เสถียรภาพการเมืองกับเชื่อมั่นลงทุน


เพิ่มเพื่อน    

    การขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยที่จะสดใสเท่าไหร่นัก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในไตรมาส 4/2562 จะขยายตัวได้ 3.2% บวกลบ ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 2.8%
    แม้กระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้คาดการณ์ว่า การขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2562 จะเป็นไปตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.) คาดการณ์ไว้ที่ 2.8% ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังเชื่อว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปี 2562 แต่เป็นการขยายตัวไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับ 2 ปีที่ผ่าน ยังจะอยู่ในภาวะชะลอตัว 
    ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าทั้งหมดเป็นผลพวงจากปัจจัยลบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกสินค้า -5% เนื่องมาจากในหลายหมวดสินค้ายังคงหดตัวจากภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังหดตัว ด้านการลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้การลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าสินค้า -9.2% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอ
    จากปัจจัยลบดังกล่าวนั้นทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลกับภาพรวมของเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวอย่างหนัก ซึ่งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ร่วมมือ ร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคต” ในการประชุมหอการค้าไทยครั้งที่ 37 ว่า "ทุกวันนี้คนเป็นกังวลเรื่องภาวะเศษฐกิจ แต่ต้องตั้งสติให้ดี สำหรับประเทศไทยเศรษฐกิจยังเติบโต แต่การเติบโตชะลอตัวลงมา เศรษฐกิจไม่ได้หดตัวหรือติดลบ จีดีพีไทยเติบโต 2.4% ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลก"
    พร้อมทั้งระบุว่า เศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวไม่เพียงแต่มาจากการส่งออกหรือค่าเงินบาทแข็งเท่านั้น ตั้งแต่ประกาศเลือกตั้งจนกว่าจะมีรัฐบาล มีตัวเลขการเบิกจ่ายราชการ-รัฐวิสาหกิจติดลบ 6-7 เดือน เมื่อมีรัฐบาลสถานการณ์จึงดีขึ้น แต่เหลือการเบิกจ่ายอีกกว่าแสนกว่าล้านบาท การลงทุกของเอกชน ณ ปัจจุบันก็อยู่ที่ 20% ของจีดีพี เรียกได้ว่าเป็นปัญหาขั้นพื้นฐานในโครงสร้างที่ต้องเปลี่ยนแปลง แต่ต้องประคับประคองเศรษฐกิจให้อยู่รอด ซึ่งในไตรมาส 4 ค่อนข้างมั่นใจว่าจะดีขึ้นเพราะมีสัญญาณโดยกระทรวงการคลังเริ่มออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมารอบที่ 2 เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวในปลายปี
    ทั้งนี้ หากหวังจีดีพี 5-6% มันเป็นฝันหวานนะ เมื่อก่อนยุคต้มยำกุ้งการเติบโตทางเศรษฐกิจตัวเลขเราโต 2 หลักทุกอย่างบูมหมด ช่วงหนึ่ง 11-12% ก็คือเวียดนามสมัยนี้ สิ่งเหล่านั้นเราโตไปแล้ว อย่าไปอิจฉาเขา เพราะเขาคือเมืองไทยสมัยก่อน ฉะนั้นถ้าไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต อะไหล่ ยานยนต์รถยนต์ ไอที ข้าว มัน ไอที ก็ไม่สามารถเติบโตได้ เราต้องพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง การทำธุรกิจไม่ใช่ผลิตอย่างเดียว แต่อยู่ที่การสร้าแพลตฟอร์มดิจิทัล สร้างแรงงาน สร้างงาน
    และย้ำว่าอีกเศรษฐกิจที่มันโตได้เพราะไขมันที่รัฐบาลเก็บมา ถ้าไม่มีไขมันจาก 4-5 ปีที่แล้ววันนี้คุณเหนื่อยแน่ หากไม่มีจะมีแรงเสียดทานกับตลาดโลกแน่ 
    แม้ว่าขณะนี้มีผู้บริหารนักลงทุนต่างชาติจากทั้งกูเกิล อเมซอน และไมโครซอฟต์เดินทางมายังประเทศไทย แสดงความสนใจจะมาลงทุน แต่ประเด็นที่ยังคงท้าทายต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ คือ เสถียรภาพทางการเมือง จากเหตุการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎรล่ม 2 ครั้งติดต่อกัน จึงขอทุกฝ่ายไม่สร้างความแตกร้าว ก้าวข้ามความขัดแย้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
    อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับความจริงกันว่า การลงทุนมันจะมาควบคู่กับความมีเสถียรภาพด้านการเมือง ถ้าการเมืองนิ่ง ไม่วุ่นวาย ไม่เปลี่ยนแปลง นโยบายคงที่ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็จะมีมากขึ้น เมื่อมีมากขึ้นการลงทุนก็ตามมา  แต่ถ้าการเมืองปั่นป่วน ไม่นิ่ง มีความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจทางการเมืองกันตลอดเวลา บอกได้เลยการลงทุนหายหมด แม้ว่าจะมีแรงจูงใจสารพัด อย่างที่รัฐบาลพยายามทุ่มเพื่อจูงใจ ก็ไม่สามารถดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ แม้กระทั่งนักลงทุนของไทยเองก็หนีไปอยู่ประเทศอื่นเช่นกัน  
    ดังนั้น สิ่งสำคัญขณะนี้คือคนไทยต้องสามัคคีกันก้าวข้ามความขัดแย้งไปก่อน และหันมารวมกันพัฒนาประเทศให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลของยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก จนมีหลายๆ คนตามแทบไม่ทัน.

บุญช่วย  ค้ายากดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"