สร้าง&ไม่สร้างอาคารใหม่ที่สุวรรณภูมิ


เพิ่มเพื่อน    

ข้อขัดแย้งในโครงการการลงทุน ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยฝ่ายหนึ่งประกอบด้วย 12 องค์กรวิชาชีพ นำโดยสมาคมสถาปนิกสยามและ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท) ที่คัดค้าน ทอท. มาเป็นเวลาย่างเข้าปีที่ 2ในการที่  ทอท.จะใช้เงินลงทุน 42,000 บาท  สร้างอาคารหรูหรา ที่จะมีพื้นที่ ถึง348,000 ตารางเมตร ตรงหน้าก่อนถึงอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน

โดย 12 องค์กรวิชาชีพเสนอให้ทำตามแผนเดิม( Master Plan)ที่ให้ขยายปีก2 ข้างของอาคารที่เว้นเนื้อที่เผื่อการขยายตัวไว้ตั้งแต่แรกก่อสร้างเดิมซึ่งจะใช้เงินลงทุนก่อสร้างเพียง 12,000 ล้านบาท และจะลงมือก่อสร้างได้ทันที เพราะแบบก็ออกแบบเสร็จแล้ว  การขออนุมัติ เรื่องสิ่งแวดล้อม ( EIA) ซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน ก็ผ่านแล้ว    

ที่สำคัญ สภาพัฒน์ ที่ควบคุมดูแลการลงทุนของประเทศที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม  ก็เห็นด้วยกับการที่จะขยายปีกอาคารทั้ง2 ฝั่ง แทนการไปออกแบบใหม่ ซึ่งจะเสียเวลาออกแบบก่อสร้างนานกว่า และจะเสียเงินเพิ่มขึ้นถึง 30,000 ล้านบาท  โดยทั้ง 2 วิธีจะได้วัตถุประสงค์หลักอันเดียวกันของทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะเป็นวิธีที่จะแก้ไขความคับคั่งของสนามบินสุวรรณภูมิให้มีความสามารถ รับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 30 ล้านคนเท่าๆกัน

 

  ตารางเปรียบเทียบ ระหว่างทางเลือกของทั้ง 2 วิธี ที่  ทอท. ทำเผยแพร่

ผมได้ดูในตารางเปรียบเทียบที่ ทอท. ได้ทำเผยแพร่นี้ จึงเห็นว่า ถ้าสร้างอาคารใหม่ขึ้นเลย ที่เรียกชื่อใหม่จาก เทอร์มินอล 2 เป็น "ส่วนต่อขยายทางทิศเหนือ" นั้น จะได้พื้นที่ได้มากกว่าไปขยายอาคารเก่ามากจริงอยู่ 

ในตารางเปรียบเทียบของ  ทอท. นี้ นอกจากพื้นที่ที่แตกต่างกันมาก จะมีข้อมูลในบรรทัดสุดท้าย   ที่เห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ก็คือ ถ้าสร้างแค่ขยายปีกออกไป 2 ข้าง  ก็จะได้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับใช้ในการมีเคาเตอร์เช็คอิน และช่องตรวจ passport ทั้งขาเข้าและขาออกเพิ่มขึ้นสำหรับผู้โดยสารอีก 30 ล้านคนต่อปี แต่จะไม่สามารถขยายเพิ่มพื้นที่บริการความสะดวกอื่น ๆ อันทันสมัย และจะไม่มีพื้นที่โอ่โถง กว้างขวาง ที่จะส่งเสริมการขายสินค้าปลอดภาษีให้เพิ่มขึ้นอีกได้ ทอท. เรียกพื้นที่ส่วนนี้ว่า Entertainment and Retail Complex ( ส่วนสันทนาการ และส่วนจัดจำหน่ายสินค้า )

ดังนั้นถ้าคิดในแง่การลงทุน ถ้าได้พื้นที่ขายสินค้าปลอดภาษีเพิ่มขึ้นอีก ทอท. ก็น่าจะมีรายได้จากการประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เพื่อการค้าขายได้เพิ่มขึ้น อาจจะทำให้มีผลกำไรส่งคืนให้รัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งในแง่การประกอบการธุรกิจ ถึงลงทุนมากกว่าแต่จะเพิ่มรายรับได้มากกว่า

ถ้าคิดในเชิงการลงทุนธุรกิจแบบนี้ก็พอจะเข้าใจได้ เพราะทุกวันนี้เห็นนักท่องเที่ยวมาสนามบินที่ต่าง ๆ ก็ใช้เงินกันอย่างเต็มที่ ถ้ามีอาคารใหม่ที่มีพื้นที่จับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้ใช้เงินในสนามบินเพิ่มขึ้น ทอท. ก็จะได้ส่วนแบ่งจากผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย  ไม่นานก็คงคุ้มทุนเงินลงทุนมหาศาลนี้

อย่างไรก็ตาม เราควรต้องพิจารณาด้วยว่า การใช้งานหลักของสนามบินนั้นคืออะไร ถ้ายังเป็นเพื่อการอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางเข้าออกประเทศ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ ทอท. ได้สิทธิเก็บค่าผู้โดยสารผ่านเข้าออกประเทศแต่เพียงผู้เดียว เอกชนอื่น ๆ มาแข่งขันไม่ได้ ที่ดิน 20,000 ไร่ที่มาใช้สร้างเป็นสนามบินก็ได้มาฟรีจากการเวนคืนที่ดินประชาชน งบลงทุนก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 45,000 ล้าน รัฐบาลก็กู้มาให้จากกองทุนของรัฐบาลญี่ปุ่น แล้ว การเพิ่มพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยเป็นหลัก มากกว่าการอำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ โดยเมินบทวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียที่เคยทำไว้แล้วอย่างละเอียดในแผนขยายพื้นที่หลักนั้น   จะดีกว่าสำหรับผู้ใช้บริการสนามบินและประชาชนผู้เสียภาษีจริงหรือไม่?

นี่ยังไม่พิจารณาว่า การเพิ่มพื้นที่จับจ่ายใช้สอยเพื่อเพิ่มรายได้จากการขายสินค้านั้น ผลประโยชน์ ที่แท้จริงจะไปตกอยู่ในมือใคร  

ทอท. และรัฐบาลไทยจะได้รับผลประโยชน์จากการเอื้อเฟื้อพื้นที่มหาศาลนี้คุ้มค่าจริงหรือไม่ 

เพราะที่ผ่านมาเราก็เคยได้ยินข่าวเรื่องการร้องเรียนการแบ่งผลประโยชน์พื้นที่การค้าขายที่ไม่เป็นธรรมกันบ้างอยู่แล้ว 

ดังนั้นสุดท้ายแล้ว นอกจากข้อเสนอต่าง ๆ ทางเทคนิคขององค์กรวิชาชีพทั้ง 12 องค์กร แล้ว ก็คงต้องพิจารณากันด้วยว่า ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นตามที่ ทอท. เสนอมานั้น จะตกสู่มือของผู้ใช้บริการและประชาชนจริงหรือไม่ ?

 

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
ต่อตระกูล ยมนาค
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมภิบาล
 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"