27 พ.ย. 62 - ที่รัฐสภา นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึ มติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ขยายเวลา แบน 2 สารเคมีออกไป และอนุญาตให้ใช้ไกลโฟเซต ว่า ต้องรอให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว. อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เป็นผู้แถลงอย่างเป็นทางการ แต่จากการได้รับรายงานจาก 2 คณะกรรมการที่เป็นตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข คือ เลขาธิการอย. และอธิบดีกรมวิทยาศาสต์การแพทย์ ได้มารายงานกับตนที่สภาฯว่ายังไม่มีการลงมติใดๆ ซึ่งเราต้องดูว่ามติเดิม ในวันที่ 22 ต.ค. ที่ระบุให้แบนทั้ง 3 สารเคมี ในวันที่ 1 ธ.ค. ว่าจะยังมีผลอยู่หรือไม่ และการประชุมดังกล่าวได้มีการยกเลิกมตินี้ไปหรือยัง เพราะถือเป็นมติที่ขัดแย้งกัน ซึ่งในการประชุมวันนี้ตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุขได้มารายงานว่ากรมวิชาการเกษตร ไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ ไปรายงานต่อที่ประชุมในวันนี้ ดังนั้นนายสุริยะ จึงลงนามไม่ได้ ซึ่งเราต้องดูว่ามีแทคติกอะไรหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะตอบคำถามเรื่องนี้อย่างไร เนื่องจากก่อนหน้านี้นายกฯ มีความเห็นว่าอยากให้แบน 3 สารเคมี นายอนุทิน กล่าวว่า ไม่ใช่หน้าที่ตน แต่ตนก็ได้ให้นโยบายแก่ตัวแทนกับกระทรวงสาธารณสุข และเขาก็ยืนยันว่าให้คงมติแบน 3 สารเคมี ในวันที่ 22 ต.ค. และยืนยันว่าไม่ให้มีการประชุมลับ ซึ่งถือเป็นการยืนยันจุดยืนเดิม
เมื่อถามว่า นายสุริยะ อ้างว่าเป็นมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการ นายอนุทิน กล่าวว่า ตนก็ยังงอยู่ เพราะตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 คนก็ยังยืนยันมติเดิม และขอยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันจุดยืนแล้วคือการแบน 3 สารเคมี แต่ต้องยอมรับว่าคนอื่นไปโหวตเป็นอย่างอื่นตนก็ไม่สามารถไปทำอะไรได้
ถามว่าการขยายการแบน 3 สารเคมี มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่าไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง เป็นการมองคนละมิติ แต่สงสัยว่ากรมวิชาการเกษตร มีเวลาตั้งนานแต่ไม่ยอมหามาตรการรองรับเข้าที่ประชุมในวันนี้ ซึ่งต้องหามาตรการใหม่ที่จะต้องดำเนินการต่อไป ยืนยันว่าไม่ใช่ความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงไม่ใช่การหักหน้าพรรคภูมิใจไทย เนื่องจากเป็นการทำงาน ซึ่งมีความเห็นต่างได้ แต่ยืนยันว่าไม่ใช่มติเอกฉันท์ ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลก็จะมีการนัดอาหารกันไม่มีอะไร ไม่ต้องเคลียร์ใจ หลังจากนี้กระทรวงสาธารณสุขก็มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ ถึงอันตรายของ 3 สารเคมี รวมถึงเตรียมงบประมาณ เพื่อรองรับคนที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีดังกล่าว
นายอนุทิน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่านำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นการเมือง แต่ให้เป็นเรื่องสุขภาพของประชาชน เพราะตน น.ส. มนัญญา และพรรคภูมิใจไทย ต่อสู้ในมิติการรักษาสุขภาพและชีวิตของประชาชน ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น อย่างเช่นตนเวลามีอะไรที่กระทบสุขภาพประชาชนแม้นิดเดียว แม้จะเกี่ยวกับเศรษฐกิจขนาดไหนตนก็แลกด้วยไม่ได้ เพราะชีวิตคนมีค่ามากกว่าและตีค่าเป็นเงินไม่ได้ ดังนั้นเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องต่างคนต่างทำหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุขมองในแง่สุขภาพ กระทรวงอุตสาหกรรมมองในแง่ของธุรกิจ ส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ก็มองในแง่พืชผลการเกษตร ถึงต้องมีคณะกรรมการ ดังนั้นผลออกมาเช่นไรเราก็ต้องยอมรับ ไม่ตีโพยตีพายเพราะเราได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว
น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์กล่าวถึงการคืนกรมวิชาการเกษตร หรือไม่ ว่าถ้าอยากจะเอากรมที่เราชอบ ขอเป็นกรมชลประทาน และเอาวิชาการเกษตรคืนไปเพราะเรากำกับดูแลไม่ได้ และคนที่คิดว่ากำกับและสั่งการได้ก็เอาไปดูแลเลย เพราะผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในกระทรวงเกษตรฯ อยู่แล้ว เพราะตอนนี้กรมชลถูกทอดทิ้งชาวนาไม่มีน้ำใช้
น.ส.มนัญญา กล่าวว่า ยืนยันว่าการประชุมวันนี้ไม่ได้มีการโหวต ยังเป็นมติเดิมของวันที่ 22 ต.ค. เพาะการประชุมครั้งนี้ไม่มีการสอบถามไม่มีการลงมติเปลี่ยนแปลงผลการประชุม จึงอยากถามว่าเขามาจากประชาธิปไตยหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ไม่ใช่เผด็จการ ส่วนตนจะเดินหน้าอย่างไรก็ขอให้ไปถามคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ถ้าจะเดินหน้าต่อไป สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่ที่ประชาชน ว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |