร้างฝัน ให้ข้อคิดเป็นต้นแบบให้ลูกหลานได้

 

               

พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.) กล่าวว่า ปีนี้ครบรอบ 40 ปีหลังประกาศสาธารณสุขมูลฐาน ประชาคมโลกเชื่อมั่นการสร้างความเข้มแข็งสาธารณสุขมูลฐานในการสร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพครอบคลุมทั่วถึง ดำเนินการกับประชาชนทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ ขอย้ำว่าประชาชนมีสุขภาวะ การพัฒนาเรื่องสุขภาพไม่เพียงเฉพาะด้านการสาธารณสุข จะต้องพัฒนาเข้าไปอยู่ในทุกๆ นโยบาย โดยคำนึงถึง Health in all Policy ทุกเรื่องด้วยการมีส่วนร่วมลงทุนด้านการศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การสร้างนวัตกรรม มีความยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการสุขภาพประชาชนอย่างเท่าเทียมและมีความเป็นธรรม

               

ด้วยรากฐานของระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพปฐมภูมิสำเร็จได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เน้นการมีส่วนร่วม การทำงานในประเด็นสำคัญสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ แบบแผนสังคม การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรสู่การบริโภคนิยม ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ เปลี่ยนรูปแบบความเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อเป็นโรคเรื้อรัง การเผชิญกับปัญหาซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการป้องกันเพื่อลดปัญหาและแก้ไขปัญหา เฝ้าระวังการจัดการปัญหา เพื่อระบบบริการตอบสนองปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับความมั่นคงและยั่งยืนด้วย การจัดประชุมทุกๆ 2 ปีเพื่อถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์การทำงาน ประสานแนวราบ สร้างความร่วมมือระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีคุณธรรมความเข้มแข็ง เกิดสุขภาวะคนไทย การสร้างเครือข่ายทำงานด้านผู้สูงอายุไม่ให้เกิดโรคติดต่อได้จริง เด็กไทยไม่ติดหวาน ฯลฯ

 

               

ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดลคนแรกของเมืองไทย และนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “การจัดการสุขภาพใหม่ในสังคมพลวัต” กิจกรรมนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเกิดขึ้นในสังคม ท่านมีส่วนร่วมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สหประชาชาติมีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปี 2491 กำหนดให้ประเทศไทยและประเทศอื่นทั่วโลก

 

               

การมีสุขภาพดีเป็นเรื่องของทุกคนในโลก องค์การอนามัยโลกถึงกับประกาศคำขวัญ Health for All หัวใจของการจัดประชุมครั้งนั้นเท่ากับว่า ในปี 1978 มุ่งไว้ว่าอีก 22 ปีข้างหน้า ประชาชนมีสุขภาพดี Health for All ทั้งเรื่อง Primary Health Care ประเทศไทยเห็นความสำคัญถึงกับลงมือก่อนเพื่อน ดร.นพ.อมร นนทสุต ครูใหญ่แห่งงานสาธารณสุขมูลฐาน ในฐานะผู้วางรากฐานงานสาธารณสุขมูลฐานและบิดาแห่ง อสม. สิ่งเหล่านี้เป็นความจำเป็นสำหรับทุกคน เพื่อให้สาธารณสุขมูลฐานก้าวหน้าไปทั่วทั้งประเทศ การสร้างระบบสุขภาพดีถ้วนหน้า มีการจัดการเงินเพื่อรองรับ พัฒนามุ่งสู่ความเสมอภาคของประชากรโลก

               

การจัดการสุขภาพในประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลานานนับหลายร้อยปี นับได้ว่ามีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ ปรับเปลี่ยนมาตามหลักคิดของแต่ละยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน พลวัตทางสังคมได้ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องพิจารณาการจัดการสุขภาพใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยพัฒนาการของการแพทย์ในประเทศไทยในระยะหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นเป็นอันมาก จนบริการการรักษาพยาบาลใน รพ.ชั้นนำของไทย ก้าวทันความก้าวหน้าตามวิทยาการในโลก ซึ่งได้ใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจนเป็นที่ยอมรับของชาวโลก บริการสาธารณสุขก็ได้พัฒนาขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การจัดการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมกระจายไปทั่วประเทศ จนสามารถควบคุมโรคติดต่อและโรคจากแมลงได้ดี และมีบริการสุขภาพแม่และเด็กอย่างทั่วถึง จนข้อกำหนดตัวชี้วัดสุขภาพของประชาชนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ การกระจายบริการรักษาพยาบาลไปสู่ส่วนภูมิภาคได้เกิดขึ้นจนมีโรงพยาบาลระดับศูนย์ระดับทั่วไป ระดับชุมชน ตลอดจนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระจายไปทุกท้องถิ่น   

               

นโยบายบริการสุขภาพปฐมภูมิของไทยเกิดขึ้นก่อนปฏิญญาสุขภาพดีถ้วนหน้าของโลกด้วยซ้ำ ระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน เป็นฐานสำคัญของการจัดการสุขภาพ ในด้านการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพนั้น ประเทศไทยเกิดบุคลากรวิชาชีพสุขภาพทุกสาขาวิชาชีพและในระดับต่างๆ รวมทั้งสาขาเฉพาะที่ทันพัฒนาการของโลก ทั้งยังมีบุคลากรระดับปฏิบัติและนักเทคนิคด้านต่างๆ ด้วยนโยบายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านสุขภาพของภูมิภาค ในด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ แม้ว่าจะเพิ่งได้รับความสำคัญในระยะไม่กี่สิบปีหลังนี้ก็ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสถาบันวิจัยด้านสุขภาพในมหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมาก

               

นับตั้งแต่ปี 2545 ได้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นการประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างถ้วนหน้า นับเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ได้บุกเบิกกลไกนี้ ในการจัดอันดับบริการสุขภาพของ 89 ประเทศ โดยนิตยสาร CEOWORLD ปี 2019 ปรากฏว่าประเทศไทยเป็นอันดับที่ 32 ของโลก ด้วยคะแนน 67.99 และเป็นอันดับสูงสุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคอาเซียน การศึกษาของไทยติดอันดับ 56 ของโลกในกว่า 100 ประเทศ แสดงถึงผลสัมฤทธิ์จากพัฒนาการของการจัดการสุขภาพของไทย (ประเทศสิงคโปร์เป็นอันดับ 3 ประเทศฮ่องกงเป็นอันดับ 6 ประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 9 ไต้หวันอันดับที่ 15 มาเลเซียอันดับที่ 23 ประเทศเกาหลีอันดับที่ 25 จีนแผ่นดินใหญ่อันดับที่ 27

               

แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีเงาซ้อน กับดักซ่อนใต้ความเจริญอยู่ การจัดการสุขภาพของไทยที่ได้รับการประเมินว่าดีนั้นยังประสบกับปัญหาที่รุนแรงอย่างมาก คือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและได้รับบริการที่มีคุณภาพและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาก จนเป็นปัญหาสำหรับประชาชนและระบบกองทุนเพื่อสุขภาพ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่เจริญขึ้นนั้น อาศัยความรู้ทางเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่รับมาจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงเป็นความก้าวหน้าบนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้เพิ่มสมรรถนะ และเป็นประโยชน์มากขึ้นในการรักษาพยาบาล ช่วยชีวิตผู้ป่วย เป้าหมายอยู่ที่บริการผู้ป่วย   

               

การศึกษาแพทยศาสตร์ได้ขยายขึ้นสูง เป็นการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางจนแบ่งเป็นสาขาย่อยลงไปอีก การศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตก็แบ่งเนื้อหาตามสาขาวิชาเป็นหลัก และเน้นการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน ทำให้ไม่พร้อมที่จะทำงานในท้องถิ่น การวิจัยทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น เน้นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งใช้ประโยชน์ในการเพิ่มวิทยฐานะ ขาดการวิจัยที่จำเป็น หรือ essential national health research (ENHR) การบริการสุขภาพแยกเป็นส่วนเสี้ยว ทั้งในแนวตั้งระหว่างบริการต่างระดับ และแนวราบระหว่างวิชาชีพต่างๆ นำไปสู่การด้อยประสิทธิภาพในการจัดการ

               

สภาพของระบบบริการสุขภาพดังนี้จึงมีผลให้ค่าจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยรวดเร็ว ขาดกลไกการควบคุมค่าใช้จ่าย ผู้ที่เจ็บป่วยร้ายแรงต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายจนกลายเป็นคนยากจน ระบบทุนเพื่อใช้รักษาโรคให้แก่ประชาชนต้องใช้เพิ่มขึ้นจนเกินกำลังทางการเงินของชาติ ระบบที่ด้อยประสิทธิภาพและมีทรัพยากรไม่เพียงพอนี้ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่ประชาชนได้รับจากบริการสุขภาพ นับเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ร้ายแรง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"