3 ธ.ค.62- นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า วันพุธที่ 4 ธ.ค.62 นี้ เวลา 13.00 น. ตนจะเดินทางไปยื่นคำร้อง ต่อ ป.ป.ช. ให้ไต่สวน สอบสวนเอาผิด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 10 คน จาก 5 พรรคการเมือง ประกอบด้วย สส.จากพรรคอนาคตใหม่ 2 คน พรรคพลังประชารัฐ 2 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คนและพรรคเพื่อไทย 1 คน ซึ่งสส. เหล่านี้ได้ยื่นแบบแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. เมื่อ 25 พ.ค.2562 ที่ผ่านมา ปรากฎว่า ได้ยึดถือครอบครองที่ดินประเภท ภ.บ.ท.5 และหรือ ส.ป.ก. กันเป็นจำนวนมาก โดยที่น่าจะขาดคุณสมบัติของการมีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งที่ดิน ภ.บ.ท.5 นั้นเป็นเพียงเอกสารการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภาษีดอกหญ้า) ซึ่งท้องถิ่นจะจัดเก็บ ไม่เกี่ยวกับว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิครอบครองที่ดิน เพราะเจ้าของที่ดินก็ยังคงเป็นของทางราชการอยู่ เพียงแต่อาจจะให้มีการใช้ประโยชน์ชั่วคราว แต่ไม่ถือว่าผู้ที่ใช้ประโยชน์นั้นเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่งกรมการปกครองเมื่อปี 2551 ได้สั่งให้ยกเลิกการเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว เพราะปัญหาคือ ส่วนมากเป็นที่ป่าสงวน การแจ้งเสียภาษีก็แจ้งกันเองโดยไม่รังวัด บางรายครอบครองเป็นร้อยเป็นพันไร่ บุกรุกป่าทั้งนั้น ซึ่งที่ดินประเภทดังกล่าว ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2519 กำหนดบรรทัดฐานไว้ว่า “ผู้ที่มีชื่อในใบเสร็จเสียเงินบำรุงท้องที่เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้เสียภาษีเท่านั้น ไม่ใช่หลักฐานแสดงว่าผู้นั้นมีสิทธิครอบครอง”
ส่วนที่ดิน ส.ป.ก.นั้น ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2518 กำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ที่จะมีสิทธิยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินปฎิรูป ต้องเป็นมีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นหลัก โดยมี พรฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเป็นเกษตรกร 2535 ไว้โดยต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.มีฐานะยากจน 2.ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม และ 3.บุตรของเกษตรกรที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเท่านั้น
ตามบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ สส.ทั้ง 10 คนได้ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏโดยชัดแจ้งว่ามีทรัพย์สินและรายได้ต่อปีเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการขัดต่อ พรฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเป็นเกษตรกร พ.ศ.2535 และมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2555 ได้กำหนดอัตรารายได้ของผู้ยากจนไว้ คือ ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อคนต่อปีเท่านั้น
ดังนั้น ส.ส.ทั้ง 10 คนซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนฝ่ายนิติบัญญัติ ย่อมรู้ว่าตนเองเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติของการได้สิทธิในการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. หรือ ภ.บ.ท.5 ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น แต่กลับไม่ยอมสละที่ดินดังกล่าวคืนให้รัฐเพื่อนำไปจัดสรรให้กับผู้ยากไร้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเท่ากับว่าอาจมีเจตนาที่จะทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนกฎหมายอันเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ 2561 อย่างร้ายแรงในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 และยังเข้าข่ายการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักในข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 17 และฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมทั่วไปในข้อ 21 ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 ม.219 บัญญัติอีกด้วย สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงต้องนำความมาร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวน สอบสวน เพื่อดำเนินการเอาผิดหรือลงโทษ ส.ส.ทั้ง 10 คนต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |