โพลตีแสกหน้าส้มหวาน 61%หนุนให้เกณฑ์ทหาร


เพิ่มเพื่อน    


    โปรดฟังอีกครั้ง มีทหารไว้ทำไม โพลตีแสกหน้าอนาคตใหม่ ชี้ไม่มีหลักประกันอื่นที่ดีกว่าในการสร้างความมั่นคงของประเทศ ช่วยเหลือประชาชนยามเกิดภัยพิบัติ ขยี้ซ้ำพ่อน้องฟ้า ผอ.ซูเปอร์โพลอัดนัยสำคัญจุดขายรณรงค์หวังความสบายสร้างสถานภาพทางการเมือง “ทอน” ชำแหละงบทหารนอกสภา 
    เมื่อวันอาทิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง นักการเมืองกับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ผ่านเสียงประชาชนในโลกโซเชียล 3,084 ตัวอย่าง และเสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม 1,250 ตัวอย่าง 
    โดยผลสำรวจเมื่อถามถึงการเกณฑ์ทหารกับการสร้างลักษณะต่างๆ ของชายไทย พบว่า ความอดทน 61.5%, ความเข้มแข็ง 60.3%, ความรักชาติ 58.1%, ความกล้าหาญ 54.8%, ความมีวินัย 52.9%, ความเสียสละ 49% และสุขภาพแข็งแรง 43.2% ตามลำดับ ซึ่งที่น่าพิจารณาคือภาพแห่งความทรงจำที่มีทหารเข้าช่วยเหลือประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 60.3% เป็นภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศปี 2554 รองลงมาคือช่วยชีวิตเด็กที่ถ้ำหลวง 56%, น้ำท่วมภาคอีสานปี 2562  50.8%, ช่วยเหลือประชาชนพัฒนาท้องถิ่น 41.7%, เหตุร้ายทั่วไป 36.4%, ขุดลอกคูคลอง 36%, น้ำท่วมดินถล่ม 34.9% และสนธิกำลังทหารตำรวจฝ่ายปกครองจัดการผู้มีอิทธิพล 26.1%
    "ที่น่าห่วงคือเมื่อถามว่านักการเมืองที่รณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหาร มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าแล้วหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือ 81.9% ระบุยังไม่มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าการเกณฑ์ทหารในปัจจุบันมาประกันความมั่นคงของประเทศ ประกันการช่วยเหลือประชาชนยามเกิดภัยพิบัติ เหตุความไม่สงบในประเทศ การรณรงค์มีแต่ปลุกปั่นเอาข้อผิดพลาดเรื่องหยุมหยิมส่วนน้อยมาทำลายเรื่องใหญ่ด้านความมั่นคงและความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ทหารรับใช้ การวิ่งเต้น นอกจากนี้การรณรงค์ยังเอาแนวทางของประเทศอื่นที่ไม่เข้ากันได้กับไทย และเอาธรรมชาติของความกลัว การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ชาติ และเอาความสบายของคนมาเป็นจุดขายเพื่อฐานสนับสนุนสถานภาพทางการเมืองของตนเองมากกว่าทำเพื่อชาติบ้านเมืองแท้จริง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดลระบุ  
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดลระบุด้วยว่า มี 18.1% ระบุว่ามีวิธีการอื่นที่ดีกว่าแล้ว เช่น ระบบสมัครใจ การจ่ายเงินให้รัฐ และแนวทางยกเลิกเกณฑ์ทหารของต่างประเทศ เป็นต้น ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องเกณฑ์ทหาร พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 61.4% ระบุจำเป็นต้องมีการเกณฑ์ทหาร ในขณะที่ 18.4% ระบุไม่จำเป็น และ 20.2% ไม่แน่ใจ ทั้งนี้ ในผลสำรวจเสียงประชาชนในโลกโซเชียล พบว่าการรณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารกำลังเข้าถึงคนในโลกโซเชียลทั้งหมด 22,259,166 คน หรือกว่า 20 ล้านคน แต่มีคนที่สนใจพูดถึงการเกณฑ์ทหารในโลกโซเชียลจำนวน 5,014,025 คน หรือ 5 ล้านคนเศษ โดยพบด้วยว่าคนในโลกโซเชียลที่สนใจเข้ามาสังเกตการณ์เกาะติดเรื่องการยกเลิกเกณฑ์ทหาร บางส่วนพูดคุยเรื่องนี้มาจากประเทศต่างๆ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย กลุ่มประเทศในยุโรป ประเทศตะวันออกกลาง ลาว เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เสียงตอบรับต่อการรณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารที่ค้นพบครั้งนี้เป็นเสียงตอบรับเชิงลบ 65.5% และเชิงบวก 34.5%
