“ 3 ค่ายมือถือ” สนใจชิงคลื่น 2600 MHz ทำ 5G


เพิ่มเพื่อน    

ผู้สื่อข่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)  ต่อร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม่เคลื่อนที่สากลย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ โดยภายในงานมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) และผู้ผลิตอุปกรณ์ (เวนเดอร์) และผู้มีส่วนได้เสียกับการประมูล 5G ในปีหน้า ราว 300 คน เข้าร่วมรับฟังประชาพิจารณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ อาทิ  เอไอเอส ทรูฯ และดีแทค  มีความสนคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz  มากที่สุด และมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่น 2600 MHz ส่วนประเด็นที่โอเปอเรเตอร์ทุกรายผลักดันให้ กสทช. พิจารณาคือ 1.ลดจำนวนคลื่นความถี่ลง 2.เพิ่มข้อกำหนดการค้ำประกันของสถาบันการเงิน  ในขณะที่ดีแทค มองว่า กสทช.ควรให้ความชัดเจนเกี่ยวกับคลื่น 3500 MHz ส่วนผู้ให้บริการอุปกรณ์ อิริคสัน มีความเห็นว่า คลื่น 2600 MHz สำหรับ 4G  ก่อนหน้านี้ประเทอื่นๆ รวมถึงมาเลเซีย มีผู้ให้บริการเพียง 3 รายในโลก ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐฯ และจีน ที่ปรับใช้คลื่น 2600 MHz สำหรับ 5G พบว่ามีความยากที่จะหลีกเลี่ยงต่อการรบกวน ระหว่าง 4G และ 5G 

 

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงาน กสทช.จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 700 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz), 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz, (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2500-2690 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz) และ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 24.25-27 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ร่างฯ มีความรัดกุม เพียงพอที่จะจัดสรรคลื่นความถี่อย่างโปร่งใส เชื่อว่ายังมีหลายประเด็นหลายจุดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งประชาชน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะนำเสนอความเห็น

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาจากการรับฟังหลายประเด็นทำให้รู้สึกไม่สบายใจ โดยเฉพาะความเห็นที่จะขอให้ กสทช.นำไปปฏิบัติ แต่เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถทำได้ในเวลานี้ เช่น การนำคลื่นความถี่ย่าน 3500 เมกกะเฮิรตซ์ มาประมูลพร้อมกัน ซึ่งคงไม่สามารถทำได้ เพราะยังไม่มีการเรียกคืนคลื่นความถี่จากบมจ.ไทยคม (THCOM) ที่ยังอยุ่ในสัญญาสัมปทานไปถึง ก.ย.64 การเรียกคืนคลื่นยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย 300 วัน หรืออาจถึง 500 วัน

"ความเห็นที่ต้องการให้เลื่อนการประมูลออกไป คงเป็นไปไม่ได้ กสทช. ได้กำหนดวันประมูลคลื่นความถี่ไว้ชัดเจนแล้ว ถึงอย่างไร ก็ต้องจัดการประมูลในวันที่ 16 ก.พ.63 ฉะนั้นการแสดงความคิดเห็น ขอให้อยู่บนเงื่อนไขที่เป็นไปได้ 5G จะเกิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับร่างประกาศนี้ที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จก่อนวันที่ 27 ธ.ค.นี้ เพื่อที่จะนำร่างประกาศ  ” นายฐากร ระบุ

ส่วนการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้จะได้รับทราบว่าผู้ประกอบการจะเข้าประมูลคลื่นความถี่หรือไม่ และจะเข้าประมูลคลื่นความถี่ย่านใดบ้าง เพราะอาจจะเข้าประมูลไม่ครบทั้ง 4 คลื่นความถี่ โดยยอมรับว่าคลื่นความถี่ 2600 MHz สามารถนำมาทำ5G ได้ทันที ส่วนคลื่น 700 MHz และ 1800 MHz ยังไปไม่ถึง 5G คงต้องรออีก 1-2 ปี แต่คลื่น 26 GHz ยังไม่ชัดเจนถึงความพร้อมในการทำ 5G


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"