โดย จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์ ([email protected])
ความรุนแรงทางเพศต่อเด็กยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก ในประเทศไทย จากข้อมูลการสำรวจของศูนย์พึ่งได้ของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2558 พบว่าเด็กที่เป็นเหยื่อความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ นอกจากนี้จากรายงานต่าง ๆ ในต่างประเทศระบุว่า เด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ นอกจากจะได้รับอันตรายต่อร่างกาย เช่น ความเสี่ยงที่จะติดโรคทางเพศสัมพันธ์แล้ว เด็กที่ถูกกระทำมักจะได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจซึ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม เช่น มีความเสี่ยงต่อภาวะซัมเศร้า การใช้สารเสพติด ความก้าวร้าว การนับถือตนเองต่ำ และมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูง
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับหน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย พบว่า ปัจจุบัน มีเด็กชายจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นผลการศึกษาที่สอดคล้องกับงานวิจัยขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2555 ที่พบว่าเด็กหญิงเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศร้อยละ 11-22 ขณะที่เด็กชายเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศร้อยละ 3-16.5 และแม้จากการสำรวจจะพบว่าเด็กหญิงตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศมากกว่าเด็กชาย แต่ปัญหานี้ก็ไม่ควรถูกละเลย
ความรุนแรงทางเพศในเด็กนั้นมีอัตราเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ทั่วโลก ความรุนแรงนั้นเกิดได้หลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงทางอารมณ์ การทอดทิ้ง การทารุณกรรมเด็ก รวมไปถึงการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กแล้ว ยังเป็นการสร้างความเจ็บปวด ความอับอาย และทำให้เด็กตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ ส่งผลกระทบทางลบต่ออารมณ์และจิตใจ ทั้งยังขัดขวางพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมเสี่ยงในอนาคต TIJ ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับมูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (ECPAT International) จัดกิจกรรมสาธารณะ “ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชาย” ขึ้น เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ที่ห้องอบรม ชั้น 15 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศต่อเด็กชาย อันจะช่วยนำไปสู่การพัฒนากรอบการป้องกันและการตอบสนองต่อการแสวงหาประโยชน์ต่อเด็กที่ไม่ละเลยต่อความอ่อนไหวและความต้องการเฉพาะของเด็กผู้ชาย
สำหรับกิจกรรมสาธารณะ “ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชายให้กระจ่าง” ร่วมอภิปรายโดย คุณวันชัย รุจนวงศ์ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ดร. มาร์ค คาเวนา (Mark Kavenagh) คุณแอนเดรีย วาเรลลา (Andrea Varrella) และคุณอภิชาติ หัตถสิน นับเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดริเริ่มระดับโลกเพื่อสำรวจปัญหาดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศที่มีต่อเด็กผู้ชาย ซึ่ง TIJ และมูลนิธิเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล คาดหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างกรอบการป้องกัน การคุ้มครอง และการฟื้นฟูที่เหมาะสมต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |