1 ธ.ค. 2562 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง นักการเมือง กับ การยกเลิกเกณฑ์ทหาร กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 3,084 ตัวอย่าง และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 1,250 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงการเกณฑ์ทหารกับการสร้างลักษณะต่าง ๆ ของชายไทย พบว่า ความอดทนร้อยละ 61.5 ความเข้มแข็งร้อยละ 60.3 ความรักชาติร้อยละ 58.1 ความกล้าหาญร้อยละ 54.8 ความมีวินัยร้อยละ 52.9 ความเสียสละร้อยละ 49.0 และสุขภาพแข็งแรงร้อยละ 43.2 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ภาพแห่งความทรงจำที่มีทหารเข้าช่วยเหลือประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.3 เป็นภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศ ปี พ.ศ. 2554 รองลงมาคือ ช่วยชีวิตเด็กที่ถ้ำหลวงร้อยละ 56.0 น้ำท่วมภาคอีสานปี พ.ศ.2562 ร้อยละ 50.8 ช่วยเหลือประชาชนพัฒนาท้องถิ่นร้อยละ 41.7 เหตุร้ายทั่วไปร้อยละ 36.4 ขุดลอกคูคลองร้อยละ 36.0 น้ำท่วมดินถล่มร้อยละ 34.9 และสนธิกำลังทหารตำรวจฝ่ายปกครองจัดการผู้มีอิทธิพลร้อยละ 26.1 ตามลำดับ
ที่น่าห่วง คือ เมื่อถามว่านักการเมืองที่รณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าแล้วหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ระบุยังไม่มีวิธีการอื่นที่ดีกว่า การเกณฑ์ทหารในปัจจุบัน มาประกันความมั่นคงของประเทศ มาประกันการช่วยเหลือประชาชนยามเกิดภัยพิบัติ เหตุความไม่สงบในประเทศ การรณรงค์มีแต่ปลุกปั่นเอาข้อผิดพลาดเรื่องหยุมหยิมส่วนน้อยมาทำลายเรื่องใหญ่ด้านความมั่นคงและความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ทหารรับใช้ การวิ่งเต้น นอกจากนี้ การรณรงค์ยังเอาแนวทางของประเทศอื่นที่ไม่เข้ากันได้กับประเทศไทย และเอาธรรมชาติของความกลัว การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ชาติและเอาความสบายของคนมาเป็นจุดขายเพื่อฐานสนับสนุนสถานภาพทางการเมืองของตนเองมากกว่าทำเพื่อชาติบ้านเมืองแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 18.1 ระบุว่า มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าแล้ว เช่น ระบบสมัครใจ การจ่ายเงินให้รัฐ และแนวทางยกเลิกเกณฑ์ทหารของต่างประเทศ เป็นต้น ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องเกณฑ์ทหาร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.4 ระบุจำเป็นต้องมีการเกณฑ์ทหาร ในขณะที่ร้อยละ 18.4 ระบุไม่จำเป็น และร้อยละ 20.2 ไม่แน่ใจ
นายนพดล กล่าวด้วยว่า ผลการสำรวจ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll พบว่า การรณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารกำลังเข้าถึงคนในโลกโซเชียลทั้งหมด 22,259,166 คน หรือ ยี่สิบกว่าล้านคน แต่มีคนที่สนใจพูดถึงการเกณฑ์ทหารในโลกโซเชียลจำนวน 5,014,025 คน หรือ ห้าล้านคนเศษ โดยพบด้วยว่าคนในโลกโซเชียลที่สนใจเข้ามาสังเกตการณ์เกาะติดเรื่องการยกเลิกเกณฑ์ทหาร บางส่วนพูดคุยเรื่องนี้มาจากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย กลุ่มประเทศในยุโรป ประเทศตะวันออกกลาง ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เสียงตอบรับต่อการรณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารที่ค้นพบครั้งนี้เป็นเสียงตอบรับเชิงลบร้อยละ 65.5 และเสียงตอบรับเชิงบวกมีร้อยละ 34.5
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ฝ่ายการเมืองที่รณรงค์ยกเลิกเกณฑ์ทหารคงจะหาเสียงสนับสนุนไปจนถึงช่วงการเกณฑ์ทหารในต้นปีหน้าโดยเอาธรรมชาติของความกลัว ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ชาติและความสบายของคนเป็นจุดขาย และเป็นไปได้ว่าจะมีเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือประเด็นการยกเลิกเกณฑ์ทหารไม่ใช่เรื่องเล็กเพราะจากการกวาดเอาข้อมูลในโลกโซเชียลมาวิเคราะห์พบว่า มีคนในโลกโซเชียลจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกและคนในประเทศที่ติดชายแดนของประเทศไทยติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดเช่นกัน มันมีนัยสำคัญอะไรบางอย่างต่อความมั่นคงของชาติและความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนคนไทยที่ตามจริงแล้ว ประเด็นปัญหาท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ไม่ใช่เรื่องยากที่จะผ่านพ้นไปได้ แต่การทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวของทุก ๆ ฝ่ายที่มีอำนาจในเวลานี้ต่างหากเป็นเรื่องที่ยากกว่า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |