ดีแทคเสนอเลื่อนประมูล 5จี รอคลื่น 3500 MHz


เพิ่มเพื่อน    

 

2 ธ.ค.2562  O นายมาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  เปิดเผยว่า ในวันนี้ 3 ธ.ค.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz  ซึ่งในมุมมองของดีแทค ยืนยันว่า พร้อมสนับสนุนการประมูลคลื่นดังกล่าว  แต่ก็มีความเห็นที่อยากจะให้ กสทช. พิจารณาปรับเลื่อนการประมูลออกไป โดยให้รอนำคลื่น 3500 MHz จำนวน 300 MHz มาร่วมประมูลพร้อมกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการได้วางแผนการใช้คลื่นได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน และทำให้การพัฒนา 5G มีประสิทธิภาพมากขึ้น  

ทั้งนี้สิ่งที่ ดีแทคจะนำเสนอ ประกอบไปด้วย 1 กำหนดห้วงเวลาการประมูลใหม่ เพื่อรอความชัดเจนคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ซึ่งดีแทคเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการประมูลแบบหลายย่านความถี่พร้อมกัน (Multiband auction) ซึ่งในทางเทคนิค คลื่นความถี่ย่าน 2600 และ 3500 MHz มีคุณสมบัติที่ทดแทนกันได้ และในหลักปฏิบัติสากล จะมีการนำคลื่นย่านความถี่กลาง (Mid-band) ทั้งสองย่านดังกล่าวมาจัดสรรพร้อมกัน เพื่อป้องกันในกรณีที่เผชิญความขาดแคลนของจำนวนคลื่น 

"ในปีหน้าคลื่น 3500 MHz จะกลับมาในมือ กสทช. ซึ่งตรงนี้สามารถนำมาวางแผนด้วยการเริ่มประมูลก่อนได้ ซึ่งก็จะเกิดประโยชน์เพราะมองว่า คลื่น 2600 MHz มีเพียง 190 MHz ซึ่งมันไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ 5G ซึ่งเมื่อประเมินแล้ว อาจจะมีผู้เข้าประมูลถึง 4 ราย และจำนวนคลื่นอาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งควรรอ คลื่น 3500 Mhz จำนวน 300 Mhz" นายมาร์คุส  กล่าว

2.กำหนดเพดานการถือครองจำนวนคลื่น 2600 MHz เพื่อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ในการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ที่มีการกำหนดการถือครอง 190 MHz นั้น ดีแทคเห็นว่าควรมีการกำหนดเพดานในการถือครองเพื่อป้องกันการบิดเบือนของตลาดและกระจายการถือครองของผู้ให้บริการ  เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดคลื่น จนทำให้คนไทยบางกลุ่มขาดโอกาสเข้าถึง 5G

3.ความชัดเจนในการจัดการการรบกวนของคลื่นความถี่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่น 2600 MHz) ที่ปัจจุบัน พบว่าคลื่น 2600 MHz มีการใช้งานอยู่เดิม 20 MHz ดังนั้น กสทช. จึงควรให้ความชัดเจนถึงแนวทางในการจัดการถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการรบกวนกันของคลื่นความถี่และข้อกำหนดในการใช้งาน เพื่อให้ผู้เข้าประมูลสามารถประเมินมูลค่าที่เหมาะสมในการลงทุน

และ 4.การกำหนดราคาเริ่มต้นของการประมูลคลื่นความถี่ที่สูงเกินไป ซึ่งจากร่างประกาศการประมูล กำหนดให้คลื่น 2600 MHz มีราคาเริ่มต้นที่ 1,862 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต (10 MHz) ซึ่งเป็นราคาสูงกว่าค่ากลางของสากล ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายโครงข่าย ขณะที่คลื่น 1800 MHz ซึ่งมีราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 12,486 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต มีราคาสูงกว่าราคาสุดท้ายในการประมูลของประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดความล้มเหลวในการประมูลได้ โดยข้อมูลจากสมาคมจีเอสเอ็ม ระบุว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลคลื่น 1800 MHz ในปี 2561 และ 2563 มีราคาสูงกว่าตลาดโลกอย่างมาก

นอกจากนี้เรื่องของกฎระเบียบ วิธีการประมูลซึ่งจะต้องมีการประมูลในรูปแบบ (Clock Auction) ที่จะให้ประมูลคลื่นก่อน แล้วมา แข่งเลือกช่วงคลื่นที่หลัง  ซึ่งมองว่า วิธีนี้ไม่เหมาะสม เพราะแต่ละคลื่นนั้นมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน  ควรเปิดประมูลแบบให้เลือกช่วงคลื่นในการประมูลเลย  และประเด็นสุดท้าย คือ การวางหลักประกันทางการเงินจากผู้เข้าประมูล ควรจะมากกว่า 10% เพื่อป้องกันผู้ที่เข้ามาป่วนการประมูล 

"การทำให้ 5G เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เพียงบทบาทของผู้ประกอบการโทรคมนาคมเท่านั้น  แต่ต้องอาศัยความร่วมมือการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรกำกับดูแลและผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะยังไม่ได้รับประโยชน์จากการครอบครองคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G โดยการใช้งานจริง (use case) ยังต้องได้รับการพัฒนาและคำนึงถึงโมเดลในการหารายได้ที่ยังคงไม่มีความชัดเจน ภาครัฐจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในเชิงกลยุทธ์ที่จะกระตุ้นการลงทุนเชิงโครงสร้าง ความร่วมมือจากหลากหลายอุตสาหกรรมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนสู่เทคโนโลยี 5G" นายมาร์คุส กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"