    “ฝ่ายการเมืองที่รณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารคงจะหาเสียงสนับสนุนไปจนถึงช่วงการเกณฑ์ทหารในต้นปีหน้า โดยเอาธรรมชาติของความกลัว ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ชาติและความสบายของคนเป็นจุดขาย และเป็นไปได้ว่าจะมีเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือประเด็นการยกเลิกเกณฑ์ทหารไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะจากข้อมูลในโลกโซเชียลพบว่า มีคนในโลกโซเชียลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก และคนในประเทศที่ติดชายแดนของไทยติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดเช่นกัน มันมีนัยสำคัญอะไรบางอย่างต่อความมั่นคงของชาติ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนคนไทย” ผอ.ซูเปอร์โพลระบุ 
    วันเดียวกัน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) เดินสายพบประชาชนในเขตพื้นที่ลาดกระบัง โดยช่วงท้ายกิจกรรม นายธนาธรได้แนะนำให้นักศึกษา กศน.ที่มาร่วมรับฟัง รู้จักและร่วมกันผลักดันแคมเปญยกเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน
    ต่อมาในช่วงเย็น ที่พรรค อนค. นายธนาธรได้บรรยายพิเศษเรื่องชำแหละงบประมาณกระทรวงกลาโหม โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า งบรายจ่ายปี 2563 ของกระทรวงกลาโหมเป็นงบ 220,000 ล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนนี้เราสามารถตรวจสอบได้ แต่มีเงินอีกส่วนที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ที่ซึ่งเป็นส่วนที่กรรมาธิการงบประมาณไม่สามารถสั่งตัดได้ และไม่รู้ว่าใครเป็นคนสั่งจ่าย หรือนำไปใช้อย่างไร โดยในปี 2561 เงินนอกงบประมาณของกลาโหม 18,657 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาสร้างรถไฟจากนครปฐมไปประจวบคีรีขันธ์ และนำมาทำสวัสดิการพื้นฐานของประเทศให้ดีขึ้น โดยสามารถให้เด็กทุกคนเดือนละ 300 บาทต่อเดือนถ้วนหน้า 
    “พอพูดไปกองทัพก็ออกมาชี้แจงว่าต้องใช้โน้นนี่ทันที ซึ่งประเด็นสำคัญคือความโปร่งใสตรวจสอบได้ เราไม่ได้บอกว่าการนำไปใช้ในเรื่องอะไรมันผิด แต่สิ่งสำคัญคือต้องโปร่งใสทั้งขารับ และขาจ่าย ซึ่งจนถึงตอนนี้ไม่มีใครมองเห็น แม้แต่ ส.ส.เอง เงินนอกงบของกระทรวงอื่นเราเห็นมากกว่านี้ ขอดูได้” นายธนาธรระบุ 
    นายธนาธรกล่าวอีกว่า ประชาชนสงสัยมากว่าทำไมนายพลในประเทศนี้ถึงมีทรัพย์สินมหาศาล ในส่วนของ สนช. 250 คน มีนายพลถึง 81 คน นายพลที่มีทรัพย์สินมากที่สุดมีกว่า 800 ล้านบาท  เฉลี่ยทั้ง 81 คน มีเฉลี่ยคนละประมาณ 80 ล้านบาท ทำให้เกิดความสงสัยว่าทรัพย์สินมากมายเหล่านี้กับเงินนอกงบประมาณมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ซึ่งได้ถามไปตอนที่ยังไม่ลาออกจาก กมธ. ตอนนี้ 4 วันแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เอกสารคำตอบแต่อย่างใด 
นายธนาธรกล่าวอีกว่า สนามมวยลุมพินีและสนามม้าอัศวราชสีมาที่ จ.นครราชสีมา ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่าหน่วยงานเหล่านี้ขึ้นตรงกับบุคคลหรือนิติบุคคลใดกันแน่ เช่นเดียวกับกรณีการพนัน ซึ่งในสนามมวยมีการพนันหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่สนามม้านั้นมีแน่ๆ ตามกฎหมาย นอกจากนี้รายได้ของการเข้าชมหรือการพนันแข่งม้าไปอยู่ที่ใครบ้าง รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่ถามกระทรวงกลาโหมไป ซึ่งไม่ได้บอกว่าเราควรยกเลิก แต่สิ่งสำคัญคือเรื่องนี้เราควรเปิดประมูลอย่างโปร่งใสในระบบสัมปทาน เพื่อไม่ให้ประชาชนมีข้อกังขา ไม่ต้องมีเงินใต้โต๊ะอะไร หากเราคิดว่ายังต้องมีสิ่งเหล่านี้ ก็เปิดประมูลให้โปร่งใส
    “กรณีปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือปฏิบัติการไอโอเคยมีเพจชื่อกองพันทหารที่โจมตีฝ่ายตรงข้ามอย่างเดียว ทั้งคำว่าชังชาติบ้าง และภัยต่อชาติหรือการปกครองบ้างละ เราเลยมีคำถามกับกลาโหมว่ามีปฏิบัติการไอโอหรือไม่ ซึ่ง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ชี้แจงกับ กมธ.บอกว่าไม่มี โดยการที่คุณไม่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดที่มีอยู่ หากเราเริ่มต้นด้วยความเชื่อว่าความจริงที่ถูกต้องมีอยู่เพียงอันหนึ่งอันเดียว ฟังแล้วก็น่าขนลุกเหมือนกัน งบของคุณถูกนำไปใช้ให้ประชาชนรู้สึกดีต่อหน่วยงานทหาร นี่เป็นเรื่องตลกมาก” นายธนาธรระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"