โออีซีดีเผยแพร่ผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนวัย 15 ปีใน 79 ประเทศ และเศรษฐกิจทั่วโลกประจำปี 2018 เมื่อวันอังคาร พบเด็กจีนและสิงคโปร์ทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กในโลกตะวันตกที่มีความได้เปรียบกว่าทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) จัดทำทุกๆ 3 ปี โดยการสอบเมื่อปี พ.ศ.2561 นั้นจัดขึ้นใน 37 ประเทศสมาชิกโออีซีดี และอีก 42 ประเทศและเศรษฐกิจ มีนักเรียนอายุ 15 ปี ทั้งสิ้น 600,000 คน จากประเทศและเศรษฐกิจเหล่านี้เข้าร่วมทำบททดสอบเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอังคารที่ 3 ธันวาคม กล่าวว่า ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวันเดียวกันนี้ชี้ว่า ทักษะการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ได้ปรับปรุงขึ้นเลยจากเมื่อ 2 ทศวรรษก่อนที่เริ่มทำการสำรวจ ในขณะที่เด็กจีนยังคงทำคะแนนได้ดีเช่นเคยจากการทดสอบทักษะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการอ่าน, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเด็กจีนที่สำรวจในกรุงปักกิ่ง, นครเซี่ยงไฮ้, มณฑลเจียงซู และมณฑลเจ้อเจียง มีคะแนนในอันดับ 1 เหนือกว่าเด็กๆ ในโลกตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด โดยอันดับ 2 ซึ่งปีนี้วัดจากคะแนนทักษะด้านการอ่านเป็นหลักนั้น คือสิงคโปร์ ตามด้วยเขตปกครองพิเศษมาเก๊าและฮ่องกงของจีน
ทักษะด้านการอ่านที่โออีซีดีว่าเป็นตัวบ่งชี้หลักของศักยภาพด้านการศึกษานั้น ประเทศที่เป็นสมาชิกโออีซีดีที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดรองจากฮ่องกงคือเอสโตเนีย ประเทศเล็กๆ ในกลุ่มบอลติก ตามด้วยแคนาดา, ฟินแลนด์ และไอร์แลนด์
อังเคล กูร์เรีย เลขาธิการโออีซีดี กล่าวว่า นักเรียนจาก 4 ภูมิภาคของจีนที่สำรวจทำคะแนนทิ้งห่างนักเรียนจากระบบการศึกษาอื่นๆ ทั้ง 78 แห่ง และที่สำคัญ ร้อยละ 10 ของนักเรียนจากภูมิภาคเหล่านี้ที่เสียเปรียบด้านเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด กลับมีทักษะการอ่านที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่มโออีซีดี และมีทักษะใกล้เคียงกับร้อยละ 10 ของนักเรียนในกลุ่มที่มีความได้เปรียบมากที่สุดจากบางประเทศในกลุ่มโออีซีดี
เขาย้ำด้วยว่า มณฑลและเขตปกครอง 4 แห่งในภาคตะวันออกของจีนที่สำรวจนี้ยังไม่ใช่ตัวแทนของประเทศจีนทั้งหมด แต่ภูมิภาคเหล่านี้มีประชากรรวมกันถึง 180 ล้านคน และขนาดของแต่ละภูมิภาคนั้นก็เทียบได้กับประเทศในโออีซีดี
กูร์เรียกล่าวถึงประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มของโออีซีดีด้วยว่า ผลลัพธ์ที่ออกมา "น่าผิดหวัง" และสมาชิกส่วนใหญ่นั้นก็ "ผลงานของนักเรียนไม่ได้ปรับปรุงขึ้นเลย" นับจากการสำรวจปิซาครั้งแรกเมื่อปี 2543 ทั้งที่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศโออีซีดีเหล่านี้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามากขึ้นกว่า 15%
คะแนนของนักเรียนในกลุ่มโออีซีดีทั้ง 3 ด้านยังคงเดิมเหมือนกับสำรวจครั้งที่ผ่านมาในปี 2558 แต่บางประเทศที่อยู่นอกโออีซีดีมีพัฒนาการต่างไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น แอลเบเนีย, เอสโตเนีย, เขตปกครองมาเก๊า, เปรู และโปแลนด์ ที่มีคะแนนดีขึ้นในทักษะ 2 ด้านจาก 20 ปีก่อน
รายงานของโออีซีดียังชื่นชม, บราซิล, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก, ตุรกีและอุรุกวัย ที่มีเด็กวัย 15 ปีเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษามากขึ้นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการจัดการการศึกษา.
ในส่วนของไทยนั้น จากตารางแสดงคะแนนทักษะทั้ง 3 ด้าน ซึ่งระบุค่าเฉลี่ยไว้ที่ด้านการอ่าน 487 คะแนน และคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ 489 คะแนนเท่ากัน เด็กไทยทำคะแนนได้ 393, 419, 426 ตามลำดับ เทียบกับของจีนที่เป็นอันดับ 1 มีคะแนน 555, 591, 590 ตามลำดับ ขณะที่สิงคโปร์มีคะแนน 549, 569, 551 ส่วนในภูมิภาคอาเซียน นอกจากสิงคโปร์ ไทยเป็นรองมาเลเซียและบรูไนด้านทักษะการอ่าน แต่ยังดีกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |